มีใครจำคำราชาศัพท์ได้บ้างว่าคำบางคำมีคำแปลราชาศัพท์ว่าอะไรบ้าง ถ้าให้ถามสัก 10 คำน่าจะตอบได้ 1 หรือ 2 ในสิบแน่นอนที่บอกแบบนี้เพราะว่าเนื่องจากเราไม่ได้ใช้ และต่อให้ใช้ก็ต้องท่องจำใหม่อีกครั้งเหมือนรื้อทุกอย่างใหม่หมดอีกรอบ วันนี้เราเลยรวมคำราชาศัพท์ทุกหมวดพร้อมคำแปลมาฝากค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหมวดคำราชาศัพท์หมวดร่างกาย คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ และคำราชาศัพท์หมวดกริยาต่างๆ ถือว่าครบเลยใช่ไหมล่าา พูดเลยจำได้แน่นอนถ้าจำไม่ได้กดเซฟแล้วท่องเลยค่ะ!
ที่มาของคำราชาศัพท์
ก่อนเราจะไปดูคำราชาศัพท์ต่างๆ เรามาดูกันหน่อยดีกว่าค่ะ ว่าที่มาของคำราชาศัพท์คืออะไร ต้องบอกว่าลักษณะของสังคมไทยเป็นสถานที่มีความผูกพันนับถือกันไม่ว่าจะด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ และชาติวุฒิ ทำให้มันสะท้อนออกมาและปรากฎในการใช้ภาษาอีกเหมือนกัน ตัวอย่างที่เห็นภาพได้แบบง่ายมากคือการใช้ภาษาไทยที่สุภาพกับผู้ที่มีวัยสูงกว่า ฉะนั้นการใช้ภาษากันเองกับผู้ที่สนิทสนมกันหรือการใช้คำราชาศัพท์กับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์จึงเกิดขึ้นในสังคมที่ยกย่องผู้นำ ผู้ที่มีบุญญาธิการผู้ที่ประพฤติดี และผู้ที่ช่วยเหลือให้ความสุขแก่ราษฎร จึงได้มีการใช้คำเพื่อยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์
รวมคำราชาศัพท์หมวดร่างกาย

- พระอุระ ความหมาย หน้าอก
- พระทรวง ความหมาย หน้าอก
- พระหทัย ความหมาย หัวใจ
- พระกมล ความหมาย หัวใจ
- พระอุทร ความหมาย ท้อง
- พระนาภี ความหมาย สะดือ
- พระกฤษฎี ความหมาย สะเอว
- บั้นพระองค์ ความหมาย สะเอว
- พระปรัศว์ ความหมาย สีข้าง
- พระผาสุกะ ความหมาย ซี่โครง
- พระเศียร ความหมาย ศีรษะ
- พระนลาฏ ความหมาย หน้าผาก
- พระขนง ความหมาย คิ้ว
- พระภมู ความหมาย คิ้ว
- พระเนตร ความหมาย ดวงตา
- พระจักษุ ความหมาย ดวงตา
- พระนาสิก ความหมาย จมูก
- พระนาสา ความหมาย จมูก
- พระปราง ความหมาย แก้ม
- พระโอษฐ์ ความหมาย ปากริมฝีปาก
- ต้นพระหนุ ความหมาย ขากรรไกร
- พระกรรณ ความหมาย หูหรือใบหู
- พระพักตร์ ความหมาย ดวงหน้า
- พระศอ ความหมาย คอ
- พระรากขวัญ ความหมาย ไหปลาร้า
- พระอังสกุฏ ความหมาย จะงอยบ่า
- พระกร ความหมาย แขน
- พระกัประ ความหมาย ข้อศอก
- พระกะโประ ความหมาย ข้อศอก
- พระกัจฉะ ความหมาย รักแร้
- พระหัตถ์ ความหมาย มือ
- ข้อพระกร ความหมาย ข้อมือ
- ข้อพระหัตถ์ ความหมาย ข้อมือ
- พระปฤษฏางค์ ความหมาย หลัง
- พระขนอง ความหมาย หลัง
- พระโสณี ความหมาย ตะโพก
- พระที่นั่ง ความหมาย ก้น
- พระอูรุ ความหมาย ต้นขา
- พระเพลา ความหมาย ขาหรือตัก
- พระชานุ ความหมาย เข่า
- พระชงฆ์ ความหมาย แข้ง
- หลังพระชงฆ์ ความหมาย น่อง
- พระบาท ความหมาย เท้า
- ข้อพระบาท ความหมาย ข้อเท้า
- พระปราษณี ความหมาย ส้นเท้า
- ส้นพระบาท ความหมาย ส้นเท้า
- พระฉวี ความหมาย ผิวหนัง
- พระโลมา ความหมาย ขน
- พระพักตร์ ความหมาย ใบหน้า
- พระมังสา ความหมาย เนื้อ
รวมคำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล

