เชื้อไวรัส HPV ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง โรคหูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาต และมะเร็งทวารหนักในผู้ชายได้อีก ในผู้หญิงที่ไม่ว่าตอนนี้อายุเท่าไร ก็มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งนั้น โดยโรคนี้ผู้หญิงไทยถูกพบมากเป็นอันดับ 2 ถือเป็นภัยเงียบที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตเฉลี่ย 7 คนต่อวัน และมีแนวโน้มมากขึ้นด้วย แต่ถ้าเรารู้ทันโรคมะเร็งปากมดลูกเราก็จัดการได้แน่นอนค่ะ
วันนี้ Wongnai Beauty จะพาสาว ๆ มารู้จักกับการตรวจคัดกรองหาเชื้อ HPV ด้วยตัวเอง ตัวช่วยที่จะทำให้เรารู้ทัน ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก แต่ก่อนที่เราจะไปตรวจหาเชื้อนั้น เรามาทำความรู้จักกับเชื้อไวรัสตัวนี้กันก่อนดีกว่าค่ะ
เชื้อไวรัส HPV คืออะไร?

HPV (Human Papilloma Virus) เป็นไวรัสที่ได้รับมาจากการสัมผัสอย่างใกล้ชิด หรือได้รับเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ แต่มีเพียง 40 สายพันธุ์ที่ก่อโรคบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และมีเพียง 14 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่งถูกเรียกว่า สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง 14 High Risk Types ได้แก่ (16/18/31/33/35/39/45/51/52/56/58/59/66/68) ส่วนที่เหลือเป็น Low Risk HPV ซึ่งในกลุ่มนี้ ได้แก่ (6/11) ที่สามารถทำให้เป็นโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โดยเชื้อไวรัส HPV สามารถเกิดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเลยค่ะ
โดยมะเร็งปากมดลูกจะเกิดจากเชื้อไวรัส HPV เข้าไปทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลง จากเซลล์ปกติให้ผิดปกติ โดยไม่มีอาการใด ๆ ซึ่งเชื้อไวรัสจะแฝงอยู่ในร่างกายเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 10 - 15 ปี และจะแสดงอาการออกมาก็ต่อเมื่อลุกลาม หรือเกิดมะเร็งแล้วเท่านั้น เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวมาก แล้วเราเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมั้ยนะ? ลองมาดูกันค่ะ
ใครบ้างเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก ได้แก่
- เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- ผู้หญิงที่คลอดบุตรหลายคน
- มีคู่นอนหลายคนโดยไม่ได้ป้องกัน
- มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ
ซึ่งที่กล่าวมามีความเสี่ยงจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ทั้งหมด โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีคู่นอนหลายคน และเป็นกามโรคอยู่บ่อยครั้ง
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย

Sexually transmissible infections - STIs หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มักจะเกิดในกลุ่มที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ไม่ใช้ถุงยางอนามัย และมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่เคยฉีดสารเสพติด
- โรคหนองในเทียม
- โรคหูดหงอนไก่ และเชื้อ HPV
- โรคเริม
- โรคหนองใน
- โรคซิฟิลิส
- เชื้อ HIV
- โรคไวรัสตับอักเสบบี และโรคไวรัสตับอักเสบซี
ซึ่ง STIs สามารถเกิดได้จากการจูบ, การสัมผัสหรือถูอวัยวะเพศ, การมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปาก, การร่วมเพศ และการใช้เซ็กส์ทอย ใครที่คิดว่าตัวเองเข้าข่ายสุ่มเสี่ยง ลองมาเช็กลิสต์กันค่ะ
เช็ก! พฤติกรรมเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

พฤติกรรมเสี่ยงไหนบ้างที่มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ มาเช็กกันค่ะ
- มีเพศสัมพันธ์กับชายหรือหญิงขายบริการ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย ใน 3 เดือนที่ผ่านมา
- มีคู่นอนมากกว่า 1 คน ใน 3 เดือนที่ผ่านมา
- มีคู่นอนคนใหม่ใน 3 เดือนที่ผ่านมา
- มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือถุงยางอนามัยแตก หลุด (ช่องทางใดช่องทางหนึ่งหรือทุกช่องทางที่ใช้ในการมีเพศสัมพันธ์)
- คู่นอนเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- กำลังรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงแนะนำให้รีบไปตรวจคัดกรอง HPV เลยค่ะ เพราะนอกจากมะเร็งปากมดลูกแล้วยังเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีก แต่ถ้าไม่สะดวกก็สามารถตรวจหาเชื้อ HPV ได้ด้วยตนเองแล้วค่ะ
ตรวจคัดกรองหาเชื้อ HPV เองได้!

