4.5
51 เรตติ้ง (28 รีวิว)
เปิดอยู่จนถึง 21:30
Mihara Tofuten Bangkok
ผักญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่ใส่ในชาบูชาบู เชฟถือมาให้ดู
[สาทร-นราธิวาส] โอมากาเสะเต้าหู้แห่งแรกในโลก โดยร้านที่โชกโชนเรื่องเต้าหู้กว่า 60 ปีจาก Fukuoka~Tofu Lunch Course 1750++#BRW2019 Q4 #MichelinGuideTH2019 The Plate • ร้านอาหารคุณภาพดีที่ใช้วัตถุดิบสดใหม่และปรุงอย่างพิถีพิถัน #Omakase [เกี่ยวกับร้านที่ไทย:] ร้านนี้โปรไฟล์ไม่ธรรมดาครับ เพราะเกิดจากหุ้นส่วนที่อยู่ในวงการอาหารในบ้านเราและล้วนแต่ที่เป็นรู้จัก เรียกว่าเป็นร้านรวมหุ้นส่วน Food Celebrities คือ เชฟ Gaggan (จากร้าน Gaggan ร้านอาหารอินเดียแนว Progressive ที่ได้รางวัล no.1 Asia’s 50 Best Restaurant 4 ปีซ้อน และได้มิชลินสตาร์ 2 ดาวในปีแรกที่เปิดตัวในไทย) กับ คุณบิ๊กเจ้าของร้านคั่วกลิ้งผักสด และ คุณแทน เจ้าของฉายาบนโซเซียล ITAN นักชิมลิ้นทอง ที่ปรากฏตัวในรายการแข่งขันทำอาหารอยู่บ่อยๆ จุดเริ่มต้นเกิดจากเชฟ Gaggan กับเพื่อนสนิท Takeshi Fukushima เชฟเจ้าของร้านอาหารฝรั่งเศสในฟูกุโอกะ ชวนกันไปกินที่ร้านขายเต้าหู้ย่านตัวเมืองชื่อ Mihara Tofuten ซึ่งเพิ่งเปิดในฟูกุโอกะเพียงไม่กี่เดือน แล้วเชฟ Gaggan ติดใจเมนูเต้าหู้ร้านนี้มากๆ จึงชวนเจ้าของร้านนี้รุ่นปัจจุบันคือ Hiroki Mihara (อดีตนักฟุตบอลอาชีพ J1 League) มาร่วมกันเปิดร้านสาขาใหม่ที่ในกรุงเทพ เกิดเป็นร้านนี้ขึ้นมา Mihara Tofuten Bangkok และเปลี่ยนสไตล์การเสิร์ฟเมนู Tofu เป็นแบบ Omakase สไตล์ Fine Dining เป็นที่แรกของโลกครับ [เกี่ยวกับ Mihara Tofuten ที่ญี่ปุ่น:] • ย้อนกลับไปปี ค.ศ.1961 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัว Mihara เริ่มเปิดโรงงานทำเต้าหู้แบบในครัวเรือน (กำลังผลิต 10 บล็อกต่อวัน) ที่เมืองเล็กๆในชนบทชื่อ Kashima ในจังหวัด Saga • หลายสิบปีต่อมา ค.ศ.2005 เริ่มเปิดเป็นร้านอาหารขายเต้าหู้ของตัวเองใกล้ๆกับโรงงานผลิตในเมือง Kashima • ค.