สำหรับใครที่กำลังคิดว่าความสัมพันธ์เป็นพิษมีแค่ความ Toxic อย่างเดียวอยากบอกว่าไม่ใช่ค่ะ เพราะอีกมิติของการใช้ชีวิตหากเราเจอคน Gaslighting จะบอกว่าบ้งไม่แพ้กันเลยค่ะ วันนี้ Wongnai Beauty จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก gaslighting คืออะไร? ถ้าเราตกอยู่ในภาวะแบบนี้จะจัดการยังไงได้บ้าง เราคิดว่าน่าจะมีกลุ่มคนไม่น้อยที่เคยเจอกับการ Gaslighting แต่ไม่รู้ตัว!
มารู้จักกับ Gaslighting กันหน่อยว่าคืออะไร?

Gaslighting มีคำแปลว่าตะเกียงถูกใช้เพื่อเปรียบเปรยถึงภาวะถูกชักใยจาจกคนอื่น และทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับความทรงจำหรือการรับรู้ของตัวเอง ซึ่งมาจากภาพยนตร์ ‘Gaslight’ (1944) เนื้อหาของภาพยนตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสามีที่ต้องการฮุบสมบัติของภรรยา ผ่านวิธีการทำให้ภรรยาของเขาคิดว่าตัวเองเป็นคนบ้า
ขอขยายความเกี่ยวกับภาพยนตร์เพิ่มเติม Gaslight มีซีนสำคัญหนึ่งซีนคือตอนที่สามีแอบหรี่แสงตะเกียง เมื่อภรรยากล่าวถึงแสงตะเกียงที่มืดลง สามีดันตำหนิว่า “เธอเป็นบ้าคิดไปเอง ตะเกียงยังส่องแสงปกติ” ทำให้ภรรยาของเขาเริ่มคิดว่าตัวเองนั้นได้เป็นบ้าจริง ๆ เพราะสามีเอาแต่พูดกับแบบนี้กับเธอ ทั้งที่ความจริงแล้วสามีเป็นคนสร้างสถานการณ์ขึ้นทั้งหมด และค่อย ๆ ทำทีละเล็กทีละน้อย จนตัวเองต้องรู้สึกพึ่งพาสามีไปเรื่อย ๆ พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเราถึงบอกตอนต้นว่าทุกคนอาจจะเคยอยู่ในสถานะของเหยื่อ Gaslighting มาแล้วไม่ว่าจะในรูปแบบความสัมพันธ์ของคนรัก ครอบครัว ที่ทำงาน หรือแม้แต่โดนคนทที่มีอำนาจมากกว่ามาทำให้ผิดกลายถูก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในทุกความสัมพันธ์
หากตกอยู่ในสถานะ Gaslighting อันตรายหรือเปล่า?
การ Gaslighting นั้นมีความอันตรายเพราะการสับสนระหว่าง ความจริง กับ ความลวง อาจทำให้เราไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ทั้งนี้การ Gaslighting ก็อาจไม่ได้หวังผลให้คนที่ถูกกระทำนั้นประสาทหลอนจริง ๆ แต่ต้องการเพิ่มอำนาจให้กับตัวเองเพื่อเป็นผู้ควบคุม หรือเปลี่ยนความผิดของตัวเองด้วยการทำให้อีกฝ่ายเป็นคนเข้าใจผิดแทน ตัวอย่างเช่น เมื่อภรรยาพูดว่า สามีคุยกับผู้หญิงคนอื่นและถามเขาว่ากำลังนอกใจหรือเปล่า คนที่เป็นสามีจะตะคอกกลับเสียงดังและปฏิเสธว่าตัวเองไม่ได้ทำ และตบท้ายด้วยการบอกว่า เธอคิดไปเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วการทำแบบนี้ในทุก ๆ บริบทเป็นการแสดงที่ทำให้อีกฝ่ายอยู่ในภาวะจำยอมไปเอง
มาสังเกตอาการของ Gaslighting กันหน่อย!

สำหรับคนที่พยายามจะ Gaslight คนอื่นคือเขาจะรู้ว่าการสร้างความสับสนให้อีกฝ่ายอ่อนแอลง พวกเขาจะมีพฤติกรรมที่ชอบปฏิเสธว่าตัวเองไม่ได้พูดหรือทำบางอย่าง ต่อให้มีหลักฐานยืนยัน เขาจะพยายามทำให้คนอื่นเข้าใจเราผิดไปด้วย ซึ่งคนที่ถูก Gaslight จะมีอาการสงสัยในตัวเอง ว่ามีปัญหาทางในการตัดสินใจหรือเปล่าเพราะจะเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองหนักมาก ๆ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีพอ ไม่มีความสุข และถึงแม้จะรู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติแต่ก็ไม่สามารถที่จะตอบโต้ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร
ประเภทของ Gaslighting มีอะไรบ้างควรรู้!

