[คู่มือ] เอาตัวรอด ถ้าปวดอึบนรถไฟฟ้า
  1. [คู่มือ] เอาตัวรอด ถ้าปวดอึบนรถไฟฟ้า

[คู่มือ] เอาตัวรอด ถ้าปวดอึบนรถไฟฟ้า

คู่มือ การเอาตัวรอด หากวันไหนที่สาว ๆ ปวดอึบนรถไฟฟ้า ว่าเราจะต้องทำอย่างไร สามารถไปเข้าห้องน้ำได้ที่ไหนบ้าง หรือเราจะต้องกลั้นปวดแบบไหนภายในเวลาที่จำกัด
writerProfile
24 ส.ค. 2018 · โดย

เชื่อเลยว่าสาว ๆ หลายคนต้องเคยเจอปัญหานี้แน่นอนค่ะ ปวดอึขณะอยู่บนรถไฟฟ้า ทั้ง BTS และ MRT พอปวดขึ้นมาทีก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง ต้องหาห้องน้ำที่ไหนถึงใกล้ที่สุด วันนี้ Wongnai Beauty ได้รวบรวมเป็นคู่มือการเอาตัวรอดถ้าปวดอึบนรถไฟฟ้า มีทั้งเทคนิคการอั้นอึให้ถูกวิธี รวมไปถึงห้องน้ำตามจุดต่าง ๆ ตามแนวรถไฟฟ้า จะมีที่ไหนบ้างไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ 

เวลาในการเดินทางของแต่ละสถานี

ในกรณีที่ยังอดทนต่อฆ่าศึกที่กำลังจะโจมตี แต่ยังพอที่จะอดทนไหวและต้องไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างเร่งรีบ การคำนวณเวลาการเดินทางก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเหมือนกันค่ะ โดยปกติแล้วการเดินทางของรถไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็น BTS หรือ MRT แต่ละสถานีใช้เวลาเฉลี่ย 2 นาทีค่ะ 

ส

สุขาใกล้บีทีเอส 

และถ้าวันไหนสาว ๆ อั้นอึไม่ไหวจริง ๆ จะสามารถไปเข้าห้องน้ำที่ไหนได้บ้าง ซึ่งสุขาแต่ละที่ไปบางสถานีก็สามาถเข้าห้องน้ำที่ตัวสถาทีได้เลยเพราะ เป็นสุขาที่ทาง กทม. จัดเตรียมไว้ให้ หรือบางสถาทีเป็นสุขาใกล้ ๆ สถานีที่สามารถเดินไปเข้าได้  

ส
ส
l

ห้องน้ำประจำรถไฟฟ้า MRT

- MRT สถานีสุขุมวิท : ห้องน้ำใน Metro Mall
- MRT สถานีพระราม 9 : ห้องน้ำใน Metro Nine
- MRT สถานีลาดพร้าว : ห้องน้ำในอาคารจอดรถ (ภายนอกสถานี)
- MRT สถานีพหลโยธิน : ห้องน้ำทางออกที่ 1 (ฝั่งเซนต์จอห์น)
- MRT สถานีสวนจตุจักร : ห้องน้ำทางออกที่ 1
- MRT สถานีกำแพงเพชร : ห้องน้ำออกที่ 2 เฉพาะวันศุกร์-เสาร์ และอาทิตย์
- MRT สถานีคลองเตย : ห้องน้ำใกล้กับ Metro Mall ฝั่งร้าน Amazon ตรงข้ามกับ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว

ส

ทริคในการอั้นอึที่ถูกวิธี 

เวลาปวดอึขึ้นมาที แต่ละคนก็มีวิธีในการอั้นอึของตัวเอง แต่ทุกคนก็มีลิมิตเป็นว่าจะทนได้มากน้อยขนาดไหน แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนนะคะว่า ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าอั้นอึค่ะ เพราะว่ามันจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และเส้นประสาทบริเวณไส้ตรงจะถูกทำลายได้ แต่ถ้าถึงเวลาต้องอั้นอึจริง ๆ จะต้องทำอย่างไรบ้างให้ถูกวิธี วันนี้เรามีข้อมูลจาก IFFGD (The International Foundation for Functional Gastrointestinal Disorders) ซึ่งเป็นมูลนิธิเกี่ยวกับโรคกระะเพาะและลำไส้โดยเฉพาะ  รวบรวมเกี่ยวกับการอั้นอึให้ถูกต้อง จะมีการอั้นอึวิธีไหนบ้าง ไปดูกันค่ะ

ยืนอั้นอึดีกว่านั่งบิดไปมา 

สสส


สาว ๆ หลายคนเวลาปวดอึขึ้นมาที คิดว่าวิธีการอั้นที่ดีที่สุดคือการนั่งและบิดไปบิดมา แต่สาว ๆ คิดผิดค่ะ ลองลุกขึ้นยืนเพื่ออั้นไม่ให้ถ่ายหนัก หากยืนไม่ไหวจริง ๆ ท่าที่แย่น้อยที่สุดในสถานการณ์นี้คือท่านั่งยอง ๆ หรือนอนลงเลยค่ะ 

เกร็งแก้มก้น

ส


เวลาสาว ๆ ปวดอึขึ้นมาและไม่ไหว การเกร็งแก้มก้นก็ช่วยได้เยอะเลยค่ะ แต่ถ้ากล้ามเนื้อบริเวณไส้ตรงของสาว ๆ ไม่แข็งแรงหรือถ้าลองเกร็งแล้วไม่มีความรู้สึก อาจเป็นเพราะเส้นประสาทบริเวณนั้นถูกทำลายค่ะ ต้องรีบปรึกษาแพทย์เลยนะคะ

ดึงความสนใจหาอะไรที่ผ่อนคลายทำ 

ส


เวลาปวดอึขึ้นมา ถ้าหาห้องน้ำเข้าไม่ได้จริง ๆ เราต้องพยายามข่มตัวเอง และดึงความสนใจออกจากปัญหานี้ สาว ๆ จะได้ไม่ต้องพะวงอยู่กับการอยากถ่ายหนักมากเกินไป นึกถึงสิ่งที่จะช่วยเบนความสนใจ นึกภาพลูกแมวน่ารักมาคลอเคลียให้กอด อย่าริอาจนึกถึงเรื่องขำขันนะคะ ไม่เช่นนั้นกางเกงอาจจะเปรอะโดยไม่รู้ตัวได้ค่ะ 

ทำตัวปกติสบาย ๆ 

สส


สิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่าคิดมากไป อย่าคิดถึงภาพอนาคตที่มันยังไม่เกิดขึ้น ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ สาว ๆ ต้องทำตัวปกติค่ะ หากมัวแต่คิดถึงการขับถ่ายอยู่ตลอด นั่นจะยิ่งทำให้อั้นอึได้ยากขึ้น ทำตัวสบาย ๆ และพยายามคิดถึงเรื่องอื่นหรือชวนเพื่อนคุยแบบสบาย ๆ ก็ช่วยได้ค่ะ 

วันนี้ต้องขอขอบคุณข้อมูลเกี่ยวกับการอั้นอุจาระให้ถูกวิธี จาก IFFGD (The International Foundation for Functional Gastrointestinal Disorders) มูลนิธิโรคกระะเพาะและลำไส้  ประเทศสหรัฐอเมริกา

 Source : 1, 2, 3