เปรียบเทียบ 'ยาคุม' แต่ละแบบ ต่างกันยังไง
  1. เปรียบเทียบ 'ยาคุม' แต่ละแบบ ต่างกันยังไง

เปรียบเทียบ 'ยาคุม' แต่ละแบบ ต่างกันยังไง

ให้ความรู้เรื่องยาคุม มีกี่แบบ อะไรบ้าง แล้วแต่ละประเภทมีข้อดี-ข้อเสียต่างกันยังไง มาดูกัน
writerProfile
30 ม.ค. 2020 · โดย

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักยาคุมดีมากนัก เคยได้ยินแต่ผ่าน ๆ ยังไม่เคยลองใช้หรือสัมผัสด้วยตัวเองจริง ๆ วันนี้ทาง Wongnai Beauty เลยจะมาแชร์ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับยาคุมว่ามีประเภทไหนบ้างที่เด่น ๆ แล้วยาคุมแต่ประเภทมีข้อเสียต่างกันยังไง ให้สาว ๆ ได้อ่านและมีความรู้ติดตัวไว้กันค่ะ

ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด

ยาคุม


ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดแบ่งเป็น 2 แบบด้วยกันค่ะคือ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน และยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินแค่อย่างเดียว ยาคุม 2 ชนิดนี้จะส่งผลต่อการตกไข่ ช่วยให้มูกช่องคลอดข้นขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อสุจิเคลื่อนตัวผ่านปากมดลูก และทำให้ผนังมดลูกไม่พร้อมกับการฝังตัวค่ะ

ข้อดี
• ช่วยบรรเทาความรุนแรงของกลุ่มอาการประจำเดือนได้ด้วย
• เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบวิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น

ข้อเสีย
• ต้องรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดตรงเวลาและเป็นประจำทุกวัน
• อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง อารมณ์ แปรปรวน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ความดันโลหิตสูง และน้ำหนักขึ้น

ยาคุมฉุกเฉิน

ยาคุม


เป็นการคุมกำเนิดอีกแบบหนึ่งที่ใช้เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดแบบฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์ไม่ได้ป้องกัน ลืมกินยาคุมตามกำหนดตามปกติ แต่อาจจะมีประสิทธิภาพไม่เท่ากับวิธีการอื่น ๆ ค่ะ โดยยาคุมฉุกเฉินมี 2 ชนิด คือ ลีโวนอร์เจสเตรล 1.5 มิลลิกรัม และอัลลิพริสตัล อซิเตท 30 มิลลิกรัม ที่ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการยับยั้งการตกไข่ชั่วคราว ป้องกันการปฏิสนธิหรือไม่ให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในมดลูกค่ะ

ข้อดี
• ออกฤทธิ์ป้องกันได้สูงสุด 3 วัน และ 5 วัน แล้วแต่ชนิด หลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

ข้อเสีย
• ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ วิงเวียน ปวดท้อง และเมื่อยล้าเป็นระยะ
• อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติประมาณ 1-2 รอบเดือน

ยาคุมแบบฉีด

ยาคุม


การคุมกำเนิดแบบฉีดวิธีนี้ คุณหมอจะเป็นคนฉีดฮอร์โมนโปรเจสตินให้เราทุก ๆ 3 เดือน ทำให้ยาฉีดคุมกำเนิดส่งผลต่อการตกไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก และเพิ่มความข้นให้แก่มูกช่องคลอด ไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ค่ะ

ข้อดี
• ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แค่ไปตามกำหนดที่คุณหมอนัด
• อาจช่วยคุมกำเนิดได้สูงสุด 1 ปี นับจากการฉีดครั้งสุดท้าย

ข้อเสีย
• ทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ซึมเศร้า
• ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเป็นโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ

ยาฝังคุมกำเนิด

ยาคุม


ยาคุมประเภทนี้บางคนอาจจะยังไม่รู้จัก ตัวยาคุมจะมีลักษณะเป็นหลอดยาขนาดเล็ก ข้างในบรรจุฮอร์โมนโปรเจสตินไว้ วิธีการคือคุณหมอจะใช้ตัวหลอดยาฝังเข้าไปใต้ผิวหนังของเราค่ะ โดยที่ยาฝังคุมกำเนิดนี้จะส่งผลต่อการตกไข่ และเพิ่มความข้นให้กับมูกช่องคลอดของเรา ไม่ให้อสุจิเคลื่อนตัวเข้าสู่มดลูก

ข้อดี
• เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง ออกฤทธิ์นานสูงสุด 3 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดที่ใช้
• สามารถให้คุณหมอถอดออกได้เมื่อต้องการ

ข้อเสีย
• ไม่สะดวกเพราะการใส่และถอดยาที่ฝังต้องทำโดยแพทย์ อาจจะมีอาการบวมช้ำ
• ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดศีรษะ น้ำหนักขึ้น เจ็บหน้าอก

อ่านบทความดี ๆ ต่อได้ที่