ศ.2015 ขยายเปิดร้าน Tofuten สาขาที่ 2 มาในตัวเมือง Fukuoka ย่าน Tenjin เลยห้างไดมารูออกมาหน่อย หลังจากเปิดร้านที่นี่ไม่กี่เดือน เชฟ Gaggan กับเพื่อนเชฟมากินที่ร้านแล้วติดใจมาก เลยเสนอกับทางเจ้าของร้าน Mihara Tofuten ให้เห็นโอกาสเปิดโลกนำเสนอเมนูเต้าหู้ของร้านที่มีความพิเศษ ออกนอกญี่ปุ่นดูบ้าง และช่วยกันเปิดร้านแบรนด์ Mihara Tofuten ที่กรุงเทพเป็นแห่งแรกนอกญี่ปุ่น โดยนำ Resource ที่มีทั้งหมดมาเปิดในกรุงเทพแทนที่ร้านดั้งเดิมที่ Kashima ซึ่งตอนนี้ได้ปิดตัวลง [พิกัดร้าน-การเดินทาง-บรรยากาศร้าน:] ร้านอยู่ในซอยอีกที ไม่ใช่ริมถนนใหญ่ เข้ามาได้ 2 ทาง คือ ฝั่งถนนสาทรใต้ เข้ามาทางซอยสาทร 7 หรือ ฝั่งถนนนราธิวาส เข้ามาทางซอยนราธิวาส 5 (ปากซอยที่มีฮ่องกงพลาซ่า) หน้าร้านเป็นซอยแคบๆรถพอสวนกันได้แค่นั้น จอดไม่ได้ ทางร้านบอกให้สามารถจอดรถได้ที่ตึก Asia Tower ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของร้าน จุดสังเกตเด่นคือ ตึกสูงๆที่เป็นสีเขียวครับ (ซอยนี้เป็นแหล่งออฟฟิตมีตึกติดกัน 3 ตึก มีตึกเดียวที่สีเขียวเด่น) จอดฟรี 3 ชั่วโมง เมื่อมาใช้บริการที่ร้าน บรรยากาศร้านตอนแรกผมไม่นึกว่าร้านจะเล็กมากเป็นแค่ตึกแถวที่อยู่ติดๆกันเอามา Renovate ไปถึงหน้าร้านจะเห็นเป็นกำแพงปูนเปือยสูงกั้นมองไม่เห็นตัวร้านด้านในเลย มีชื่อร้านติดอยู่ เดินผ่านประตูแคบๆเข้าไป โผล่เข้ามาเหมือนหลุดเข้ามาโลกอื่นเลย ด้านหน้าทางเข้าจัดแบบร่มรื่นมากสไตล์สวนญี่ปุ่นโบราณ มี hardscape ต่างๆที่แสดงความเป็นญี่ปุ่น อย่างโคมไฟหินญี่ปุ่น อ่างน้ำที่มีกระบวยไม้ไผ่วางพาดไว้ที่ขอบอ่าง มีทางเดินรอบสวนเป็นสี่เหลี่ยมมองได้รอบด้าน และที่ผมชอบคือเค้ามีการจัดแสงดี มีเปิดช่องด้านบนให้แสงอาทิตย์ส่องลงมาเป็นทางลงตรงกลางสวน (พอดีไปช่วงกลางวันแสงกำลังดีเลยถ่ายรูปสวย) ถ้าไปช่วงเย็นกลางคืนจะเปิดไฟในสวนสวยไปอีกแบบครับ บรรยากาศด้านในตัวร้าน เท่าที่เห็นมีที่นั่งทานได้ 2 ชั้น ชั้นล่างเดินเข้าไปจะเป็นที่นั่งบาร์ยาวล้อมรอบครัวเปิดสำหรับ Omakase Course โดยเฉพาะ ส่วนชั้นบนจะเป็นที่นั่งเป็นโต๊ะแยกไม่กี่ตัวสำหรับนั่งทาน Private หน่อย บรรยากาศรวมๆออกแนวร่วมสมัยหน่อยไม่ใช่แบบญี่ปุ่นโบราณ # ลักษณะที่ตั้งตัวร้านและการตกแต่งร้านต่างๆคงได้ไอเดียมาจากร้านที่ย่าน Tenjin ใน Fukuoka เลย เข้าใจว่าทางเจ้าของแบรนด์ที่ญี่ปุ่นต้องการให้ออกแบบไปทางเดียวกัน ผมเข้าไปส่องดูแล้วคล้ายๆกันเลย อยู่ในซอยแคบๆหน่อย ภายนอกเหมือนตึกแถวย่านในเมืองเอามาแต่งเป็นร้านอาหาร ร้านแบบนี้ที่ญี่ปุ่นมีเยอะครับคือเป็นเจ้าดังแต่อยู่ในหลืบที่ไม่น่าจะมีร้านอาหารอยู่ ### Tofu Omakase Course ### แบ่งเป็น 2 ช่วง Lunch Omakase Course กับ Dinner Omakase Course