- พระอัยกา ความหมาย ปู่หรือตา
- พระอัยยิกา ความหมาย ย่าหรือยาย
- พระปัยกา ความหมาย ปู่ทวดหรือตาทวด
- พระปัยยิกา ความหมาย ย่าทวดหรือยายทวด
- พระชนกหรือพระราชบิดา ความหมาย พ่อ
- พระชนนีหรือพระราชมารดา ความหมาย แม่
- พระสสุระ ความหมาย พ่อสามี
- พระสัสสุ ความหมาย แม่สามี
- พระปิตุลา ความหมาย ลุงหรืออาชาย
- พระปิตุจฉา ความหมาย ป้าหรืออาหญิง
- พระมาตุลา ความหมาย ลุงหรือน้าชาย
- พระมาตุจฉา ความหมาย ป้าหรือน้าหญิง
- พระสวามีหรือพระภัสดา ความหมาย สามี
- พระมเหสีหรือพระชายา ความหมาย ภรรยา
- พระเชษฐา ความหมาย พี่ชาย
- พระเชษฐภคินี ความหมาย พี่สาว
- พระอนุชา ความหมาย น้องชาย
- พระขนิษฐา ความหมาย น้องสาว
- พระราชโอรสหรือพระเจ้าลูกยาเธอ ความหมาย ลูกชาย
- พระราชธิดา,พระเจ้าลูกเธอ ความหมาย ลูกสาว
- พระชามาดา ความหมาย ลูกเขย
- พระสุณิสา ความหมาย ลูกสะใภ้
- พระราชนัดดา ความหมาย หลานชายหรือหลานสาว
- พระภาคิไนย ความหมาย หลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว
- พระภาติยะ ความหมาย หลานที่ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย
- พระราชปนัดดา ความหมาย เหลน
รวมคำราชาศัพท์หมวดกริยา

- พระราชดำรัส ความหมาย คำพูด
- ตรัส ความหมาย พูดด้วย
- เสด็จพระราชดำเนิน ความหมาย เดินทางไปที่ไกล ๆ
- เสด็จลง ความหมาย เดินทางไปที่ใกล้ ๆ
- ทรงพระราชนิพนธ์ ความหมาย แต่งหนังสือ
- ทรงพระกาสะ ความหมาย ไอ
- ทรงพระสรวล ความหมาย หัวเราะ
- ทรงพระปรมาภิไธย ความหมาย ลงลายมือชื่อ
- ทรงสัมผัสมือ ความหมาย จับมือ
- ทรงพระเกษมสำราญ ความหมาย สุขสบาย
- ทรงพระปินาสะ ความหมาย จาม
- พระราชโองการ ความหมาย คำสั่ง
- พระราโชวาท ความหมาย คำสั่งสอน
- พระราชปฏิสันถาร ความหมาย ทักทาย
- มีพระราชประสงค์ ความหมาย อยากได้
- สรงพระพักตร์ ความหมาย ล้างหน้า
- ชำระพระหัตถ์ ความหมาย ล้างมือ
- พระราชปฏิสันถาร ความหมาย ทักทายปราศรัย
- เสด็จประพาส ความหมาย ไปเที่ยว
- พระราชปุจฉา ความหมาย ถาม
- ถวายบังคม ความหมาย ไหว้
- พระบรมราชวินิจฉัย ความหมาย ตัดสิน
- ทอดพระเนตร ความหมาย ดู
- พระราชทาน ความหมาย ให้
- พระราชหัตถเลขา ความหมาย เขียนจดหมาย
- ทรงเครื่อง ความหมาย แต่งตัว
- ทรงพระอักษร ความหมาย เรียน เขียน อ่าน
- ประทับ ความหมาย นั่ง
- ทรงยืน ความหมาย ยืน
- บรรทม ความหมาย นอน
หมายเหตุ : คำว่า พระราชโองการ และพระราโชวาท หากใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีคำว่า “บรม” นำหน้าคำว่า “ราช” เสมอ
รวมคำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

- พระวิสูตร ความหมาย ม่านหรือมุ้ง
- พระสูตร ความหมาย ม่านหรือมุ้ง
- พระเขนย ความหมาย หมอน
- พระทวาร ความหมาย ประตู
- พระบัญชร ความหมาย หน้าต่าง
- พระสุวรรณภิงคาร ความหมาย คนโทน้ำ
- ฉลองพระหัตถ์ช้อน ความหมาย ช้อน
- ฉลองพระหัตถ์ส้อม ความหมาย ส้อม
- ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ความหมาย ตะเกียบ
- แก้วน้ำเสวย ความหมาย แก้วน้ำ
- พระสาง ความหมาย หวี
- พระแสงกรรบิด ความหมาย มีดโกน
- ซับพระองค์ ความหมาย ผ้าเช็ดตัว
- ซับพระพักตร์ ความหมาย ผ้าเช็ดหน้า
- ผ้าพันพระศอ ความหมาย ผ้าพันคอ
- พระภูษา ความหมาย ผ้านุ่ง
- นาฬิกาข้อพระหัตถ์ ความหมาย นาฬิกาข้อมือ
- พระฉาย ความหมาย กระจกส่อง
- ธารพระกร ความหมาย ไม้เท้า
- พระแท่นบรรทม ความหมาย เตียงนอน
- พระราชอาสน์ ความหมาย ที่นั่ง
- โต๊ะทรงพระอักษร ความหมาย โต๊ะเขียนหนังสือ
- พระราชหัตถเลขา ความหมาย จดหมาย
- ฉลองพระเนตร ความหมาย แว่นตา
- พระที่นั่งเก้าอี้ ความหมาย เก้าอี้นั่ง
- เก้าอี้ประทับ ความหมาย เก้าอี้นั่ง
- พระเขนย ความหมาย หมอนหนุน
- เครื่องพระสุคนธ์ ความหมาย เครื่องหอม เช่น น้ำหอม แป้งผัดหน้า
- เครื่องพระสำอาง ความหมาย เครื่องประทินผิวหรือเครื่องสำอาง
- อ่างสรง ความหมาย อ่างอาบน้ำ
- กระเป๋าทรง ความหมาย กระเป๋าถือ
- พระแสงปนาค ความหมาย กรรไกร
รวมคำราชาศัพท์หมวดอาหาร

