ง่วงทั้งวันแม้นอนเยอะ ‘โรคง่วงนอนมากผิดปกติ’ กำลังถามหาหรือเปล่านะ?
  1. ง่วงทั้งวันแม้นอนเยอะ ‘โรคง่วงนอนมากผิดปกติ’ กำลังถามหาหรือเปล่านะ?

ง่วงทั้งวันแม้นอนเยอะ ‘โรคง่วงนอนมากผิดปกติ’ กำลังถามหาหรือเปล่านะ?

เคยมั๊ย? นอนหลับทั้งวันทั้งคืน แต่ตื่นมาทีไรก็ยังง่วงเหมือนเดิม ลองเช็คดูอีกที นี่เราเป็นโรคง่วงนอนมากผิดกปติหรือเปล่านะ!?
writerProfile
10 ม.ค. 2023 · โดย

ง่วง อ่อนเพลีย ไม่มีแรงจะทำอะไรทั้งวัน ดื่มกาแฟก็แล้ว ล้างหน้าก็แล้ว นอนก็ครบชั่วโมง ทำไมกันนะยังง๊วง..ง่วง หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับเพื่อน ๆ อยู่ เช็คดูให้ดีว่า ‘โรคง่วงนอนมากผิดปกติ’ กำลังตามหาหรือเปล่า? เอ.. ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่าจะมีโรคนี้อยู่ด้วย มาทำความรู้จักเจ้าโรคนี้ไปพร้อม ๆ กันดีกว่า ทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีแก้ มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยย

ง่วงทั้งวันแม้นอนเยอะ ‘โรคง่วงนอนมากผิดปกติ’ กำลังถามหาหรือเปล่านะ?

ง่วงทั้งวันแม้นอนเยอะ ‘โรคง่วงนอนมากผิดปกติ’ กำลังถามหาหรือเปล่านะ?

โรคง่วงนอนมากผิดปกติ คืออะไร?

โรคง่วงนอนมากผิดปกติ หรือที่เรียกว่า Hypersomnia คืออาการที่รู้สึกไม่กระปรี้กระเปร่าตลอดทั้งวัน แม้จะพักผ่อนอย่างเพียงพอ หรือบางทีอาจจะพักผ่อนมากเกินไปด้วยซ้ำ แม้อาจจะดูเป็นปัญหาทั่วไป แต่อาการนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างมากเลยทีเดียว ทั้งการทำงาน การเข้าสังคม และอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ด้วย ซึ่งโรคนี้มักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในช่วงอายุ 17-24 ปี

อาการของโรคง่วงนอกมากผิดปกติ

สัญญาณหลัก ๆ ว่าเพื่อน ๆ อาจจะกำลังเจอปัญหานี้ มีดังนี้

  • ง่วงนอนตลอดทั้งวัน แม้ว่าจะพักผ่อนอย่างเพียงพอ หรือพักผ่อนมากกว่า 10 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ตื่นนอนยาก
  • แม้งีบหลับตอนกลางวันก็ไม่สดชื่นขึ้น
  • วิตกกังวล
  • ขี้หงุดหงิด
  • หมดพลังงาน
  • คิดช้า พูดวนวก ความจำสั้นลง
  • มักปวดศีรษะ
  • ไม่อยากอาหาร
  • มองเห็นภาพหลอน

สาเหตุของโรคง่วงนอกมากผิดปกติ

นักวิจัยได้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่โรคนี้จะเกี่ยวกับสื่อประสาทในสมองและน้ำไขสันหลัง ได้แก่ ไฮโปครีติน/โอเรซิน, โดพามีน, ฮิสตามีน, เซโรโทนิน และกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (GABA) รวมไปถึงพันธุกรรมเพราะ 39% ของผู้ป่วยที่พบ ครอบครัวก็มีอาการของโรคนี้เช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับยีนบางตัว บางครั้งอาจจะเกี่ยวข้องกับยาที่ใช้เป็นประจำ

ผลเสียของโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

อย่างที่ทราบกันว่าโรคง่วงนอนมากผิดปกติส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทั้งตื่นนอนยาก หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ทำอะไรได้ไม่เต็มที่ ยังมีผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายดังนี้

  • ฮอร์โมนด้านความสุขลดลง ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดบ่อยครั้ง
  • อ้วนง่ายเพราะไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่เต็มที่
  • มีบุตรยาก เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงทำงานได้ไม่เต็มที่
  • เสี่ยงต่อการหยุดหายใจเฉียบพลัน หรือไหลตาย
  • อายุสั้นลง

วิธีแก้ปัญหาโรคง่วงนอนมากผิดปกติ

  • เข้านอนอย่างมีประสิทธิภาพ

การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการเข้านอนอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ร่างกายได้พักอย่างเต็มที่ ควรที่จะเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกคืน ห้องนอนต้องมีอากาศถ่ายเท อุณหภูมิเหมาะสม มืดและเงียบ รวมไปถึงเครื่องนอนทั้งหมอน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ควรสะอาดและเหมาะกับสรีระร่างกายเรา

  • ลดคาเฟอีนก่อนเข้านอน

อย่างที่ทราบกันว่าคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ดังนั้นการเติมคาเฟอีนเข้าร่างกายก่อนเข้านอนไม่ว่าจะเป็นกาแฟ ชา ช็อคโกแลต จะทำให้ร่างกายตื่นตัวและพักผ่อนได้ไม่เต็มที่

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน

แม้แอลกอฮอล์จะมีสารกล่อมประสาททำให้หลับง่าย แต่เมื่อร่างกายได้เผาผลาญแอลกอฮอล์จะทำให้ตื่น และบางทีอาจทำให้ฝันร้ายได้ด้วย

  • หลีกเลี่ยงการใช้นิโคตินก่อนเข้านอน

เพราะนิโคตินเป็นตัวกระตุ้นร่างกาย ทำให้ร่างกายตื่นตัว

  • หลีกเลี่ยงการทำงานในตอนกลางคืน

เพราะความเครียดจากการทำงานจะทำให้เราไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่

ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่าอาการง่วงนอนสามารถถูกวินิจฉัยเป็นโรคได้เช่นกัน ก็ถือว่าเป็นความรู้ที่น่าสนใจและแปลกใหม่มาก ๆ เพราะเชื่อเลยว่าเพื่อน ๆ หลายคนน่าจะประสบปัญหานี้อยู่เช่นกัน ลองเช็คอาการตัวเองและแก้ปัญหาตามคำแนะนำของเรา รับรองว่าความสดใสจะกลับมาอย่างแน่นอน! คราวหน้า Wongnai จะมาแบ่งปันความรู้เรื่องอะไร ติดตามกันด้วยน้าา~