เมนูและราคาจะแตกต่างกัน ช่วงมื้อกลางวันถ้าจำไม่ผิด L.O. 13:30 ส่วนมื้อเย็นร้านปิด 22:00 • Lunch 5-Course 1,750++ Baht/pax **Add-on เมนู Signature Somen 250++ Baht • Dinner 16-Course 4,900++ Baht/pax • ทุก Course ไม่รวมเครื่องดื่มใดๆทั้งสิ้น (ราคาเครื่องดื่มทุกอย่างในเมนู ยังไม่รวม SC & VAT) ** ปกติเมนูใน Omakase Course จะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ 3 เดือนครับ ดังนั้นถ้าไปช่วงอื่นหน้าตาเมนูที่เสิร์ฟอาจจะไม่เหมือนในรีวิวนี้ครับ ######################### << ประสบการณ์ Tofu Lunch Course>> • ตอนไปผมโทรจองก่อนล่วงหน้าประมาณ 2 วัน เป็นช่วงมื้อกลางวันวันธรรมดาเลย ได้นั่งที่บาร์ชั้นล่างเลย สำหรับ Omakase Course โดยเฉพาะ • ก่อนจะมาที่ร้านผมได้ลองอ่านบทความจากหลายๆแหล่งและรู้ว่า ร้านเค้าจะใช้วัตถุดิบที่ใช้ทำเต้าหู้ทั้งหมดตลอดจนเครื่องปรุงไปจนถึงน้ำที่ใช้ทำเต้าหู้และซุปดาชิต่างๆทั้งหมดแบบนำเข้าจากญี่ปุ่น 100% ด้วยเหตุผลที่ว่าเชฟเจ้าของร้านได้ลองน้ำที่ไทยปรุงทำเต้าหู้แล้วรสชาติไม่ได้ถึงที่พอใจไม่เหมือนต้นตำรับ ดังนั้นจึงมีนโยบายใช้วัตถุดิบนำเข้าจากญี่ปุ่น 100% ตอนไปทานทางร้านเค้าก็ตอกย้ำเรื่องนี้ โดยการนำน้ำที่ใช้ปรุงทำเต้าหู้ (เหมือนจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติ) แบบแพคเกจใหม่เอี่ยมอ่องมาโชว์ให้ผมดูด้วยครับ (ดูได้จากรูปล่างรีวิว) น้ำนี้นำเข้าจากจังหวัด Saga ต้นกำเนิดที่โรงงานผลิตเค้า • ปกติแล้ว Omakase ทางเชฟหรือหัวหน้าเชฟจะเป็นคนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารและวัตถุดิบที่ใช้ในอาหารที่เสิร์ฟแต่ละคอร์สให้ฟังแบบละเอียดเห็นถึงที่มาต่างๆ แล้วเราก็สามารถถามเค้าสิ่งที่อยากรู้เพิ่มได้แบบไม่ต้องลังเล ซึ่งแน่นอนทางเชฟ Omakase เค้าจะตอบให้ข้อมูลได้แบบลงลึกอยู่แล้วครับ สำหรับร้าน Mihara Bangkok ตอนที่ผมไปช่วงกลางวัน จะมีพนักงานเป็นผู้หญิง (พูดภาษาอังกฤษคล่องมาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นต่างชาติตอนที่ผมไปใช้บริการ) ทำหน้าที่ในการต้อนรับดูแลลูกค้าและอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับอาหารในคอร์สต่างๆแทนเชฟโดยตรง มาเริ่มกันดีกว่า เรียงตามลำดับ Course เลยครับ // Drink // พนักงานที่ให้บริการจะถามเราก่อนว่าจะรับเป็น Still หรือ Sparkling (เหมือนร้านตามโรงแรม) ผมสั่งมา 