หากไม่ชอบหน้ากัน ก็คงไม่กินข้าวร้านเดียวกัน หรือหนักหน่อยคงไม่กินของที่อริชอบกิน แต่บางครั้งความอร่อยก็ชนะเสียอย่างนั้น บทความนี้เราอยากชวนทุกคนย้อนกลับไปสู่ช่วงสงครามเย็นที่มายองเนสได้กลายเป็นสัญญะของทั้งสองค่ายความคิด ระหว่างคอมมิวนิสและโลกเสรี
.
1.ขัดแย้งตั้งแต่ที่มา
ที่มาของมายองเนสนั้นไม่ชัดเจน แถมมีหลายสมมติฐานอีกด้วย
.
เมื่อฝรั่งเศสบุกยึดเมือง Mahón ในแผ่นดินสเปน จากอังกฤษในปี 1756 เล่ากันว่าเชฟของดยุคแห่งริชิเลอพบสูตรซอสท้องถิ่นที่ผสมน้ำมันมะกอก ไข่ และน้ำส้มสายชู จนกลายเป็นต้นกำเนิดชื่อ "Mahonnaise" ตามชื่อเมือง ก่อนจะเพี้ยนเป็น "Mayonnaise" ในภาษาฝรั่งเศส
.
แต่บางเรื่องเล่าว่า "Mayonnaise" อาจมาจาก "moyeu" (ไข่แดง) ในภาษาฝรั่งเศสได้เช่นกัน
.
สรุปได้ว่าเจ้าขวัญใจนักดิปนี้มาจากยุโรป เพราะว่าทำมาจาก น้ำมันมะกอก ไข่ และน้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่แพร่หลายในยุโรป ส่วนสูตรดั้งเดิมอาจพัฒนามาจากซอสที่มีอยู่แล้ว และถูกดัดแปลงให้เป็นที่นิยมในวงกว้างของฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 19 ก่อนจะแพร่หลายไปทั่วโลกโดยเฉพาะอเมริกา
.
2.บุกเมืองลุงแซม
เปลี่ยนผ่านจากศตวรรษที่ 19 สู่ศตวรรษที่ 20 ความปราณีตในครัวเรือนถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรและการผลิตจำนวนมาก
.
มายองเนสเริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาโดยติดสอยมากับผู้อพยพชาวยุโรป เกิดการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม โดยแบรนด์คุ้นเคยอย่าง Hellmann’s ที่ตั้งต้นจากผู้อพยพชาวเยอรมันที่เริ่มยึดครองตลาดมายองเนสในอเมริกาโดยมี Best Foods มาเป็นคู่แข่ง
.
แทรกซึมทุกเมนูเด็กอ้วนเมกัน
พอรู้ตัวอีกที อินทรีตัวนี้ก็อ้วนฉุ เพราะมายองเนสได้เข้าไปอยู่ในส่วนผสมของเมนูอาหารชาวอเมริกันอย่างแยกไม่ออก ไม่ว่าจะแซนวิช เบอร์เกอร์ หรือแม้แต่ Deviled Eggs ที่สำคัญคือมันเพิ่มรสชาติให้ของทอดได้อย่างดี ซึ่งส่งเสริมความง่ายในชีวิต ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่โลกเสรีต้องการแสดงออก
.
3.ค่ายแดงติดใจ
ปัจจุบันคนแดนหมีขาวยังบริโภคมายองเนวสูงสุดของโลกที่ 5 - 7 กิโลกรัมต่อปี แล้วเจ้าครีมขาว ๆ นี่มันไปแพร่เข้าสู่ตำราอาหารรัสเซียได้อย่างไร ? ที่จริงชนชั้นสูงของรัสเซียรู้จักมายองเนสอยู่บ้างแล้วเนื่องจากเป็นอาหารที่มาจากฝรั่งเศส แต่จุดเปลี่ยนจริง ๆ เกิดขึ้นในสมัยของ
.
แต่ความนิยมนั้นมีจุดเริ่มต้นที่น่าสนกว่านั้น เมื่ออนาสทาส มีโคยานิน (Anastas Mikoyan) รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมอาหารของโซเวียต เดินทางไปศึกษาระบบอุตสาหกรรมอาหารของสหรัฐฯ ในปี 1936 ซึ่งช่วงนั้นความตึงเครียดยังไม่ระอุเท่าช่วงสงครามเย็น
.
มีโคยานิน ได้เขียนในรายงานว่า "ผมไม่ได้ไปที่นั่นเพื่อพิสูจน์ว่าระบบทุนนิยมนั้นเลวร้าย ผมเชื่อมั่นในเรื่องนี้มานานแล้วและไม่ได้ต้องการหาหลักฐานใหม่ๆ มายืนยัน สิ่งที่ผมต้องการคือค้นหาสิ่งดีๆ แม้จะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม เพื่อที่จะนำสิ่งดีเหล่านั้นมาปรับใช้สำหรับพวกเรา" ซึ่งทำให้เขาพบกับความจริงที่ว่าเรการผลิตแบบเป็นอุตสาหกรรมของโซเวียดนั้นสู้อเมริกาไม่ได้เลย
.
