PM 2.5 คืออะไร ? ใครสูดแล้วได้รับอันตรายมากที่สุด ?!
  1. PM 2.5 คืออะไร ? ใครสูดแล้วได้รับอันตรายมากที่สุด ?!

PM 2.5 คืออะไร ? ใครสูดแล้วได้รับอันตรายมากที่สุด ?!

PM 2.5 น่ากลัวกว่าที่คิด ไม่ว่าวัยไหน เพศอะไร ก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน!!!
writerProfile
22 ม.ค. 2020 · โดย

ฝุ่นที่เพื่อน ๆ เห็นไม่ใช่แค่เข้าตาแล้วหายไป แต่หากไม่ดูแลป้องกันตัวเองจากฝุ่นเหล่านี้ สามารถทำให้เจ็บป่วยหรือนำโรคภัยมาสู่ตัวเพื่อน ๆ ได้ แต่ถ้าหากมีใครบอกว่าฝุ่นจะกระทบแค่กับเด็กเล็กและคนท้องเท่านั้น จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าเพศไหนวัยไหนก็กระทบกับฝุ่นด้วยกันทั้งนั้น บทความนี้จึงขอเป็นส่วนหนึ่งช่วยให้ตระหนักถึงอันตรายจาก PM 2.5 ด้วยความรักและความห่วงใย

ทำไม PM 2.5 ถึงน่ากลัว?

แหม ก็ไอ้ที่เห็นว่าเป็นเหมือนหมอกยามเช้า ตื่นมาเหมือนอยู่เมืองนอกนั้น ลองซูมดูใกล้ ๆ นี่รู้เรื่องเลยนะคะว่าเป็น PM 2.5 คือมลพิษที่เกิดจากการสะสมของฝุ่นจากการเผาไหม้ต่าง ๆ เช่น การเผาป่า การเผาขยะ การเผาไหม้เชื้อเพลิง และการก่อสร้าง ดังนั้นก่อนที่ปัญหาระดับชาติชิ้นนี้จะถูกแก้ไขอย่างจริงจังและมีคุณภาพนั้น พวกเราควรตระหนักและป้องกันตัวเองก่อนดีกว่า เพราะไม่รู้เมื่อไหร่อากาศบ้านเราจะกลับมาดีเหมือนเดิม  

ทำไม PM 2.5 ถึงน่ากลัว?

ผลกระทบกับเด็กเล็ก

ผลกระทบกับเด็กเล็ก
  • ทำให้เด็กแรกเกิดมีพัฒนาการช้า สมาธิสั้น : เกิดจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและได้รับสารเคมีที่ปนเปื้อนกับอากาศเข้าไปในร่างกาย 
  • ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ : จึงมีอาการแพ้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในเด็ก : เกิดขึ้นกับเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี พบเป็นโรคหอบหืด มากขึ้นทุกปี
  • ทำให้น้ำหนักเด็กแรกเกิดลดลง : เกิดมาจากได้รับสารอาหารและอากาศที่ดีจากครรภ์ไม่เพียงพอ

ผลกระทบกับคุณแม่ตั้งครรภ์

ผลกระทบกับคุณแม่ตั้งครรภ์
  • ทำให้เด็กในครรภ์มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ : ระบบประสาทและสมองของเด็กในครรภ์ มีการสร้างที่ช้าลง 
  • ด็กในครรภ์ได้รับอากาศและสารอาหารจากคุณแม่ไม่เต็มที่ : การปนเปื้อนของสารต่าง ๆ ในอาหารและอากาศ ที่มีผลต่ออวัยวะภายในร่างกายทั้งคุณแม่และเด็ก
  • เด็กในครรภ์มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด : การไม่ได้รับสารอาหารและอากาศที่จำเป็นต่อร่างกายในการเจริญเติบโตเท่าที่ควร
  • คุณแม่เกิดอาการซึมเศร้า : จากบทความทางวิชาการพบว่า อาการซึมเศร้า เกิดจากการวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นและสูดดมอากาศที่มีระดับออกซิเจนน้อย
  • ทารกในครรภ์เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด : จากสภาวะเครียดของคุณแม่ อีกทั้งการได้รับสารอาหารและอากาศที่ดีได้ไม่เต็มที่
  • ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการแท้ง : เนื่องจากการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์ของทารกในครรภ์

ศัตรูตัวฉกาจของผู้หญิง

ศัตรูตัวฉกาจของผู้หญิง
  • ซึมเข้าผิวได้ลึกถึงผิวชั้นใน : เนื่องจาก PM 2.5 มีอนุภาคที่เล็กมาก จึงสามารถซึมเข้าสู่ผิวและอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้
  • ผื่นภูมิแพ้และโรคผิวหนัง : เกิดอาการระคายเคือง  ผื่นคัน มีรอยแดงเกิดขึ้น
  • ผิวมัน เกิดสิวมากขึ้น : เพราะด้วยความที่มันอนุภาคเล็กมาก (เล็กกว่ารูขุมขนถึง 20 เท่า) ทำให้สามารถแทรกซึมเข้าไปได้ลึกถึงผิวชั้นในเลยทีเดียว ทำให้หลายคนเกิดอาการผื่นแพ้เป็นสิว
  • เกิดริ้วรอย หน้าแก่ก่อนวัยอันควร : เนื่องจากฝุ่นละอองที่เข้าสู่ร่างกายนั้นเป็นสารอนุมูลอิสระ จึงทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดริ้วรอยจากภายในร่างกาย
  • เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ : เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึมเข้าสู่ผิวได้ง่ายและทำความสะอาดยาก ทำให้เกิดการอักเสบของผิว ดังนั้นผิวบางบริเวณจึงมีสีเข้มขึ้น
  • เสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ : เนื่องจาก PM 2.5 ประกอบไปด้วยฝุ่นละอองที่เป็นโลหะขนาดเล็ก เมื่อเข้าไปสะสมในร่างกายปริมาณมาก ทำให้เป็นมะเร็งได้

ผู้ชายแมน ๆ ก็ไม่รอด!!

