“ผัก” กับเคล็ดลับเพื่อสุขภาพดี เลือกให้ดีชีวิตเฮลตีปลอดภัย
  1. “ผัก” กับเคล็ดลับเพื่อสุขภาพดี เลือกให้ดีชีวิตเฮลตีปลอดภัย

“ผัก” กับเคล็ดลับเพื่อสุขภาพดี เลือกให้ดีชีวิตเฮลตีปลอดภัย

“ผัก” กับเคล็ดลับฉบับสุขภาพดี อยากเฮลตีต้องอ่าน! ตั้งแต่การเลือกกินผักอย่างไร มาจากแหล่งไหน จนถึงเทคนิคการล้างผักสะอาดปลอดภัย ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
writerProfile
18 ก.ค. 2019 · โดย

 “ผัก” วัตถุดิบมากคุณค่าอุดมประโยชน์ทางโภชนาการ จะนำมาทำเป็นเมนูอะไรก็ถูกปากไปหมด วันนี้ Wongnai ขอพาทุกคนทำความรู้จัก “ผัก” ให้มากกว่าที่เราเคย ตั้งแต่การเลือกกินผักอย่างไร แหล่งที่มาความสดใหม่ ไปจนถึงเทคนิคการล้างผักสะอาดปลอดภัยชัวร์ และวิธีการปลูกผักกินเองตามไลฟ์สไตล์คนเมือง

1ผักตามฤดูกาล

“ผัก” กับเคล็ดลับฉบับสุขภาพดี

การเลือกกินผักให้เหมาะสมกับฤดูกาลนั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารครบถ้วน เนื่องจากผักตามฤดูกาลจะมีความแข็งแรง และทนทานต่อโรคมากกว่าผักนอกฤดูกาล ที่ผู้ปลูกมักจะใส่ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ได้ผลผลิตตามความต้องการ 

2ผักพื้นบ้าน

“ผัก” กับเคล็ดลับฉบับสุขภาพดี

ผักประจำท้องถิ่นไทย มีอยู่มากมายหลายชนิด มีชื่อเรียกและลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาค ผักพื้นบ้านมักเป็นผักที่แข็งแรงและทนนทานต่อโรคต่าง ๆ จึงไม่ต้องใช้สารเคมีในการปลูก แถมยังหากินได้ง่าย นำมาปรุงอาหารไม่ว่าจะ ต้ม ผัด แกง หรือทอด ก็ล้วนถูกปากไปหมด เช่น กระถิน กระเจี๊ยบ ขี้เหล็ก แค ตำลึง และผักหวานบ้าน

3วิธีการเลือก และล้างผัก

3.1วิธีการเลือกผัก ดูอย่างไรว่าผักสด ปลอดจากสาร และรสชาติดี

“ผัก” กับเคล็ดลับฉบับสุขภาพดี
  • สีสด ไม่มีรอยดำ และช้ำ
  • ขั้ว หรือก้านต้องแข็งแรง
  • สะอาด ไม่มีคราบดิน และคราบของรา

3.2หลักเบื้องต้นในการล้างผักชนิดต่าง ๆ

“ผัก” กับเคล็ดลับฉบับสุขภาพดี
  • ผักหัว ปอกเปลือกและตัดส่วนที่ไม่กินออก เช่น แครอท, หัวไชเท้า และมันฝรั่ง  
  • ผักราก ถ้ามีดินติดรากให้เคาะออกก่อน และนำไปล้าง  เช่น ผักบุ้ง, ผักกาดหอม, ผักชี
  • ผักใบ แกะกลีบ และคลี่ใบแยกออกทีละใบ เพื่อล้างผ่านน้ำไหล เช่น กะหล่ำปลี, ผักกาด

    3.3วิธีล้างผัก

“ผัก” กับเคล็ดลับฉบับสุขภาพดี
  • ล้างผ่านน้ำ - เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยพอสมควร เปิดน้ำสะอาดให้ไหลผ่านผัก พร้อมใช้มือถูที่ใบ หรือส่วนที่เปื้อนคราบดิน

ข้อดี : วิธีนี้จะช่วยขจัดสารพิษออกจากผักได้ถึงร้อยละ 25 - 63

ข้อเสีย : ใช้เวลานาน และปริมาณน้ำเป็นจำนวนมาก

  • ด่างทับทิม - สัดส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำเปล่า 4 ลิตร

ข้อดี : เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก และขจัดสารปนเปื้อนได้ร้อยละ 35 - 43

ข้อเสีย : ถ้าใช้ปริมาณมาก จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ถ้าสูดดมเข้าไปก็จะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจเช่นกัน

