ประวัติ
ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน บนพื้นที่ทั้งหมด 2 ไร่ ประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง โดยหลังกลางเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะคล้ายศิลปะศรีวิชัยที่เรียกว่าทรงเหมชาลา ส่วนอาคารเล็กทั้งสี่หลังถือว่าถือเป็นบริวารสี่ทิศ เรียกว่าศาลาจตุโลกเทพ ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง ศาลทรงเมือง ศาลพระพรหมเมือง และศาลพรบันดาลเมือง ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2542 ผู้ออกแบบอาคารศาลหลักเมืองคือ ยุทธนา โมรากุล
องค์เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราชจะมี ขนาดความสูง 2.94 เมตรซึ่งทำด้วยไม้ตะเคียนทององค์นี้ เป็นไม้ตะเคียนทองที่ได้มาจากภูเขายอดเหลือง อันเป็นภูเขาลูกหนึ่งในทิวเขานครศรีธรรมราช ในท้องที่ตำบลกระหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ลวดลายงดงามที่แกะสลักตั้งแต่ฐานซึ่งเป็นวงรอบเก้าชั้น มี 9 ลาย โดยส่วนบนของเสาเป็นรูปจตุคามรามเทพ (สี่พักตร์) หรือเทวดารักษาเมือง เหนือสุดเป็นเปลวเพลิงอยู่บนยอดพระเกตุ คือยอดชัยหลักเมือง รูปแบบการแกะสลักจินตนาการจากความเชื่อในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเคยมีอิทธิพลต่อศิลปกรรมในภาคใต้ และนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่ครั้งโบราณหน้าลานทักษินรอบศาลหลักเมืองจะปูด้วยอิฐบล็อครูปแปดเหลี่ยม รอบนอกลานทักษินจะมีวิหารรายรอบ ประดิษฐานพระโพธิสัตว์ อยู่ภายใน
บริเวณด้านหน้าของศาลหลักเมือง มีถนนผ่านระหว่างศาลหลักเมืองกับสนาม อีกทั้งยังมีรถมาขายของกินกับเครื่องดื่มไว้สำหรับประชาชนที่เดินทางมาไหว้ศาลหลักเมือง ด้านหลังศาลหลักเมืองมีลานจอดรถ เมื่อเข้าไปทางด้านในแล้ว จะพบว่าจะมีคนเยอะมากในวันหยุด เพื่อมาจุดธูปเทียนบูชาศาลหลักเมือง อย่างสุดท้าย คือ เสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช นอกเหนือจากเสาหลักเมืองแล้ว ภายในศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชยังมีรูปสมเด็จพรหมรังสี และหลวงปู่ทวด รวมทั้งยังมีพระพุทธรูปอีกหลายองค์
ส่งหัวใจและแชร์ทริปนี้เพื่อเป็นกำลังใจแก่เจ้าของบทความ