ถ้าพูดถึงเครื่องปรุงที่อยู่คู่ครัวไทยมานานจนไม่สามารถขาดได้ เห็นทีต้องยกตำแหน่งให้ “น้ำปลา” เพราะในวันที่กระเป๋ากรอบสิ้นเดือน น้ำปลาก็ยังคงกินกับข้าวสวยเปล่า ๆ ประทังชีวิตได้ และด้วยรสชาติที่ไม่มีดีแค่เค็ม แต่ยังมีความหอม หวานละมุน กลมกล่อมแทรก ทำให้น้ำปลาได้ปรากฎในโคลงกลอนต่าง ๆ ที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินได้ผ่านตาช่วงสมัยเรียน “รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำเย้ายวนใจ” วันนี้น้องหลุมดำจะพาทุกคนย้อนความหลังไปดูที่มาของน้ำปลาและสัมผัส “น้ำปลาแท้เกรดพรีเมียม” กันค่ะ
จากเกลือสู่น้ำปลา
กว่าจะเป็นน้ำปลาที่เราใช้ในครัวเรือน ก่อนหน้านั้นคนไทยใช้เกลือ เคย กะปิ ในการประกอบอาหารที่ต้องการใช้ความเค็ม จากนั้นเริ่มหันมาใช้น้ำปลากันช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยมีความเชื่อว่ามาจากชาวเวียดนามหรือชาวจีนที่อพยพเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งผลิตจะอยู่บริเวณที่ติดทะเล ซึ่งชาวบ้านในยุคนั้นได้มีอาชีพทำกะปิ และน้ำปลาคือผลพลอยได้จากการทำกะปินั่นเอง


น้ำปลาอยู่คู่ครัวนานนับศตวรรษ
เมื่อมองย้อนไปในอดีตเราจะพบกาพย์กลอนหลายบทที่ได้กล่าวถึงน้ำปลาไว้ไม่น้อย โดยเฉพาะกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)
“ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำเย้ายวนใจ”
ซึ่งในกาพย์นี้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมากว่าแท้จริงน้ำปลาญี่ปุ่นคือโชยุที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันหรือน้ำปลาจริง ๆ แต่นั่นก็ทำให้เห็นว่าน้ำปลาในยุคนั้นได้แพร่หลายทุกครัวเรือน แม้แต่ในวังเองก็นำไปประกอบอาหาร นอกจากกาพย์ข้างต้นนี้แล้วยังมีอีกหลายโคลงที่แสดงให้เห็นว่าน้ำปลาเป็นเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้ และกลายเป็นรสชาติพื้นฐานที่ชาวไทยยอมรับ


แท้จริงน้ำปลาเริ่มต้นจากทางยุโรป?
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่ได้เขียนไว้ว่า ก่อนที่จีนหรือเวียดนามจะเข้ามาเผยแพร่ในไทย แท้จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นเองก็ได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งยุโรป โดยหลักฐานได้เขียนไว้ว่าชาวกรีกโบราณได้รู้จักการทำน้ำปลาแล้ว และต่อมาชาวโรมันได้ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารสำหรับชนชั้นสูง แถมยังมีการค้านพบซากของโรงงานผลิตน้ำปลาในยุคโรมันบริเวณแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย ซึ่งกระบวณการแปรรูปของฝั่งยุโรปจะต่างกับทางเอเชีย เพราะนิยมใช้ปลาที่ยังไม่ย่อยสลายมากมาทำอาหารที่ให้ความเค็ม เช่น ปลาแอนโชวี่ ในขณะที่ฝั่งเราจะแปรรูปมาเป็นน้ำปลาค่ะ