  • เกลือ - สัดส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำเปล่า 4 ลิตร

ข้อดี : วิธีนี้จะช่วยให้สารพิษลดลงได้ร้อยละ 27 - 38 แต่ต้องล้างผักด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ครั้ง

ข้อเสีย : ผักอาจจะมีรสชาติเกลือติดมาด้วย ซึ่งไม่เหมาะกับคนที่กำลังลดโซเดียม และเป็นโรคไต

  • น้ำส้มสายชู - สัดส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำเปล่า 1 ลิตร

ข้อดี : วิธีนี้จะช่วยให้สารพิษลดลงได้ร้อยละ 60 - 84

ข้อเสีย : ผักอาจมีรสชาติของน้ำส้มสายชูติดมาด้วย ไม่สามารถใช้ภาชนะพลาสติก และอลูมิเนียมได้ เพราะเป็นกรด ซึ่งจะทำให้สารในภาชนะปนเปื้อนออกมา

  • เบกกิ้ง โซดา - หรือโซเดียมคาร์บอเนต สัดส่วน ½ ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำเปล่า 10 ลิตร

ข้อดี : วิธีนี้จะช่วยให้สารพิษลดลงได้ร้อยละ 90 - 95

ข้อเสีย : ผักอาจจะดูดซึมเบกกิ้งโซดา ถ้าล้างไม่สะอาดจะทำให้ท้องเสีย

หมายเหตุ: สำหรับสารล้างผักบางชนิด เช่น "น้ำส้มสายชู" หรือ "เบกกิ้งโซดา" เมื่อใช้ล้างผักแล้วต้องนำผักเหล่านั้นมาล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ

4วิธีการเลือกซื้อผักจากแหล่งไหนปลอดภัยชัวร์!

“ผัก” กับเคล็ดลับฉบับสุขภาพดี
  • ผักที่ได้รับการรับรองจากองค์กรการเกษตร ทั้งฉลากการรับรองมาตรฐาน GAP ฉลากออร์แกนิก ฯลฯ เพื่อรู้แหล่งที่มา หรือแหล่งผลิต และยังมั่นใจว่าผักที่จะบริโภคนั้นปลอดภัย
  • CSA หรือ Community Supported Agriculture คือการที่ผู้บริโภคซื้อผักล่วงหน้า โดยต้องจ่ายให้ผู้ผลิตตามพันธสัญญาที่ตกลงกัน ซึ่งเราจะได้บริโภคผักที่มีคุณภาพ และไม่ปนกับผักที่มีทั่วไปตามตลาด
  • ตลาดนัดสีเขียว เป็นตลาดที่ได้การรับรองจากองค์การเกษตร เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรที่ต้องการนำผักมาขาย ต้องปลูกผักโดยปราศจากสารเคมี และดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วย

5ปลูกผักกินเอง

“ผัก” กับเคล็ดลับฉบับสุขภาพดี

เป็นวิธีการสุดท้ายที่เราจะได้อิ่มเอมกับผักปลอดสารพิษแบบสบายใจหายห่วง ซึ่งวิธีปลูกผักนั้นจริง ๆ แล้วมีอยู่มากมาย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนที่แตกต่างกันออกไป ใครมีพื้นที่รอบบ้านกว้างขวางก็อาจจะแบ่งส่วนไว้สำหรับปลูกพืชผักสวนครัวโดยเฉพาะ เตรียมแปลง พรวนดิน รดน้ำ กันแบบจริงจัง นอกจากจะได้ผักปลอดสารกินกันทั้งครอบครัว แบ่งไปให้เพื่อนบ้านข้าง ๆ แล้วยังเอาไปขายได้อีกด้วยนะ สำหรับผู้มีพื้นที่จำกัดแต่อยากปลูกผักเองก็มีวิธีการปลูกผักแบบประหยัดพื้นที่ เช่น การปลูกผักลอยฟ้า และปลูกผักในกระถาง

รู้วิธีการเลือกกินผักให้ปลอดภัยแล้ว มื้อต่อไปอย่าลืมเลือกผักมาลงจาน มาปรุงอาหารให้ทุกคนในครอบครัวได้รับประทาน ในสัดส่วน 2 : 1 : 1 กินผักให้ได้ครึ่งหนึ่งของจาน เลือกกินผักให้หลากหลายเข้าไว้ เปิดใจพบกับคุณค่ามหาศาล ด้วยความปรารถนาดีจาก สสส. ส่งเสริมให้คนหันมาบริโภคผักพื้นบ้าน เพื่อสุขภาพที่ดีต่อร่างกาย