ผู้ชายแมน ๆ ก็ไม่รอด
  • ร่างกายอ่อนเพลีย ซึมเศร้า วิตกกังวลง่าย : เกิดจากรับออกซิเจนในร่างกายไม่เพียงพอ
  • เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอด : มีอาการ ไอ จาม ผิดปกติ
  • เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก : หากฝุ่นละอองสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น ปัสสาวะยาก จนถึง ปัสสาวะเป็นเลือดได้
  • กล้ามเนื้อลีบแบน แม้ออกกำลังกายเป็นประจำ : จากงานวิจัยประเทศไต้หวันพบว่า ผู้ชายไต้หวันที่อาศัยอยู่เขตเมืองที่มีค่า PM 2.5 ในอากาศสูง มีสภาวะมวลกล้ามเนื้อลดลง 
  • ระบบเผาผลาญแย่ลง : ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานแย่ลง

ควรป้องกันตัวเองยังไง?

ควรป้องกันตัวเองยังไง?

จากผลกระทบข้างต้น ทางเรามีคำแนะนำสำหรับเพื่อน ๆ เพื่อดูแลตัวเองจาก PM 2.5 กันด้วย!

  • งดกีฬากลางแจ้ง : การเล่นกีฬาจะทำให้เราหายใจถี่และเร็วยิ่งขึ้น จึงทำให้ร่างกายเราต้องสูดอากาศเข้าไปเยอะขึ้น ดังนั้น PM 2.5 เยอะขนาดนี้ ไม่ควรอย่างยิ่ง
  • ใส่หน้ากากกันฝุ่นออกนอกบ้าน :  ไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล อยากชวนเพื่อน ๆ ใส่หน้ากากอนามัยกัน ถึงจะเป็นแบบธรรมดาก็สามารถป้องกันได้ 60% แล้ว ดีกว่าไม่ใส่อะไรเลยนะจ๊ะ
  • ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ : เป็นสิ่งหนึ่งที่ควรค่าแก่การลงทุน แต่การติดตั้งควรศึกษาข้อมูลการติดตั้งที่ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องด้วยนะจ๊ะ
  • ทานวิตามิน ซี อี โอเมก้า 3 และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง :  PM 2.5 นั้นเต็มไปด้วยสารอนุมูลอิสระ ที่สามารถทำให้พวกเราเจ็บป่วย
  • ใช้สกินแคร์ที่เคลมเรื่อง Anti-Pollution : เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองซึมลงผิวของพวกเรา

แนวทางการแก้ปัญหา ที่ทั่วโลกทำแล้วเวิร์คมาก

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ทั่วโลกทำแล้วเวิร์คมาก

พัฒนาแอปพลิเคชันเช็กสภาพอากาศ มี SMS แจ้งเตือนระดับมลภาวะ : ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น สามารถตรวจเช็กสภาพอากาศ โดยมุ่งเน้นที่ภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยควบคุมไม่ให้ปล่อยควันเสียเกินมาตรฐาน

สร้างหอคอยฟอกอากาศยักษ์ : ประเทศจีน มีความกล้าหาญที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงปัญหาสภาพอากาศที่ต้องเจอมายาวนาน จึงได้ทุ่มงบประมาณ 7 ล้านล้านบาท เพื่อต่อสู้กับปัญหาหมอกควันให้ได้

ปิดโรงงานไฟฟ้าถ่านหินชั่วคราว ควบคุมการใช้รถยนต์เก่า ใช้โดรนตรวจจับฝุ่น : ประเทศเกาหลี และจีน โดยรถยนต์เก่าเครื่องยนต์ดีเซล ไม่ได้รับอนุญาตให้วิ่งบนท้องถนนในกรุงโซล และจังหวัดคยองคี อีกทั้งยังปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตรถยนต์ประเภทนี้ เพื่อต้องการให้เลิกใช้รถยนต์ประเภทนี้ถาวร และประเทศจีน ผลักดันการใช้รถยนต์ระบบไฟฟ้า โดยเพิ่มสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะให้ได้ 500,000 จุด ภายในปีนี้

ให้ประชาชนใช้รถสาธารณะมากขึ้น : ประเทศอังกฤษ เน้นไปที่ในเมือง เจ้าของรถยนต์จะต้องจ่ายเงินประมาณ 46,919 บาทต่อวัน เป็นค่าตอบแทนที่สร้างมลพิษให้กับเมือง บังคับใช้ในเวลา 07.00 - 18.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์

ให้ประชาชนใช้รถสาธารณะฟรี : ประเทศเยอรมนี เพื่อต้องการลดปริมาณมลพิษจากรถยนต์ส่วนตัว และสนับสนุนให้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างจริงจังอีกด้วย

ไม่ว่าพวกเราจะอายุเท่าไร เพศไหน พวกเราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบร่วมกัน ดังนั้นพวกเราต้องช่วยดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ อีกทั้งหากร่วมด้วยช่วยกันใช้การเดินทางแบบสาธารณะ  เพื่อลดการเกิดฝุ่นและควันในอากาศจากรถยนต์ส่วนตัว องค์กรต่าง ๆ เริ่มลงมือควบคุมปริมาณมลพิษที่ปล่อยสู่อากาศอย่างจริงจัง อาจจะทำให้ฝุ่นที่เราเห็นในวันนี้ ลดน้อยลงในวันข้างหน้าได้บ้าง!

อ่านบทความแนะนำอื่น ๆ