ชุดตรวจคัดกรองหาเชื้อ HPV ด้วยตัวเองมาพร้อมเครื่องมือที่ครบครัน
- ใบลงทะเบียน
- QR CODE / BARCODE สำหรับลงทะเบียนอยู่ในใบลงทะเบียน
- คู่มือการใช้งาน
- ไม้เก็บสิ่งตรวจ
- หลอดเก็บนํ้ายารักษาสภาพ
- ถุงซิปล็อคสำหรับใส่สิ่งส่งตรวจ เมื่อส่งกลับ
- สติกเกอร์ สำหรับติดปิดกล่อง เมื่อส่งกลับ
โดยสามารถลงทะเบียนและศึกษาวิธีการใช้งานผ่าน QR CODE โดยมีขึ้นตอนดังนี้ค่ะ
- ลงทะเบียนและศึกษาวิธีการใช้งาน ลงทะเบียนสินค้าผ่านการสแกน QR CODE และศึกษาเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้งาน
- ส่งตรวจตัวอย่าง นำส่งตัวอย่างผ่านทางไปรษณีย์ไทยทุกสาขา ใกล้บ้านคุณ
- วิเคราะห์ผล ห้องปฏิบัติการจะทำการตรวจวิเคราะห์และรายงานผลหลังจากได้รับสิ่งส่งตรวจผ่านใน 7 วัน
- รับผลตรวจ สามารผลตรวจได้ผ่านทางบัญชีที่คุณลงทะเบียนสินค้าไว้ (ตามข้อ 1)
และที่สำคัญต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตนในอีเมล์อีกครั้ง หากไม่ยืนยันตัวตนในอีเมล์จะถือว่าการลงทะเบียนไม่สำเร็จ และท่านจะไม่ได้รับผลตรวจ หากไม่ทำขั้นตอนนี้
โดยชุดตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้มีความกังวลและต้องการความสะดวกในการตรวจภายใน ผู้ที่ต้องการคัดกรองสุขภาพ ผู้ที่ต้องการตรวจหาเชื้อซํ้าหลังการรักษา โดยชุดตรวจนี้นอกจากจะตรวจหาเชื้อ HPV ได้แล้ว ยังสามารถตรวจหา STIs ได้อีกด้วย ซึ่งชุดตรวจได้ผลใกล้เคียงกับการตรวจที่สถานพยาบาลกว่า 99.99% โดยชุดตรวจนี้สามารถตรวจทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ถ้าอย่างนั้นว่าแล้วเราดูวิธีการใช้งานกันดีกว่าค่ะ
วิธีใช้งานในผู้ชาย

- ก่อนใช้ชุดตรวจให้ถอดเครื่องแต่งกาย พร้อมล้างมือให้สะอาด และอยู่ในท่ายืนหรือกางขาในท่าที่สบายค่ะ และมาทำตามขั้นตอนได้เลย โดยเริ่มต้นที่
- เปิดซองอุปกรณ์ โดยฉีกซองที่ด้านบนเพียงเล็กน้อย นำอุปกรณ์เก็บสิ่งส่งตรวจออกมาจากซองโดยไม่สัมผัสที่ปลายไม้เก็บตัวอย่าง
- จับด้ามอุปกรณ์ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยจับที่บริเวณแถบสีดำของอุปกรณ์ ไม่ควรจับสูงหรือต่ำกว่า
- ผู้ชายที่ไม่ได้เข้าสุหนัต (มีหนังหุ้มปลาย) จะต้องม้วนหนังหุ้มปลายลงก่อนที่จะเริ่มเก็บตัวอย่าง โดยจับอวัยวะเพศด้วยมือข้างที่ว่าง ใช้มืออีกข้างหนึ่งเก็บสิ่งส่งตรวจ โดยการป้ายวนอุปกรณ์ที่ปลายหรือด้านนอกของปลายเปิดท่อปัสสาวะหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ได้สิ่งส่งตรวจในปริมาณมากที่สุด แต่ไม่จำเป็นต้องสอดอุปกรณ์เข้าไป
- เปิดฝาหลอดเก็บสิ่งส่งตรวจโดยใช้มือทั้ง 2 ข้าง ระมัดระวังอย่าให้น้ำยาหก และนำอุปกรณ์ที่เก็บสิ่งส่งตรวจจุ่มลงในหลอดน้ำยาทันที
- หักด้ามจับตามแถบสีดำทิ้ง
- ปิดฝาหลอดให้สนิท ติดสติกเกอร์บาร์โค้ดที่หลอดเก็บตัวอย่าง นำใส่ถุงซิปที่เตรียมให้ จากนั้นนำใส่กล่องส่งกลับห้องปฏิบัติการเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ต่อไป
วิธีใช้งานในผู้หญิง

