5.0
2 เรตติ้ง (2 รีวิว)
พิพิธภัณฑ์ค่าเข้าชม: ฿ 20/คน
เปิดอยู่จนถึง 16:30
บรรยากาศ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
บรรยากาศ
เที่ยวพิพิธภัณฑ์ ได้ความรู้ด้วย สนุกด้วยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ใกล้ประตูป่าสักและวัดเจดีย์หลวงครับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ก่อตั้งขึ้นในปี พุทธศักราช 2500 เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำแหล่งโบราณคดีเมืองเชียงแสน ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและจัดแสดง โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ได้จากการสำรวจ ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในเขตเมืองโบราณเชียงแสน ตลอดจนพื้นที่อื่น ๆ ในเขตจังหวัดเชียงราย สู่สาธารณชน โดยเป็นหน่วยงานในกำกับของกรมศิลปากร อาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสนเป็นอาคารชั้นเดียว ห้องจัดแสดงเป็นห้องต่อๆกันสามารถเดินวนได้รอบ การจัดแสดงมุ่งเน้นการนำเสนอหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวกับการตั้งหลักแหล่งของชุมชน ตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ความเป็นอยู่ พื้นที่การจัดแสดงช่วงหลัง นำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองเชียงแสนและใกล้เคียง หลังจากที่คัดกรองลงทะเบียนและซื้อบัตรสำหรับเข้าชมเสร็จ ก็เข้ามาอยู่ในห้องจัดแสดงกลาง ห้องนี้จัดแสดงลักษณะภูมิศาสตร์ของอำเภอเชียงแสน ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงแสน เครื่องทองโบราณทีมีลักษณะคล้ายกับเครื่องทองของพม่าในรัชกาลพระเจ้ามินดง ซึ่งพบในป่าใกล้กับโรงแรมแห่งหนึ่งในอำเภอเชียงแสน ประกอบไปด้วย กำไล แหวน ปิ่นปักผม ลานหู (ต่างหู) และส่วนของทับทรวงแบบพม่า เครื่องทองที่พบเหล่านี้สันณิฐานว่าเป็นของใช้ของชนชั้นสูงที่เข้ามาปกครองเชียงแสนก่อนที่จะกลับมาเป็นดินแดนของไทยอีกครั้ง กลางห้องจัดแสดงพระพุทธรูปศิลปะล้านนา 3 องค์ ที่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16-23 ที่มีความงดงามและแสดงถึงเทคโนโลยีการหล่อโลหะของช่างในสมัยโบราณ เช่น พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ จะใช้วิธีหล่อแยกส่วน แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกัน ก่อนทำการตกแต่งด้วยกรรมวิธีลงรักปิดทองจารึกที่มีเนื้อหากล่าวถึงการอุทิศถวายที่ดิน คน เงิน ทอง ให้วัดเก็บเกี่ยวผลประโยชน์และใช้แรงงาน เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบพระพุทธศาสนาที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 จารึกด้วยอักษรล้านนา และก่อนที่จะเดินเข้าสู่ห้องต่อไปจะมีส่วนจัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นพระพุทธรูปและปูนปั้นประดับเจดีย์วัดป่าสักที่เป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียงของอำเภอเชียงแสน เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเมืองเชียงแสนได้รับอิทธิพลรูปแบบทางศิลปกรรมจากอาณาจักรพุกาม อาณาจักรสุโขทัย แคว้นหริภุญไชย หรือจีน มาปรับปรุงจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งเจ้าของบล็อกจะพาไปชมแบบเต็มๆตาในบล็อกหน้าครับ ห้องจัดแสดงห้องต่อไปเป็นห้องจารึก จัดแสดงจารึกต่างๆทั้งที่พบในอำเภอเชียงแสนเองและอำเภออื่นๆในจังหวัดเชียงราย จารึกส่วนใหญ่จารึกด้วย “อักษรฝักขาม” หรือ “อักษรธรรมล้านนา” ซึ่งเป็นตัวอักษรโบราณที่ใช้กันอย่างทั่วไปในดินแดนล้านนา ส่วนจัดแสดงถัดมาจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาเมืองเชียงแสน เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง บริเวณบ้านป่าล้าน บ้านทุ่งม่าน ตำบลหัวฝาย อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสนจะต่างกับเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงครับตรงที่เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสนจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาแบบไม่เคลือบ เนื้อแกร่ง นิยมผลิตเป็นคนโท กระปุก และคนที ในขณะที่เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงจะเป็นแบบเคลือบ มีน้ำหนักเบา เนื้อละเอียด และบางกว่าเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งอื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีสีขาว