วิธีลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคม ออนไลน์ มาตรา 33 ทำตามได้ง่าย ๆ
  1. วิธีลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคม ออนไลน์ มาตรา 33 ทำตามได้ง่าย ๆ

วิธีลงทะเบียนว่างงาน ประกันสังคม ออนไลน์ มาตรา 33 ทำตามได้ง่าย ๆ

ต้องบอกว่าสิทธิ์ประกันสังคมถือว่ามีความจำเป็นต่อบุคคลว่างงานไม่น้อยเลยนะคะ มาดูวิธีลงทะเบียนว่างงานสำหรับคนที่กำลังออกจากงาน หรือออกมาแล้วแต่ไม่รู้ว่าต้องทำไง!
writerProfile
30 ส.ค. 2024 · โดย

อย่างที่เราได้บอกไปเลยว่าสิทธิ์ของประกันสังคมค่อนข้างที่จะมีความสำคัญเหมือนกัน เพราะว่ามันคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราควรมี ซึ่งเราจะต้องมีชื่อในระบบแรงงานที่จ่ายเงินสมทบประกันตามมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน ซึ่งปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้เปิดให้ลงทะเบียนว่างงานช่องทางออนไลน์แล้วค่ะ วันนี้ Wongnai Beauty จะพาทุกคนไปดูเงื่อนไขและขั้นตอนสำหรับการลงทะเบียนกันค่ะ รับรองว่าไม่ยากดูแล้วสามารถทำได้เลย

เหตุผลที่เราควรขึ้นทะเบียนประกันสังคม ว่างงาน

ต้องอกว่าการว่างงานเป็นเรื่องที่เราปฎิเสธไม่ได้ถึงความกังวลและทุกข์ทางใจที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากนั้น เมื่อเราต้องตกอยู่ในสถานะว่างงานการที่เราจะคิดเรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้นผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนว่างงาน เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดรวมถึงขั้นตอนสำหรับการลงทะเบียนไม่ได้มีความยุ่งยากเลยค่ะ สามารถทำตามขั้นตอนผ่านระบบออนไลน์ได้เลย แค่เราต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน ผู้ประกันตนจะได้รับความช่วยเหลือตอนว่างงาน อย่างน้อย ๆ ระหว่างที่เรากำลังหางานใหม่จะได้ไม่เดือดเนื้อร้อนใจมากนักนั่นเอง

เช็กเงื่อนไขผู้ประกันตนที่สามารถลงทะเบียนว่างงานสิทธิ์ประกันคมกัน!

ต้องบอกว่านี่เป็นเงื่อนไขผู้ประกันตนที่สามารถลงทะเบียนว่างงานได้ในปี 2567 นะคะ ใครที่ลองเช็กแล้วเราเข้าข่ายว่าสามารถยื่นได้ ก็ไปดูกันต่อได้เลยว่าวิธีลงทะเบียนว่างงานสามารถทำยังไงได้บ้าง อย่าลืมว่าต้องเข้าเงื่อนไขนะคะ

  • ต้องเป็นผู้ประกันตน ม.33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่าง ไม่ว่าจะลาออกเอง ถูกเลิกจ้าง หรือว่าว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม
  • ต้องว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  • รายงานตัวออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมจัดหางาน เดือนละ 1 ครั้ง
  • ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่านเว็บไซต์กรมจัดหางาน ภายใน 30 วัน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในการรับงานเงินทดแทน
  • ไม่เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
  • ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39
  • ไม่ถูกเลิกงานในกรณี ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ขาดงานต่อเนื่องติดกัน 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร ประมาทจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง หรือได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  • มีความพร้อมและสามารถทำงานที่จัดหาให้ได้ และไม่ปฎิเสธการฝึกงาน

วิธีการลงทะเบียนว่างงานทำยังไงได้บ้าง ไม่ยากมาส่องกันต่อเลย!

วิธีการลงทะเบียนว่างงานทำยังไงได้บ้าง ไม่ยากมาส่องกันต่อเลย!

เรามาเริ่มไปที่ Step เลยนะคะ เผื่อใครยังไม่เคยรู้ว่าการลงทะเบียนว่างงานทำยังไง ต้องเข้าเว็บไซต์ไหน หรือว่าต้องกรอกอะไรบ้าง พูดได้เลยว่าไม่ยากเรารวมขั้นตอนทั้งหมดมาให้ทุกคนเอาทำตามแล้วล่ะค่ะ

วิธีการลงทะเบียนว่างงาน ขั้นตอนที่ 1 : กดลงทะเบียนว่างงานประกันสังคมออนไลน์ มาตรา 33

1. เข้าสู่เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

2. ให้เลือก “เข้าสู่ระบบสำหรับบุคคลทั่วไป” หรือลงทะเบียนเฉพาะผู้ใช้งานใหม่ตามขั้นตอน

3. จากนั้นกดยินยอมการให้ใช้ข้อมูลให้เรียบร้อย และ กด “ขึ้นทะเบียนรายงานตัวผู้ประกันตน กรณีว่างงาน” และกด “ดำเนินการต่อ”

4. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน และ กดเลือกเมนู “ขึ้นทะเบียนว่างงาน” ปุ่มสีฟ้า