ก่อนใช้ชุดตรวจให้ถอดเครื่องแต่งกาย พร้อมล้างมือให้สะอาด และอยู่ในท่ายืนหรือกางขาในท่าที่สบายค่ะ และมาทำตามขั้นตอนได้เลย โดยเริ่มต้นที่
- เปิดซองอุปกรณ์ โดยฉีกซองที่ด้านบนเพียงเล็กน้อย นำอุปกรณ์เก็บสิ่งส่งตรวจ (ด้ามจับสีชมพู - ส้ม) ออกมาจากซอง โดยไม่ให้สัมผัสโดนส่วนของสำลีปลายไม้เก็บตัวอย่าง
- จับด้ามอุปกรณ์ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ โดยจับที่บริเวณแถบสีดำของอุปกรณ์ ไม่ควรจับสูงหรือต่ำกว่า
- สอดอุปกรณ์เข้าทางช่องคลอดอย่างระมัดระวัง สอดให้ลึกจนถึงแถบสีดำแล้วค่อย ๆ หมุนอุปกรณ์ประมาณ 10 - 30 วินาที (10 รอบ) ให้ปลายสำลีสัมผัสกับผนังช่องคลอดอย่างทั่วถึง แล้วดึงออกโดยไม่สัมผัสผิวบริเวณอื่น
- เปิดฝาหลอดเก็บสิ่งส่งตรวจ โดยใช้มือทั้ง 2 ข้าง ระวังอย่าให้น้ำยาหก และนำอุปกรณ์ที่เก็บสิ่งส่งตรวจจุ่มลงในหลอดน้ำยาทันที
- หักด้ามจับตามแถบสีดำทิ้ง
- ปิดฝาหลอดให้สนิท ติดสติกเกอร์บาร์โค้ดที่หลอดเก็บตัวอย่าง นำใส่ถุงซิปที่เตรียมให้ จากนั้นนำใส่กล่องส่งกลับห้องปฏิบัติการเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ต่อไป
หลังจากที่เก็บผลได้เรียบร้อยแล้ว สามารถส่งตรวจตัวอย่าง โดยใส่กล่องส่งกลับห้องปฏิบัติการ ได้ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขาใกล้บ้านท่าน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และรอรับผลการตรวจได้ในระบบที่ลงทะเบียนไว้ได้เลยค่ะ
เหตุผลที่ควรตรวจคัดกรองหาเชื้อ HPV

เหตุผลสำคัญในการตรวจคัดกรองหาเชื้อ HPV ก็เพราะ
- ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก
- เพิ่มอัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก
- ช่วยตรวจหาโรคติดต่อจากเพศสัมพันธ์
- ช่วยตรวจหาความผิดปกติของร่างกาย
- และหากไม่สะดวกใจจะไปตรวจที่โรงพยาบาล ก็สามารถใช้ชุดตรวจด้วยตนเองได้เช่นกัน
โดยสามารถเลือกใช้ชุดตรวจได้ กล่องสีเขียว สำหรับตรวจ HPV [สามารถตรวจ STIs เพิ่มภายหลังได้] ส่วนกล่องสีฟ้า สำหรับตรวจ STIs + HPV
ดังนั้นการตรวจ HPV และการตรวจ STIs สำคัญมากทั้งชายและหญิง ถ้ารู้เร็วหายเร็ว หากไม่มีเชื้อก็ทำให้เราได้ใช้ชีวิตให้ระมัดระวังขึ้น เพราะไวรัส HPV เป็นภัยเงียบที่อยู่ในร่างกายเราได้นาน 10 - 15 ปี กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไป ในเมื่อปัจจุบันเรามีเทคโนโลยี เครื่องไม้เครื่องมือที่ช่วยให้เราตรวจหาเชื้อ HPV และ STIs เองได้แล้ว เพราะฉะนั้นทุกคนอย่ากลัวการตรวจหาเชื้อ HPV เลยนะคะ ควรตรวจเป็นประจำทุกปี หากไม่สะดวกก็ตรวจด้วยตนเองได้เลยค่ะ ให้เรารู้เท่าทันมะเร็งปากมดลูก และใครที่อยากได้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ Sex หรือสุขภาพการเจริญพันธุ์ทุกเพศ สามาถเข้าไปดูที่ A New Day ได้เลย แล้วยังสามารถปรึกษาได้ตลอด มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลที่ถูกต้อง ให้เพื่อนได้ปลอดภัยห่างไกลโรค
หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- Facebook : A New Day
- Line : @anewday.th https://lin.ee/wog8TVC
- Instagrams : https://www.instagram.com/anewday.th/