น้ำปลาแท้เกรดพรีเมียม
หากเราต้องการทำอาหารที่ใช้ความเค็มเราควรเลือกใช้น้ำปลาแท้คุณภาพเพื่อให้อาหารได้รสชาติที่ดีที่สุดและมีประโยชน์ต่อร่างกาย “น้ำปลาแท้ตราปลาหมึกโกลด์” น้ำปลาแท้เกรดพรีเมียมที่มีปริมาณการผลิตที่ค่อนข้างจำกัด ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนก็คือ น้ำปลา 100 บ่อ จะมีเพียง 1 บ่อเท่านั้น ที่สามารถนำมาทำหัวน้ำปลาในปลาหมึกโกลด์ นอกจากนี้ยังพิถีพิถันคัดสรรปลาแอนโชวี่แท้คัดเกรด อุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงทำให้มีโปรตีนสูงกว่าน้ำปลาทั่วไปถึง 40% จึงให้รสชาติที่อูมามิ หอม กลมกล่อม ได้ความหวานแบบธรรมชาติ ไม่เติมน้ำตาล ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่สี หรือสารแต่งเติมใด ๆ ที่สำคัญทุกกระบวนการผลิตจะไม่มีการใช้อาหารที่ก่อภูมิแพ้ เช่น นม สัตว์น้ำมีเปลือก โดยเด็ดขาด ทำให้คนที่ได้ลองชิมหมดห่วงเรื่องสารก่อภูมิแพ้ไปได้เลย


ข้อดีของน้ำปลาแท้ปลาหมึกโกลด์
หากต้องการทำอาหารให้ได้รสชาติอูมามิ ต้องใช้หัวน้ำปลาถึงจะได้รสชาติที่ละมุนถูกปาก ทำให้ปลาหมึกโกลด์ เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่แม่ครัวยกนิ้วให้ มีสีกลิ่นรสที่ดี ช่วยชูรสชาติอาหารให้หอมกลมกล่อม นอกจากนี้ก็ยังเหมาะกับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ เช่นผู้ที่ทานคีโต ก็สามารถนำไปปรุงได้ เพราะไม่มีการเติมน้ำตาล สารกลูเตน สารโพแทสเซียม และไม่ใส่วัตถุกันเสีย เรียกได้ว่ามีดีทั้งขวด เหมาะสำหรับทุกคน



กว่าจะมาเป็นน้ำปลาหนึ่งขวดให้เราได้รับประทานคู่อาหารหรือนำไปประกอบอาหารที่มาที่ไปนั้นน่าสนใจมาก และเป็นถึงแรร์ไอเทมในอดีตที่ถูกนำไปประกอบอาหารให้สำหรับชนชั้นสูงในฝั่งยุโรป ส่วนในไทยเองก็ถูกนำไปใช้แพร่หลายจนมีกาพย์กลอนมากมายที่เขียนถึงรสชาติของน้ำปลาไว้ ทำให้เรากลืนน้ำลายเพียงแค่ได้อ่าน และถ้าใครที่อดทนไม่ไหวอยากเข้าครัวลงมือทำอาหารแล้ว น้ำปลาแท้ตราปลาหมึกโกลด์ เป็นหัวน้ำปลาแท้เกรดพรีเมียม คัดสรรทุกหยดน้ำปลาแท้ ผลิตจากปลาแอนโชวี่แท้ 100% สินค้าเกรดพรีเมียม คุณภาพมาตรฐานส่งออก คุณสมบัติดีขนาดนี้ทุกครัวเรือนควรมีติดบ้านเลยค่ะ หากใครที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Shopee และ Lazada

Reference :
- สุริวัสสา กล่อมเดช. ‘น้ำปลาญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ’ ญี่ปุ่นมีน้ำปลาด้วยเหรอ?. Krua.co (2019, March 22). Retrieved March 29, 2022, from https://krua.co/food_story/น้ำปลาญี่ปุ่นล้ำย้ำยว
- "น้ำปลา" เรื่องเล่ารสเค็มจากวันวาน. Voiceonline (2018, October 24). Retrieved March 29, 2022, from https://voicetv.co.th/read/rymiBo6im
- เรื่องของน้ำปลา บทที่ 1. sindhusamut (2016, December 9). Retrieved March 29, 2022, from https://www.sindhusamut.com/th/articles/5565-เรื่องของน้ำปลา-บทที่-1