2 อย่าง • น้ำเปล่า ที่ร้านมีเริ่มต้นเป็นน้ำแร่ Evian ขวดแก้ว จากฝรั่งเศส 750ml ราคาขาย 250++ บาท • Shio Umeshu [Glass 350++] หรือเหล้าบ๊วยนั่นเอง abv ไม่เยอะมาก เลือกสั่งเป็นแก้วไม่เอาทั้งขวดเพราะมากินตอนกลางวันเดี๋ยวยาวครับ 555 ตามชื่อในเมนูก็น่าจะหมายถึงเป็นน้ำเกลือนั่นเอง เค้าบอกว่าตัวนี้ลูกค้าสั่งกันเยอะ เหมาะสำหรับทานคู่กับเมนูเต้าหู้ของร้าน // Appetizer // Yuki Tofu with Nori Sauce เต้าหู้อ่อนเนื้อสีขาวนวลสวยงามเหมือนหิมะ (ตามชื่อ Yuki = หิมะ) รสชาติโทนจืดออกมันๆ texture แน่นดีไม่เหลวไป ตักกินกับซอสสาหร่ายโนริสีเขียวดำข้นๆที่เคี่ยวมารสออกเค็มๆได้กลิ่นโนริชัดเจนมาก ช่วยชูเสริมรสชาติของตัวเต้าหู้ที่จืดขึ้นมาได้เยี่ยมเลย เป็นการเริ่มต้นคอร์สด้วยเมนูที่รสชาติไม่จัดก่อน ผมคาดว่าต้องการปรับต่อมรับรสเราให้คุ้นเคยกับกลิ่นเต้าหู้ ก่อนเมนูถัดๆไปที่มีเต้าหู้เป็นส่วนประกอบทั้งหมดครับ // Tofu Bento // เบนโตะหรือข้าวกล่องเต้าหู้หน้าตามาเสิร์ฟคล้ายๆปิ่นโตบ้านเรา เป็นถาดขนาดเล็กๆวางซ้อนกัน 3 ชั้น ผูกเชือกมา พนักงานเปิดออกวางให้เราเห็นเป็นแนวหน้ากระดานเรียงกัน และแนะนำแต่ละถาดว่าคืออะไรมีวัตถุดิบอะไรบ้าง และแนะนำวิธีการทานว่าให้เริ่มจากถาดไหนก่อน เรียงตามลำดับด้านล่างเลยครับ • White Fish with Nanban Salad หน้าตาคล้ายๆยำแบบไทยๆ พร้อมปลาย่าง เป็นปลาเนื้อขาวหนากำลังดีมีความมันในตัวเอาไปย่างไฟ หนังด้านนอกออกกรอบๆ (ไม่แน่ใจว่าปลาอะไร ลืมถาม แต่ดูจากหน้าตาและที่เคยทานๆมา ไม่ Kinki ก็ Kinmedai เป็นปลาญี่ปุ่นราคาสูง) ตัวยำรสชาติออกแนวเปรี้ยวจี๊ดหวานตาม ไม่เผ็ด และที่ขาดไม่ได้คือถั่วเหลืองสุก (ถาดนี้ไม่มีเต้าหู้แต่เป็นถั่วเหลืองทั้งเม็ด) # รสชาติเมนูนี้จะปรับโทนขึ้นมากระตุ้นต่อมรับรสเรา • Katsuo Yuba Harumaki ตัวนี้เป็น Maki 2 คำ ห่อด้วยฟองเต้าหู้บางๆ (Yuba = ฟองเต้าหู้) ไส้ด้านในเป็นปลาคัตซึโอะกับอาโวคาโดและซอสออกเค็มๆหวานๆ # รสชาติออกโทนอ่อนลงมาจากเมนูก่อนหน้า • Okarani and Tamago Unagi Maki ถาดนี้มี 2 ถ้วยเล็กๆ Okara คือ กากถั่วเหลืองบดที่เหลือจากการทำน้ำเต้าหู้มีเส้นใยอาหารสูง ต่อท้ายด้วย –ni เหมือนนำไปปรุงรสคลุกผสมกับวัตถุดิบอื่นๆครับ ส่วนอีกตัวเป็นไข่ม้วน Tamago Maki นั่นเอง สอดไส้ด้วยปลาไหลน้ำจืดย่าง # รสชาติเมนูนี้จะดรอปโทนลงมาจากตัวก่อน ออกแนวมันๆมีความหวาน