5. กรอกข้อมูลและรายละเอียด ส่วนบุคคล

  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • วุฒิการศึกษา
  • สถานะการออกจากงาน : ลาออกหรือเลิกจ้าง
  • ต้องการหางานทำ : ค้นหาตำแหน่งงานว่างหรือเลือกสมัครงาน
  • ประกอบอาชีพอิสระ : ระบุประเภทอาชีพ

6. กรอกข้อมูลแบบ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)

7. แนบไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ระบุชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน

8. กดบันทึกเป็นอันเรียบร้อย

วิธีการลงทะเบียนว่างงาน ขั้นตอนที่ 2 : การรายงานตัว

1. เข้าสู่เว็บไซต์ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

2. ให้เลือก “เข้าสู่ระบบสำหรับบุคคลทั่วไป”

3. จากนั้นกด “ขึ้นทะเบียนรายงานตัวผู้ประกันตน กรณีว่างงาน” และกด “ดำเนินการต่อ”

4. เสร็จแล้วกดเลือกเมนู “รายงานตัว” ปุ่มสีฟ้า และ กดปุ่มรายงานตัวในช่องปฏิบัติการอีกครั้ง

5. กรอกข้อมูลและรายละเอียด ดังนี้

  • กรณีมีงานทำแล้ว : กรอกวัน เดือน ปีที่เริ่มงาน ตำแหน่งงาน อัตราค่าจ้าง และชื่อสถานประกอบการ
  • กรณียังไม่มีงานทำ : ค้นหาตำแหน่งงานว่าง และเลือกสมัครงาน
  • กดบันทึก ระบบจะแสดงการรายงานตัวเรียบร้อย

หลังจากที่ทุกคนทำทั้ง 2 ขั้นตอนเรียบร้อยแล้วสามารถตรวจสอบสถานะ และการรับผลประโยชน์ทดแทนได้ผ่านเว็บไซต์ได้เหมือนเดิมเลยค่ะ จริง ๆ แล้วขั้นตอนการกรอกไม่ยากเลยแต่อาจจะเยอะสักหน่อยแต่ไม่ได้ยากจนเกินไปนั่นเอง

การลงทะเบียนว่างงานต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ยื่นเอกสารคนว่างงานทางออนไลน์ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ถ้าเราจะลงทะเบียนว่างงานหลาย ๆ คนอาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่าเอกสารที่เราต้องใช้มีอะไรบ้างล่ะ พูดเลยสว่าเตรียมได้ไม่ยากเราเอารายละเอียดสำหรับการเตรียมความพร้อมมาฝากทุกคนแล้วค่ะ

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)
  • ไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร ต้องเป็นประเภทออมทรัพย์ และระบุชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน
ลงทะเบียนว่างงานไปเองที่สำนักงานต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

นอกจากนี้ถ้าใครที่เดินทางไปขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านเอกสารที่ต้องเตรียมจะต่างกันค่ะ แต่ถ้าเตรียมเอกสารไปครบก็สามารถยื่นทำเรื่องได้เลย

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)
  • บัตรประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ต้องถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผุ้ประกันตน (สปส.6-09) แต่กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้เหมือนกันค่ะ
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  • สำเนาบัญชีธนาคาร ต้องเป็นประเภทออมทรัพย์ และระบุชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน

หากลงทะเบียนว่างงานกี่วันถึงจะได้เงิน?

เราคิดว่าหลาย ๆ คนน่าจะมีคำถามในใจว่าถ้าเราลงทะเบียนว่างงานไปแล้วจะได้รับเงินเมื่อไร ต้องบอกว่าทุกคนจะได้รับเงินภายใน 7 - 14 วันทำการ หากผ่านการพิจารณาอนุมัติของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งทุกคนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมอื่น ๆ ได้ผ่านช่องทางนี้

  • สายด่วนประกันสังคม 1506 กด 1
  • ติดต่อสำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้าน
  • ติดต่อผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect
  • เว็บไซต์ทางการสำนักงานประกันสังคม

ลงทะเบียนว่างงาน จะได้เงินกี่บาท?

  • หากถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างรายวัน ครั้งละไม่เกิน 180 วันต่อปี

ยกตัวอย่าง : ถ้าค่าจ้าง 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน จะได้รับเงินทดแทนวันละ 250 บาทต่อวัน หรือได้รับเงินชดเชย 250 - 45,000 บาท

  • หากสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือว่าลาออกเองจะได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้างรายวัน ครั้งละไม่เกิน 90 วันต่อปี

อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน) สืบค้นวันที่ 19 July 2024

เป็นยังไงบ้างคะ บอกแล้วว่าวิธีลงทะเบียนว่างงานไม่ใช่เรื่องยากเลย แค่เราต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมสำหรับการลงทะเบียนแค่นั้นเอง นอกจากนี้เราสามารถเลือกวิธีการลงทะเบียนได้ทั้งแบบออนไลน์ และสามารถไปที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านของตัวเองได้เลย ทั้งนี้เอกสารก็อาจจะต้องเตรียมอย่างละเอียดหน่อยเวลาไปหน้างานจะได้ไม่เสียเที่ยวนั่นเองจ้าา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