แถมมีโคยานินก็ได้รู้จักการผลิตมายองเนสจากการเดินทางครั้งนี้ เพราะคณะตัวแทนได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตอาหารจำนวนมาก รวมถึงโรงงานผลิตมายองเนส เช่น Hellmann’s และ Best Foods และมันช่างเหมาะเจาะกับด้วยความที่เป็นอาหารพลังงานสูง แถมผลิตง่าย จึงถูกตาต้องใจเหล่าสหายถึงขั้นที่ว่าขอนำไอเดียกลับมาต่อยอดทำโรงงานที่โซเวียต
.
ขาวข้นแต่กรีดมาเป็นสีแดง
มายองเนสโซเวียต (Provansal) คือชื่อที่ถูกตั้งให้กับมายองเนสแบบโซเวียตที่ได้รับแรงบัลดาลใจจากอเมริกา มีไขมันสูงถึง 67% สูงกว่าของ Hellmann’s ใช้น้ำมันดอกทานตะวันแทนน้ำมันมะกอก รสเปรี้ยวที่ชัดเจนกว่า และพัฒนาให้สามารถผลิตจำนวนมากและเก็บได้นาน ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติรสชาติครั้งใหญ่ในโซเวียต เพราะต้องการให้มีรสชาติที่เข้ากับอาหารดั้งเดิม เช่น มันฝรั่ง ปลา และเนื้อ
.
มายองเนส = อาหารรัสเซีย
หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้มายองเนสถูกใช้ในแทบทุกเมนูคือ ตำราอาหารของรัฐโซเวียต(The Book of Tasty and Healthy Food) ที่มีอิทธิพลต่อการกินของคนโซเวียตมาจนถึงรัสเซียในปัจจุบันด้วยการยิงกระสุนนุ่มนิ่มผ่านการโปรโมตโดยรัฐบาล จากข้อมูลอาหารประจำชาติให้แก่ประชาชน นั่นเองทำให้เกิดแนวคิดและกลายเป็นความยึดติดว่า มายองเนส = อาหารรัสเซีย
.
หลังจากนั้นเองชาวโซเวียตก็ผนวกมายองเนสข้าไปกับอาหารเกือบทุกเมนู จนกลายเป็นที่มาของความหมกมุ่นในมายองเนส
.
4.อุดมการณ์มายองเนส
เมื่อครีมขาวข้นกลายเป็นกระจกสะท้อนสองโลก
น่าแปลกที่ซอสขาวข้นๆ กระปุกเดียวกัน กลับสะท้อนภาพของสองโลกที่แตกต่างกันราวฟ้ากับเหว
ในฝั่งอเมริกา มายองเนสไม่ได้เป็นแค่เครื่องปรุงรส แต่มันคือสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมอาหาร เป็นตัวแทนของเสรีภาพในการเลือก เมื่อบริษัทต่างๆ แข่งขันกันคิดค้นสูตรใหม่ ผู้บริโภคก็มีอิสระที่จะเลือกซื้อหรือไม่ซื้อ จะชอบรสจัดหรือรสอ่อน จะเอาไขมันต่ำหรือไขมันสูง - นี่แหละคือหัวใจของระบบทุนนิยม ที่ความหลากหลายคือทางเลือก
.
แต่พอข้ามฟากไปฝั่งโซเวียต มายองเนสกลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเท่าเทียม ด้วยสูตรมาตรฐานเดียวที่รัฐรับรอง นั่นคือ "โพรวองซาล" ที่มีไขมันสูงถึง 67% ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร จะอยู่มอสโกหรือไซบีเรีย คุณก็จะได้กินมายองเนสรสชาติเดียวกัน จากโรงงานเดียวกัน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน - นี่คือภาพสะท้อนอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ที่ว่า "ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน" แม้กระทั่งในเรื่องรสชาติของมายองเนส
น่าขันที่แม้แต่ซอสสีขาวธรรมดาๆ ก็ยังถูกดึงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสงครามอุดมการณ์ ฝั่งหนึ่งใช้มันเป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพในการเลือก อีกฝั่งใช้มันเป็นตัวแทนของความเท่าเทียม แต่ท้ายที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็ใช้มันตอกย้ำความเชื่อของตัวเองผ่านกระปุกมายองเนสใบเดียวกัน
.
บางทีนี่อาจเป็นบทเรียนเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในซอสสีขาวข้น - ว่าแม้เราจะมีความเชื่อ อุดมการณ์ หรือวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน แต่เราก็ยังมีจุดร่วมที่เชื่อมโยงกันได้ เหมือนที่ทั้งโลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ต่างก็พบความสุขในรสชาติของมายองเนส แม้จะด้วยเหตุผลที่ต่างกันก็ตาม
.
#Wongnai #WongnaiVibes #WongnaiStory #mayonnaise #Coldwar #Russia #USA #สงครามเย็น #อเมริการัสเซีย
.
Reference
"The Book of Tasty and Healthy Food" (Книга о вкусной и здоровой пище), Soviet Union, 1939.
https://www.themoscowtimes.com/2014/11/28/understanding-russias-obsession-with-mayonnaise-a41821
https://www.theguardian.com/world/2014/nov/21/-sp-understanding-russias-obsession-with-mayonnaise
https://www.nytimes.com/1990/07/04/garden/it-s-summertime-so-pass-the-mayo.html
https://www.nytimes.com/2015/04/15/dining/theres-no-mayonnaise-like-my-mayonnaise.html