อาการปวดหัวไมเกรน เป็นโรคที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เพราะคนส่วนใหญ่จะเป็นกันค่อนข้างมาก แต่หลายคนก็ยังไม่ทราบถึงสาเหตุปัจจัยจริงๆ ว่าเกิดจากอะไรกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรรู้ไว้จะได้ป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ หากใครที่เป็นอยู่แล้วก็ควรจะรู้วิธีรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อไม่ให้อาการร้ายแรงไปกว่าเดิม หากใครอยากรู้ว่าอาการไมเกรนเป็นอย่างไร มาตรวจสอบด้วยตนเองกันได้เลยยย
ทำความรู้จัก โรคไมเกรน คืออะไร?

โรคไมเกรน (Migraine) โรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวหรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย
สาเหตุที่ทำให้เกิด “โรคไมเกรน”

ไมเกรนเกิดจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งคนส่วนมากต้องสังเกตการใช้ชีวิตของตนเองด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการเหล่านี้ตามมา
- จากภาวะความเครียด ความกดดันตนเอง ความกังวลต่างๆ
- จากการอดนอน นอนหลับไม่เพียงพอ
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือทำงานมากเกินไป
- ตอนมีประจำเดือน หรือรับประทานยาคุมกำเนิด
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ เป็นต้น
- อาหารบางชนิดเช่น กล้วยหอม เนยแข็ง และช็อกโกแลต อาจเป็นสารก่อให้เกิดโรคนี้ได้
อาการของ “โรคไมเกรน” เป็นอย่างไร?

- ปวดศีรษะครึ่งซีก บริเวณขมับหรือท้ายทอย บางครั้งอาจเป็นสองข้างพร้อมกัน
- การปวดศีรษะแบบปวดตุ๊บๆ นานๆ ถ้าเป็นรุนแรง อาจปวดนานเป็นวันๆ หรือสัปดาห์ได้
- อาการปวดศีรษะมักรุนแรง และส่วนมากจะมีการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ
- อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้นๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวนำมาก่อน
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไมเกรน (MIGRAINE) จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆ เหล่านี้ ผู้ป่วยทุกคนต้องสังเกตตัวเองว่า อะไรเป็นตัวกระตุ้นการเกิดไมเกรน (MIGRAINE) ในตนเอง เพื่อจะหลีกเลี่ยงและแก้ไข ได้ตรงจุดค่ะ
การรักษาและการป้องกัน “โรคไมเกรน”

การรักษา
แนวทางการรักษาอย่างถูกต้อง สามารถทำให้ความถี่ของการปวดหัวไมเกรนลดลงได้ โดยแพทย์จะเริ่มแนะนำให้ใช้ยาป้องกันเมื่อ มีอาการไมเกรน 4 ครั้งใน 1 เดือนขึ้นไป มีข้อห้ามต่อการใช้ยาแก้ปวดหัวเฉียบพลัน เช่น มีประวัติแพ้ยา ตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
การป้องกัน
การปรับจากพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่กระตุ้นการเกิดไมเกรน นอกจากนี้ การใช้ยาเพื่อป้องกันและรักษา ก็นับได้ว่ามีประสิทธิภาพที่ดีเลยทีเดียว แต่ยาบางชนิดก็อาจมีผลข้างเคียงที่ต้องระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรเลือกใช้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
ร่างกายและจิตใจของแต่ละคนสามารถทนรับกับความเจ็บปวดได้แตกต่างกัน นอกจากนี้อาการปวดไมเกรน ยังมีความรุนแรงหลายระดับ คนที่มีอาการนี้ จึงไม่จำเป็นว่าต้องปวดหัวจนกระทั่งทนไม่ไหวเสมอไป แม้ว่าจะมีอาการไม่รุนแรง แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นถี่มากจนเกินไป หรือมีระยะเวลายาวนาน หรือเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี
ติดตามบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจต่อได้ที่ อ่านต่อได้ที่
- รู้ทัน! อาการ PMS การเหวี่ยงวีนของสาวๆ ก่อนมีประจำเดือน พร้อมวิธีแก้ไข
- โรคหอบจากอารมณ์ (Hyperventilation Syndrome) ภาวะที่เกิดจากความเครียด!
- วิจัยเผย ชอบฟังเพลงอกหัก เพลงเหงา ๆ ทำให้เกิดอาการเศร้าทิพย์
- สภาวะน้ำหนักนิ่ง! (Hit the plateau) เคยเป็นไหม? ลดเท่าไรก็ไม่ลง
ข้อมูลอ้างอิง
praram9. 2564. “ปวดหัวไมเกรน อาการเป็นอย่างไร ควรรักษาแบบไหนดี?” [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.praram9.com/migraine/ / สืบค้น 6 เมษายน 2565