เพื่อล้างปากรอเมนู course ถัดไป // Shabu Shabu // Wagyu A5, Fresh Homemade Kinu Tofu and Japanese Seasonal Vegetables ชาบูชาบูเนื้อวากิว A5 สีแดงลายหินอ่อนสวยๆ เสิร์ฟมาพร้อมกับผักตามฤดูกาล ตกแต่งและแกะสลักมาอย่างสวยงาม (มีผักตัวนึงหน้าตาคล้ายๆฟักมีเนื้อเป็นสีชมพูแปลกดี ทางเชฟยกออกมาให้ดู ตามรูปนึงล่างในรีวิว) มาพร้อมเตาที่ต้มน้ำซุป และถ้วยน้ำจิ้มงาแบบญี่ปุ่นหรือ Goma Dare ก่อนจะเริ่มทานทางเชฟญี่ปุ่นจะนำเต้าหู้สดเนื้ออ่อนหรือ Kinu Tofu ทำเสร็จใหม่ๆตักใส่ลงในเตาให้เราเห็นแบบสดๆกันเลย (เหมือนเต้าฮวยเลย) เวลาทานให้ใส่ผักลงไปต้มก่อนแล้วค่อยลวกเนื้อ ผมลองคีบเนื้อ A5 ชิ้นหนึ่งแกว่งลวกในน้ำซุปต้มดูก่อนใส่ผักลงไป ให้สุกพอประมาณคีบใส่ปากเลยไม่ต้องจิ้มซอส เพื่อลองรสชาติแบบเนื้ออย่างเดียวล้วนๆ เนื้อกลิ่นหอมนุ่มมากไม่มีความเหนียวเลยราวละลายในปาก (อยากได้หลายชิ้นกว่านี้ 555) รสชาติน้ำซุปกลมกล่อมและหอมอร่อยมาก เติมผักลงไปต้มรสชาติจะกลมกล่อมขึ้นครับ //Chirashi // Japanese Rice with Chef’s Selection Seafood and Yuba-Toro เป็น Main Course มื้อหนักสุดของคอร์ส ก็เป็นข้าวหน้าปลาดิบกับวัตถุดิบทะเลต่างๆตามใจเชฟในวันนั้น แต่ที่ขาดไม่ได้ต้องมีวัตถุดิบจากเต้าหู้ใส่มาด้วย คือ Yuba หรือฟองเต้าหู้เนื้อแน่นๆเนียนมาก ตอนที่ผมทานทางเชฟจัดใส่ของทะเลมา 3 อย่าง คือ Chutoro 2 ชิ้น เนื้อปูเป็นชิ้นๆ และ Ikura โรยด้านบนด้วยใบโอบะฝอยกับสาหร่ายแห้ง เวลาทานแนะนำให้กินวัตถุดิบทะเลกับข้าวญี่ปุ่นและฟองเต้าหู้รวมกันในคำเดียวจะฟินมาก ตัวเต้าหู้สูตรของทางร้านช่วยเพิ่ม Texture ความนุ่มเนียนมันให้เด่นขึ้นกว่ากิน Chirashi ตัวข้าวญี่ปุ่นก็ดีมากๆเกาะกันเหนียวเป็นก้อนไม่แห้งชืดมีปรุงรส ปกติเค้าจะไม่มีวาซาบิมาให้ทานแกล้ม แต่ผมขอเค้าวาซาบิเพิ่มเองเพราะติดต้องทานด้วยเพิ่มความจี๊ด แต่ไม่ต้องแต้มด้วยโชยุเลย เค้าปรุงรสมาดีอยู่แล้วในชาม # เป็นชามที่ดูเล็กๆไม่มีอะไรมาก แต่วัตถุดิบทุกอย่างในชามเตรียมมาพิถีพิถันมากครับ // Somen // Cold Noodles in Mihara’s Signature Tofu Milk Dashi with Japanese Mushroom, Egg Yolk Tempura and Ginkgo Nuts เมนูนี้เป็น Add on ต้องจ่ายเพิ่ม 250 บาท ในดีล BRW2019 ทางร้านมีรวมให้ด้วยเลยครับไม่ต้องจ่ายเพิ่ม คุ้มมาก เมนูนี้ถือว่าเป็น Signature เลยของทางร้านตั้งแต่สาขาดั้งเดิมที่ Fukuoka และเป็นเมนูที่เชฟ Gaggan ชอบติดใจมากจนชวนเชฟเจ้าของมาเปิดสาขาในไทย (ตามข้อมูลที่ได้มา) เป็นเส้นโซเมนเย็นในน้ำซุป Dashi ที่ทำจาก Tofu Milk หรือน้ำเต้าหู้นั่นเอง ฟังดูเหมือนธรรมดา แต่รสชาติผมว่าแปลกมากไม่ธรรมดาเลย ตัวน้ำซุปหอมกลิ่นน้ำเต้าหู้แบบไม่แรงไป ไม่มีความหวาน มีความมันๆกลมกล่อม ซดได้เรื่อยๆจนหมดถ้วยเลย จนแปลกใจว่าทำไมไม่เลี่ยน 555 เค้ามีเครื่องแกล้มวางให้ด้วยข้างๆเป็นพริกเขียวบดหยาบๆผสมงาขาว ส่วนตัวผมว่ากินเฉยๆเส้นกับซุปก็อร่อยแล้ว ตัวเส้นโซเมนก็เยี่ยมมาก เหนียวนุ่มแต่คีบง่าย เสิร์ฟพร้อมกับเทมปุระ 3 อย่าง มี ไข่แดงชุบแป้งเทมปุระทอดบางๆ ด้านนอกสุกกรอบ ด้านในกัดไปไข่แดงยังเยิ้มไหลออกมาอยู่เลย เห็ดหอม และแปะก๊วยคลุกเกลือบางๆกัดแล้วไม่ขมเลย ตัวเทมปุระก็ทอดมาดีมากครับ # เมนูนี้เยี่ยมมาก ดูเหมือนธรรมดา แต่ทำมารสชาติแปลกแต่อร่อยมากถูกปาก ไม่แปลกใจว่าทำไมเชฟถึงชอบเมนูนี้มาก // Dessert // Chestnut Soy Milk Gelato with Goma Tofu served with Cold Brew Coffee Gelato นมถั่วเหลืองกับเต้าหู้ แยกเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นโฟมที่ผ่านกระบวนการ Espuma ของน้ำเต้าหู้มีกลิ่นเกาลัด รู้สึกมีเนื้อเกาลัดวางท๊อปด้วย โรยด้วยผงงาดำฝั่งหนึ่ง ต่อมาเป็นชั้น Ice cream ส่วนด้านล่างสุดเป็นแป้งเหนียวๆ ให้เคี้ยวคล้ายโมจิ เวลาทานทางร้านแนะนำให้ตักทานให้ได้ทั้งหมด 3 ชั้น เมนูนี้เสิร์ฟมาคู่กับเครื่องดื่มเย็นซึ่งเค้ามีให้เลือกเป็น Iced Hojicha หรือ Cold Brew Coffee ผมเลือกเป็น Cold Brew อยู่แล้ว ตัวกาแฟ Cold Brew กลิ่นอ่อนๆไม่ค่อยรู้สึก ไม่ซับซ้อนในเรื่อง note เท่าไหร่ Body ลื่นคอดื่มง่ายๆตบท้ายมื้ออาหารไม่ได้เน้นดื่มแบบเอาจริงเอาจัง ** มื้อนี้ผมจ่ายเพิ่มในส่วนที่เป็นเครื่องดื่มกับในร้าน ประมาณ 700 บาท สำหรับ Umeshu (Glass) กับ น้ำแร่ขวดแก้ว ####### คหสต สำหรับประสบการณ์ Tofu Omakase ที่นี่ ####### • ทางร้านดีไซน์เมนูอาหารในแต่ละคอร์สได้ดีมาก มีวัตถุดิบเต้าหู้และที่เกี่ยวข้องในทุกเมนูที่เสิร์ฟตั้งแต่ต้นจนจบของหวาน ทางร้านมีประสบการณ์มากเรื่องเต้าหู้ที่ญี่ปุ่นมานาน จึงเข้าใจธรรมชาติรสชาติของมันที่จริงๆแล้ว เต้าหู้ถ้าไม่มีอะไรเสริมรสชาติจะออก Bland หรือ ไม่มีรสชาติ และออกโทนเดียวกันหมด แต่ด้วยฝีมือของเชฟ Gaggan ไม่แปลกใจเลยที่สามารถเอาเต้าหู้มาปรุงทำอาหาร