- เครื่องเสวย ความหมาย ของกิน
- เครื่องคาว ความหมาย ของคาว
- เครื่องเคียง ความหมาย ของเคียง
- เครื่องว่าง ความหมาย ของว่าง
- เครื่องหวาน ความหมาย ของหวาน
- พระกระยาหาร ความหมาย ข้าว
- พระกระยาต้ม ความหมาย ข้าวต้ม
- ขนมเส้น ความหมาย ขนมจีน
- ผักรู้นอน ความหมาย ผักกระเฉด
- ผักสามหาว ความหมาย ผักตบ
- ผักทอดยอด ความหมาย ผักบุ้ง
- ฟักเหลือง ความหมาย ฟักทอง
- ถั่วเพาะ ความหมาย ถั่วงอก
- พริกเม็ดเล็ก ความหมาย พริกขี้หนู
- เห็ดปลวก ความหมาย เห็ดโคน
- เยื่อเคย ความหมาย กะปิ
- ปลาหาง ความหมาย ปลาช่อน
- ปลาใบไม้ ความหมาย ปลาสลิด
- ปลายาว ความหมาย ปลาไหล
- ปลามัจฉะ ความหมาย ปลาร้า
- ลูกไม้ ความหมาย ผลไม้
- กล้วยเปลือกบางหรือกล้วยกระ ความหมาย กล้วยไข่
- ผลมูลละมั่ง ความหมาย ลูกตะลิงปลิง
- ผลอุลิด ความหมาย ลูกแตงโม
- ผลอัมพวา ความหมาย ผลมะม่วง
- นารีจำศีล ความหมาย กล้วยบวชชี
- ขนมดอกเหล็กหรือขนมทราย ความหมาย ขนมขี้หนู
- ขนมสอดไส้ ความหมาย ขนมใส่ไส้
- ขนมทองฟู ความหมาย ขนมตาล
- ขนมบัวสาว ความหมาย ขนมเทียน
รวมคำราชาศัพท์หมวดสรรพนาม

- แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1) คำราชาศัพท์ ข้าพระพุทธเจ้า กระผม, ดิฉัน ใช้กับ พระมหากษัตริย์ ผู้ใหญ่, พระสงฆ์
- แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2) คำราชาศัพท์ ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท ใช้กับ พระมหากษัตริย์, พระบรมราชินี, พระบรมราชนนี, พระบรมโอสรสาธิราช, พระบรมราชกุมารี
- แทนชื่อที่พูดด้วย คำราชาศัพท์ ฝ่าพระบาท ใช้กับ เจ้านายชั้นสูง
- แทนชื่อที่พูดด้วย คำราชาศัพท์ พระคุณเจ้า ใช้กับ พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์
- แทนชื่อที่พูดด้วย คำราชาศัพท์ พระคุณท่าน ใช้กับ พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
- แทนชื่อที่พูดด้วย คำราชาศัพท์ พระเดชพระคุณ ใช้กับ เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ
- แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3) คำราชาศัพท์ พระองค์ ใช้กับ พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่
- แทนผู้ที่พูดถึง คำราชาศัพท์ ท่าน ใช้กับ เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ
ที่มาของข้อมูล : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย [Online] เข้าถึงได้จาก https://www.orst.go.th/?knowledges สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565
เป็นยังไงบ้างคะ กับรวมคำราชาศัพท์แต่ละหมวดที่เอามาฝากมีครบทุกหมวดไม่ว่าจะเป็นหมวดคำราชาศัพท์หมวดร่างกาย คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้ หรือหมวดต่างๆ อีกมากมายจริงๆ ถ้าเราต้องใช้คำเหล่านี้บ่อยๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ชินปากสำหรับใครบางคน แต่ถ้าใครที่ไม่ค่อยได้ใช้ก็ลองอ่านและฝึกจำเอาไว้ก็ได้ค่ะ เพราะคำราชาศัพท์เหล่านี้ก็เป็นเหมือนความรู้รอบตัวเหมือนกันว่าแล้วกดเซฟรูปเอาไว้ใช้ได้เลยค่า
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