- ทำให้เป็นเรื่องไม่สำคัญ (Trivializing) : ต้องบอกว่าในทุกความสัมพันธ์ล้วนแล้วแต่มีปัญหาทั้งความไม่สบายใจและอาจมีบางเรื่องที่ต้องพูดคุยกันอยู่แล้ว ทำให้หลายคนต้องรวบรวมความกล้าเพื่อเปิดใจในการพูดคุยด้วยซ้ำ ทั้งนี้คู่สนทนามักจะตอบว่า อย่าทำให้เป็นใหญ่ได้ไหม ทำให้ความกังวลของฝ่ายตรงข้ามดูไร้สาระมาก
- ทำให้อีกคนเป็นฝ่ายผิด (Blame-shifting) : ถ้าเราพูดถึงความผิดของคนกระทำมีแนวโน้มว่าคนเหล่านี้จะโทษว่าเรื่องนั้นเป็นความผิดของเรา ไม่ก็จะบอกทำนองว่าเป็นเพราะเราเขาถึงทำแบบนั้น เพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเราตอบโต้กลับคนแบบนี้ด้วยอารมณ์เราก็จะถูกใช้อารมณ์ตอบกลับมาหนักกว่าอีก
- ไม่ยอมรับความจริง (Denying) : สำหรับคนกระทำหลายคนมักจะปฏิเสธเพราะยอมรับความจริงไม่ได้ ถ้านึกไม่ออกว่าเป็นยังไงลองจินตนาการถึงความสัมพันธ์แบบนี้ดูนะคะ มีภรรยาทที่เป็นคนทำความสะอาดบ้านตลอดเพราะสามีไม่คิดจะทำ ถ้าเธอไม่ทำบ้านของเธอจะรกมาก ๆ และวันหนึ่งเธอทนไม่ไหวเลยถามสามีว่าให้ช่วยทำงานบ้านเยอะขึ้นหน่อยได้ไหม แต่สามีดันโมโหกลับและบอกว่าเขาช่วยตลอดเผลอ ๆ ช่วยทำเยอะกว่าภรรยาด้วยซ้ำ และตบท้ายด้วยการพูดถึงการกระทำที่ตัวเองหาเงินเลี้ยงดูแทน
- บิดเบือนความจริง (Twisting) : สุดท้ายการบิดเบือนความจริงจนอีกฝ่ายสับสนใจความเป็นจริงที่ตัวเองเผชิญ คือหนึ่งสิ่งที่คนทำแบบนี้ใช้บ่อย ๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวันก่อนมิ้นทะเลาะกับแทน แฟนหนุ่มของเธอวันนี้พวกเขาทั้งคู่เลยคุยกันเพื่อปรับความเข้าใจ แต่แทนอ้างว่าที่เริ่มทะเลาะกันนั้นเพราะมิ้นขึ้นเสียงใส่เขาก่อน ทั้งที่ในความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นแต่แทนรับไม่ได้เลยบิดเบือนความจริง
Source : ประเภทของ Gaslighting
ถ้าเจอคน Gaslighting จะมีวิธีการรับมือยังไงได้บ้าง?
ใครที่เจอคนแบบนี้แนะนำว่าให้ตั้งสติให้ดี เวลาที่พูดคุยพยายามมั่นใจและระบุให้ได้ว่าตอนนี้เราและอีกฝ่ายกำลังมีปัญหาอะไรกัน อย่าพยายามไหลไปตามคำด่าทอหรือกล่างหา แต่ควรคิดให้รอบคอบว่าประเด็นนี้เรามีหลักฐานอะไร ถึงแม้อีกฝ่ายจะไม่ยอมรับแต่ก็ต้องยืนยันว่าเราไม่ได้คิดไปเองแน่นอน และถ้ารู้สึกแน่มากให้ปล่อยตัวเองแสดงความรู้สึกนั้นออกมาได้เลยค่ะ เพราะเมื่อไรที่เราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่าเรากำลังถูกทำร้าน หรือเปลี่ยนความจริงอย่างไม่เป็นธรรม ให้พาตัวเองออกมาจากความสัมพันธ์เลยค่ะ ทั้งนี้ถ้าเรารู้สึกว่ายังเข้มแข็งไม่พอให้ลองขอความเห็นอย่างจริงใจจากคนรอบข้างเพื่อสะกิดให้เราตื่นจากความบิดเบือน
สุดท้ายไม่ว่าจะเจอกับความ Gaslighting แบบไหนเราคิดว่าทุกคนควรรักตัวเองค่ะ เพราะถ้าเราอยู่ในความสัมพันธ์ที่เกิดการ Gaslighting แน่นอนว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นมันจะรุนแรงมาก ๆ ทั้งนี้เราขอเตือนว่าการรักษาสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องง่าย หากสูญเสียความมั่นใจไปกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วต้องใช้เวลานานมาก ๆ ในการรักษา แต่ไม่ว่ายังไงเราขอให้ทุกคนมีความสุขกับการใช้ชีวิตในทุก ๆ ความสัมพันธ์นะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