บางตัวเต้าหู้เป็นวัตถุดิบหลัก (เมนูตอนต้นๆและของหวาน) บางเมนูเต้าหู้ช่วยเสริมรสชาติเมนูปกติให้ดีขึ้น (เมนูส่วนใหญ่) ออกมาเสิร์ฟเป็น Course ได้อีกต่างหาก และมีการไล่ระดับรสชาติจากอ่อนไปถึงหนักขึ้นและลดระดับลงเพื่อตบท้ายด้วยของหวานตามลำดับได้อย่างดี รวมๆเลยส่วนตัวผมว่าเมนูในคอร์สกลางวัน Balance ดี ไม่มีตัวไหนโดดเด่นเกินไปครับ ผมคาดว่าทางร้านคงมีการปรับเปลี่ยนเมนูมาหลายรอบแล้วเหมือนกันกว่าจะได้เมนูคอร์สนี้ เพราะหลังทานเสร็จทางร้านเค้ามีใบ Suggestion หรือ Feedback Form มาให้เรากรอกด้วย เห็นมีหัวข้อหนึ่งถามประมาณว่าโทนรสชาติอาหารเป็นยังไงบ้าง เรียบเกินไปเปล่า • อย่างที่เกริ่นไปครับ เรื่องวัตถุดิบทางร้านให้ความสำคัญมากๆ นำเข้าจากญี่ปุ่นทั้งหมด น้ำที่ใช้ปรุงทำเต้าหู้ก็เอามาจากที่ Saga จังหวัดที่เป็นโรงงานผลิตของเค้า • รูปแบบการจัดแสงไฟในบริเวณที่ทาน Omakase และบรรยากาศรอบๆ ปกติแล้วที่เจอจะเป็นห้องและแสงไฟส่องสว่างจะสีนวลส้มๆ บวกกับ presentation ของเมนูอาหารสวยงามมีรายละเอียด รวมถึงภาชนะลวดลายต่างๆทำให้อาหารดูน่าทาน และถ่ายรูปสวยขึ้นมากครับ เป็นส่วนช่วยในการเสิร์ฟอาหารแบบ Omakase หรือ Fine Dining ที่เน้นขายลูกค้าเรื่องประสบการณ์พร้อมกับรสชาติอาหาร • อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือความรู้ในเรื่องวัตถุดิบต่างๆของพนักงานที่ดูแลหน้าบาร์ เพราะ Omakase เป็นเหมือนประสบการณ์หนึ่งที่ลูกค้ายอมจ่ายเงินมาทานและคาดหวังในเรื่องคุณภาพวัตถุดิบและข้อมูลต่างๆในสิ่งที่ทางเชฟทำให้ทาน เรื่องนี้ทางร้านถือว่าทำได้ผ่าน พนักงานคนไทยรวมถึงเชฟญี่ปุ่นสามารถตอบให้ข้อมูลทางผมได้หลายๆเรื่องอยู่ครับ และบริการได้ดีเยี่ยมตั้งแต่ต้อนรับเข้าร้านจนถึงจ่ายตังค์เดินออกจากร้าน การที่เรามานั่งทาน Omakase Course เหมือนเราได้ซื้อความไว้วางใจในเรื่องคุณภาพวัตถุดิบและมากไปกว่านั้นคือฝีมือของเชฟมาเปราะหนึ่งแล้วครับ ไม่ใช่เสี่ยงดวงที่ร้านเอา ดังนั้นเรื่องความมีชื่อเสียงหรือน่าเชื่อถือในชื่อร้านหรือประสบการณ์ของเชฟต่างๆจึงสำคัญมากสำหรับร้านที่เปิดให้บริการ Omakase ส่วนใหญ่ร้านพวกนี้ลูกค้าต้องศึกษาอ่านข้อมูลมาก่อนจองมาที่ร้านอยู่แล้ว ความคุ้มค่าไม่ใช่ที่ความอร่อยอย่างเดียวแต่อยู่ที่สิ่งซึ่งได้รับในการใช้บริการด้วยคือประสบการณ์ครับ 4.5 > 5 ดาว... อ่านต่อ
40 Likes0 Comment
photo