การจดทะเบียนร้านอาหาร ถือเป็นสิ่งหลักที่ต้องทำเมื่อเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหาร นอกจากการเตรียมองค์ประกอบหลักต่าง ๆ ของร้านอาหาร เช่นคอนเซปต์ร้าน ชื่อร้าน เมนูอาหาร วัตถุดิบ อุปกรณ์แล้ว เจ้าของร้านทุกคนไม่ควรมองข้ามการจดทะเบียนร้านอาหาร เพื่อให้เปิดขายได้อย่างถูกกฏหมายและเปิดเผยได้
การจดทะเบียนพาณิชย์สำหรับร้านอาหารที่ใกล้ตัวที่สุดมีอยู่ 2 รูปแบบคือ 1. ประเภทบุคคลธรรมดา 2. ประเภทนิติบุคคล (แบบบริษัท) สำหรับวิธีจดทะเบียนร้านอาหารแต่ละรูปแบบและข้อดี-ข้อเสียของแต่ละรูปแบบสามารถดูได้ตามนี้เลย
จดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดา
การจดทะเบียนร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดา เป็นรูปแบบที่ร้านอาหารเปิดใหม่ขนาดเล็ก และขนาดกลางมักจะจดทะเบียนกัน เหมาะสำหรับร้านที่มีเจ้าของกิจการคนเดียว ธุรกิจครอบครัว แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจดทะเบียนร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดา
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
- ถ้าเจ้าของกิจการไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่ตั้งร้านอาหาร ให้เตรียมเอกสารเหล่านี้มาด้วย:
- หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่
- สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือ สำเนาสัญญาเช่า
- แผนที่แสดงสถานที่ตั้งร้าน และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้าเจ้าของกิจการไม่ได้มาด้วยตัวเอง)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 50 บาท
- คำขอจดทะเบียน: http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
เมื่อเราเตรียมเอกสารทั้งหมดแล้ว สำหรับการจดทะเบียนร้านอาหารแบบบุคคลธรรมดา ต้องจดภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มเปิดกิจการและสามารถยื่นจดได้ที่:
- ในเขตกรุงเทพ ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตทุกแห่ง
- สำหรับต่างจังหวัด ยื่นจดทะเบียนได้ที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่ร้านอาหารของเราตั้งอยู่
หลังจากจดทะเบียนร้านอาหารเรียบร้อยแล้ว สนใจอยากจะมีตัวช่วยดี ๆ อย่างระบบจัดการร้าน Wongnai POS เทคโนโลยีที่ช่วยให้ร้านของคุณทำงานได้สะดวก สามารถใช้งานได้ในร้านหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการมีระบบ CRM ให้คุณสามารถสร้างบัตรสะสมแต้มออนไลน์อย่าง Wongnai Reward Card ได้เอง! สนใจสมัครและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Wongnai POS คลิกที่นี่ได้เลย!
จดทะเบียนพาณิชย์แบบนิติบุคคล
การจดทะเบียนแบบนิติบุคคลมีความซับซ้อนกว่าการจดแบบบุคคลธรรมดา จึงเหมาะกับร้านอาหารใหญ่ ต้องการขยายสาขา และมีหุ้นส่วนหลายคน ซึ่งจะมีกฏระเบียบต่าง ๆ ที่ร้านอาหารต้องทำตาม เช่น การจัดทำบัญชี การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มต่าง ๆ รวมถึงค่าทำบัญชี ค่าตรวจสอบบัญชีต่าง ๆ แต่มีข้อได้เปรียบกว่าการจดทะเบียนร้านอาหารบุคคลธรรมดามากมาย
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจดทะเบียนร้านอาหารแบบนิติบุคคล
- สำเนาบัตรประชาชนของหุ้นส่วนทุกคน
- สำเนาทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนทุกคน
- หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
- หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่
- สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือ สำเนาสัญญาเช่า
- แผนที่แสดงสถานที่ตั้งร้าน และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้าเจ้าของกิจการไม่ได้มาด้วยตัวเอง)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน 50 บาท
- คำขอจดทะเบียน: http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
เมื่อเตรียมเอกสารทั้งหมดแล้ว สำหรับการจดทะเบียนร้านอาหารแบบนิติบุคคลสามารถยื่นจดได้ที่:
- ในเขตกรุงเทพ ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่สำนักงานกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่กระทรวงพาณิชย์
- กรณีต่างจังหวัด ยื่นจดที่พาณิชย์จังหวัดได้เลย
ทำไมต้องจดทะเบียนร้านอาหาร
- ประกอบกิจการอย่างถูกกฏหมายและเปิดเผยได้
- เพื่อให้ทำธุรกรรมทางการเงิน เกี่ยวกับร้านอาหารได้ เช่นการกู้-ยืม
- เพื่อจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง ป้องกันการโดนเรียกภาษีย้อนหลัง ถ้ายอดขายเยอะมาก
- เพิ่มความน่าเชื่อถือให้ตัวร้าน
- ในกรณีที่เกิดข้อพิพาท ร้านอาหารที่ไม่มีทะเบียนร้านอาหารจะเสียเปรียบเต็ม ๆ
การจดทะเบียนร้านอาหาร Ghost Kitchen: จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เจ้าของร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้าน เน้นขายเดลิเวอรี่ ทำเองในบ้าน คือการทำธุรกิจออนไลน์อย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะมองข้ามการจดทะเบียนไปเสียสนิท เพราะคิดว่าไม่มีหน้าร้านก็ไม่จำเป็น แต่ที่จริง ถ้าเราไม่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ถือว่าเรามีความผิดตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท และมีค่าปรับรายวันอีกวันละไม่เกิน 100 บาทอีกด้วย
ขั้นตอนการจดเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ขั้นตอนและสิ่งที่ต้องเตรียมต่าง ๆ เหมือนกับการจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดาและนิติบุคคลเลย เพียงแต่ต้องเตรียมเอกสารเอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ รวมถึงต้องเตรียมปริ้นท์หน้าแรกของหน้าร้านอาหาร (หน้าร้านใน LINE MAN หรือโซเชี่ยลมีเดียของร้าน) เมนูต่าง ๆ และวิธีการสั่งอาหาร วิธีการชำระเงิน รวมวิธีการส่งอาหารในตอนที่ยื่นจดทะเบียนด้วย
เปรียบเทียบข้อแตกต่าง จดทะเบียนแบบบุคคลธรรมดา-แบบนิติบุคคล
สิ่งอื่น ๆ ที่ร้านอาหารอาจจะต้องใช้
- ใบอนุญาตสะสมอาหาร
- ภาษีป้าย
- ใบอนุญาตขายสุรา
การจดทะเบียนร้านอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในก้าวแรกของการเปิดร้านอาหาร ยิ่งเราเตรียมความพร้อมมามากเท่าไหร่ ก็เพิ่มโอกาสในการขายให้ร้านเราเติบโตได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น และสิ่งสำคัญอีกอย่าง คือการมีตัวช่วยในการช่วยบริหารร้านอาหาร ซึ่ง Wongnai POS และ FoodStory POS ระบบจัดการร้านอาหารที่ทันสมัยจะช่วยตอบโจทย์ร้านอาหารในยุคนี้อย่างครบครัน เหมาะกับผู้ท่ีต้องการเปิดร้านอาหารใหม่ทุกคน
สนใจใช้งานเครื่อง Wongnai POS และติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม >>คลิกที่นี่เลย<<
สนใจใช้งานเครื่อง FoodStory POS และติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม >>คลิกที่นี่เลย<<