เหลืองนวล และสีเทา นิยมผลิตเป็น จาน ชาม แจกัน โถ ผางประทีป บางทีก็พบตัวตุ๊กตา หรือตัวหมากรุกบ้าง เอกลักษณ์เฉพาะตังของเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงคือ นิยมเขียนลายดอกไม้และกลีบดอกไม้ ซึ่งเรียกว่า “ลายกา” ลายช่อดอกไม้ ลายสัตว์ และลายพรรณพฤกษา เครื่องเขิน (Laccquerwears) ทำจากไม้ไผ่สานหรือไม้ที่มีน้ำหนักเบาให้มีรูปร่างตามการใช้งาน แล้วทำไปทารักและชาด หรืออาจจะทำลวดลายแล้วประดับด้วยทองคำเปลวหรือแผ่นเงินเปลว คำว่า “เครื่องเขิน” สันณิษฐานว่าเรียกตามคนไท “เขิน” ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำเขินในเชียงตุง แล้วถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ที่เชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิลละมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่บริเวณบ้านวัวลาย บ้านนันทราม ตำบลหายยา ในปัจจุบัน ชาวไทเขินได้นำความรู้ในการทำเครื่องเขินเข้ามาเผยแพร่ในเชียงใหม่ ส่วนการจัดแสดงต่อๆมาจะเป็นวิถีชิวิตของคนในอำเภอเชียงแสนและอำเภออื่นๆในจังหวัดเชียงรายนะครับ เคยได้ดูรายการ “ตามตำนานกับเผ่าทอง” ของอาจารย้เผ่าทอง ทองเจือ อาจารย์อธิบายเอาไว้ว่าที่บ้านของคนในล้านนามีลักษณะของฝาผนังล่างแคบกว่าฝาผนังบนจนมีลักษณะด้านบนผายออกก็เพราะในสมัยที่พม่าเข้ามาปกครองดินแดนล้านนา พม่าได้บังคับให้คนล้านนาปลูกบ้านที่มีลักษณะแบบเดียวกันทั้งหมด เพราะการที่ตัวบ้านมีลักษณะผายออกทางด้านบนแบบนี้เหมือน “โลงศพ” คนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีลักษณะเหมือนโลงศพแบบนี้ “ขึด” หรือไม่เป็นมงคล เป็นการตัดไม้ข่มนามไม่ให้คนล้านนากระด้างกระเดื่อง ที่เหนือประตูบ้านแบบล้านนาจะมีแผ่นไม้สลักติดอยู่ เรียกว่า “หำยนต์” ป้องกันสิ่งที่ไม่ดีเข้ามาในบ้าน และบนหน้าจั่วของบ้านแบบล้านนาจะมีไม้ไขว้กันติดอยู่เรียกว่า “กาแล” อันนี้เจ้าของบล็อกคาดเอาเองว่าน่าจะป้องกันนกเกาะที่หน้าจั่วบ้าน คนล้านนาถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี จึงคิดทำกาแลมาติดไว้ ผู้คนที่มาอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงรายก็มีหลายเชื้อชาติครับแต่เอามาให้ชม 2-3 กลุ่มชาติพันธุ์ที่เราเห็นรูปแบบการแต่งกายบ่อยๆ ไท - ยวน (ที่เขียนคำว่า “ไท” แบบไม่มี “ย” เพราะว่าจะหมายความถึงผู้คนที่มีเชื้อสายที่ใช้ภาษาในตระกูล “ไต” หรือ “ไท” ครับ ถ้าเขียน “ไทย” จะหมายถึงคนไทยในประเทศไทยเท่านั้น) ไท – ยวน ถือเป็นคนกลุ่มใหญ่ในดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่น ในผ้าซิ่นแต่ละผืนมีส่วนประกอบคือ หัวซิ่น - เป็นส่วนที่ใช้พันมัดกับตัว นิยมใช้ผ้าขาวมาเย็บต่อกับตัวซิ่น (เพราะส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้งานมากที่สุด จะสัมผัสกับเหงื่อไคล สามารถที่จะเปลี่ยนผ้าผืนใหม่ได้เมื่อผืนเก่าชำรุด) ส่วนกลางซิ่นเรียกว่า “ตัวซิ่น” นิยมทอลวดลายขวาง เรียกว่า “ซิ่นตา” หรือ “ซิ่นก่าน” ส่วนปลายสุดของผ้าซิ่นเรียกว่า “ตีนซิ่น” (ส่วนปลายผ้าซิ่น) นิยมทอด้วยเทคนิคการ “จก” หรือ การสอดเส้นด้ายย้อมสีเป็นลวดลายต่างๆ การทอตีนซิ่นจะทอให้มีขนาดแคบๆ แล้วนำไปเย็บต่อกับตัวซิ่น ถ้าเป็นผ้าซิ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะนิยมต่อตีนซิ่นด้วยผ้าพื้นสีแดงหรือสีดำ เพราะตีนซิ่นเป็นส่วนที่อยู่ใกล้พื้นที่สุด ในชีวิตประจำวันต้องการความคล่องตัวในการทำงานตีนซิ่นก็ไม่จำเป็นต้องสวยงาม ต่อเมื่อเวลามีงานจึงนำตีนซิ่นที่ทอลวดลายสวยงามมาเย็บต่อ ไทลื้อ เป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์ที่เราเห็นรูปแบบการแต่งกายมากเป็นอันดับต้นๆ ผู้หญิงชาวไทลื้อนิยมใส่เสื่อ “ปั๊ด” ลักษณะเป็นเสื้อแขนกระบอกยาว รัดรูป เอวลอย มีสาบเฉียง ผูกติดกันด้วยด้าย สาบเสื้อและแขนนิยมใช้ผ้าแพรหลายสีมาตกแต่งเป็นริ้วต่อๆกัน ส่วนผ้าซิ่นที่นิยมลวดลายจะอยู่ที่ตัวซิ่น ตีนซิ่นเป็นผ้าพื้น (ตรงข้ามกับการแต่งกายของหญิงชาวไท – ยวน) ไทเขิน คนไทเขินอาศัยอยู่ในเขตเชียงตุง ลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างหนาวเย็น เพราะฉะนั้นผู้หญิงนิยมสวมเสื้อคล้ายเสื้อปั๊ดของหญิงชาวไทลื้อ เคียนหัว จุดเด่นของการแต่งกายของหญิงชาวไทเขินคือนิยมต่อส่วนล่างของผ้าซิ่นด้วยแพรสีเขียว... อ่านต่อ
0 Like0 Comment
photo