เรื่องปัญหาติดเค็มนี่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทยอย่างเรา ๆ มากเลยนะคะ ถึงขนาดที่สมาคมและโรงพยาบาลหลายแห่งออกมารณรงค์กันเยอะแยะมากมาย แล้วทำไมมันถึงเป็นเรื่องใหญ่ไปได้น่ะหรอ นั่นก็เพราะในแทบทุกเมนูอาหารที่เรากินเข้าไป มันทำให้เราติดเค็ม จนกลายเป็นมีโรคต่าง ๆ ถาโถม ฉะนั้นไม่ได้แล้ว วันนี้เราจะมาปฏิวัติพฤติกรรมการกินของเรา เพื่อลดเค็ม ลดอ้วน (ลดโรคด้วย) ไปพร้อม ๆ กันค่า!
จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าเราติดเค็ม!!
เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเลยติดกินรสเค็ม โดยที่ไม่รู้ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายว่าทำให้ร่างกายทรุดโทรม ตั้งแต่ทำให้เกิดอาการบวม อ้วนง่าย ไปจนถึงเป็นโรคร้ายแรงอย่างโรคไตและโรคหัวใจเลยทีเดียว...
คนไทยติดรสเค็ม!!
รู้ไหม ว่าคนไทยติดกินรสเค็มหรือติดโซเดียมหนักมาก ถึงขนาดที่ว่ากินโซเดียมเกิน 2-3 เท่าจากปริมาณที่ร่างกายต้องการเลยทีเดียว แล้วที่กินเกินขนาดนี้ก็อาจเป็นเพราะเข้าใจผิดคิดว่า ถ้าไม่ได้ปรุงรสด้วยเกลือก็รอด แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย เพราะถึงยังไงเราก็ได้รับโซเดียมเข้าไปจากเครื่องปรุงอื่น ๆ อยู่ดี ถ้ายังงั้นมาทำความเข้าใจกันสักนิดนึงดีกว่า ว่าเกลือกับโซเดียมแตกต่างกันอย่างไร
เกลือ VS โซเดียม
เกลือ จะอยู่ปะปนในอาหารแทบทุกชนิดที่เรากิน และเป็นตัวที่ทำให้อาหารมีรสเค็ม ซึ่งส่วนประกอบของเกลือนั้นก็คือโซเดียม หรือถ้าเทียบง่าย ๆ ก็คือ ในเกลือ 1 ช้อนชาจะมีโซเดียมอยู่ประมาณ 40% ซึ่งเจ้าโซเดียมนี้ก็ไม่ได้มีรสเค็มเสมอไปอีกด้วยนะ แถมเรายังสามารถพบโซเดียมในสารประกอบอื่น ๆ อีก เช่น ผงชูรส ผงฟู น้ำสลัด ไอศกรีม นม และสารช่วยปรับกรดด่างในไส้กรอกและแฮม เห็นไหมล่ะคะว่าวัน ๆ นึงเรารับโซเดียมจากอาหารต่าง ๆ เข้าไปเต็ม ๆ เลย
เราต้องการโซเดียมวันละเท่าไร ?
แล้วไอ้ที่บอกว่ากินเกินไปเยอะนี่ ก็วัดจากค่ามาตรฐานที่ร่างกายของเราต้องการต่อวันนั่นแหละค่ะ โดยที่ค่าเฉลี่ย ร่างกายของผู้ชายจะต้องการโซเดียมประมาณ 475-1,450 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผู้หญิงนั้นต้องการโซเดียมแค่ 400-1,200 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้นเองค่ะ เห็นไหมล่ะคะว่ากินโซเดียมเกินไปเยอะจริง ๆ
อาหารแต่ละอย่างมีโซเดียมเท่าไร ?
ถ้าอย่างนั้นคงต้องเล่าย้อนไปซะหน่อย ว่าสารพัดอาหารเมนูอร่อยของบ้านเรานั้น จะขนโซเดียมมาให้ร่างกายเรามากขนาดไหนกัน!
ถ้าลดเค็มแล้ว จะเกิดอะไรกับร่างกายเราบ้าง ?
แค่บอกเลิกบอกลา อาหารและเครื่องปรุงที่เค็มจัด และลดการกินโซเดียมลงเหลือแค่ตามปริมาณที่ร่างกายเราต้องการในแต่ละวัน ก็ดีมากแล้วนะ แต่ยิ่งดีไปอีกถ้าลดการกินโซเดียมเหลือวันละแค่ 700-800 มิลลิกรัมต่อวัน อันนี้เขามีวิจัยเลยว่าสามารถลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้ถึง 20% ลดอัตราการตายลง 5-7 % และเป็นข่าวดีสำหรับคนลดความอ้วนไม่สำเร็จสักทีด้วย เพราะลดกินเค็มได้แล้ว ปัญหาอุปสรรคในการลดความอ้วน หน้าบวม ตัวบวม ไม่กระชับก็จะหมดไปด้วยนั่นเอง!
Less Salt ... More Healthy!!
ถ้าใครยังไม่รู้จะเริ่มยังไงนะ เราได้ช่วยรวบรวมวิธีดี ๆ ในการลดการกินโซเดียมสูง ๆ มาให้ทุกคนแล้ว!
ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการนึงคือ ต้องจำกัดปริมาณโซเดียมที่กินเข้าไปในแต่ละวัน ไม่ให้เกิน 2,000 mg. หรือ 1 ช้อนชา ทำได้ดังนี้ รับรองสุขภาพโดยรวมดีขึ้นแน่ ๆ
ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
อย่างที่บอกไปตอนต้นค่ะว่า ปัญหาการติดเค็มเป็นปัญหาใหญ่ในบ้านเราเอามาก ๆ จึงมีหลายหน่วยงานด้วยกันที่ยื่นมือเข้ามาช่วยประชาชนอย่างเรา ๆ แถมให้ข้อมูลและคำปรึกษาดี ๆ เพียบ อย่างเช่น เว็บไซต์ www.lowsaltthai.com ใครสะดวกจะแอดไลน์ไปคุยก็ได้เลยนะที่ @lowsaltthailand หรือจะตามไปอ่านที่เว็บไซต์ของ สสส. https://www.thaihealth.or.th/ เขาก็มีข้อมูลและข่าวสารดี ๆ มาให้เพียบ ไปลองเช็กเอาต์กันได้
และสุดท้าย หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับทุกคนที่กำลังลดความอ้วน ลดน้ำหนักหรือกำลังดูแลสุขภาพกันอยู่นะคะ เราเป็นกำลังใจให้ และขอร่วมเป็นส่วนนึงที่อยากเห็นทุกคนสุขภาพดี ใครเริ่มลดเค็มหรือเลิกติดเค็มไปเลยได้สำเร็จยังไง อย่าลืมแวะมาคอมเมนต์บอกกันที่ด้านหน้าเพจ Wongnai Beauty ข้างใต้บทความด้วยนะคะ หรือถ้าใครมีไอเดียอะไรอยากแบ่งปันก็สามารถคอมเมนต์และแชร์เพื่อบอกต่อได้เลยค่า!
มาอ่านบทความดี ๆ กันต่อ