วัดที่1. วัดถ้ำเขาปูน
เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่มีประวัติการค้นพบ แต่มีการบันทึกไว้ปี ค.ศ.1870 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสที่ถ้ำเขาปูนแห่งนี้ และได้โรยพระองค์ผ่านปล่องด้านบนของถ้ำ เพื่อทำพิธีสักการะบูชาพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งปัจจุบันปล่องดังกล่าวชาวบ้านย่านนั้นเชื่อว่า หากใครมายื่นใต้ปล่อง จะได้รับพลังจากแสงที่ลอดผ่านปล่องลงมา ปล่องนี้ก็เลยถูกเรียกว่า “ช่องรับพลัง”
ห้องพระพุทธไสยาสน์ หรือ พระนอน เป็นห้องแรกที่พบเมื่อเข้าไปในถ้ำ มีพระพุทธรูปพระนอนองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ และปุ่มกระเพราสำหรับเสี่ยงทายอธิษฐาน
ลักษณะเด่น
- เป็นถ้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบริเวณภูเขาหินปูน ภายในถ้ำจะมีลานกว้างเป็นห้องโถงใหญ่ถึง 9 ห้อง -เคยเป็นที่ตั้งของค่ายเชลยศึกขนาดใหญ่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 -หน้าปากถ้ำจะมีศาลพ่อปู่ชีวกโกมารภัจ หมอประจำพระองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อมาถึงศาลนี้ต้องนมัสการเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่าน -ห้องพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีอายุหลายร้อยปี
วัดที่ 2. วัดถ้ำพุหว้า
ปรากฏหลักฐานแต่เดิมเคยเป็นสำนักสงฆ์มาก่อน คือเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วพระอาจารย์สุพจน์ ธมมรโต ได้ธุดงค์มาอาศัยปฏิบัติธรรมอยู่ในถ้ำพุหว้า กาลวันผ่านไปการธรรมะหางการปฏิบัติได้แผ่ขยายไปสู่ชาวบ้าน ถ้ำพุหว้ากลายเป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสนาที่พุทธศาสนิกชนเลื่อมใส กระทั่งได้ยกฐานะเป็นวัดในปี พ.ศ.2537 โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้เมตตาตั้งชื่อวัดว่า “วัดถ้ำพุหว้าธรรมกายาราม”
วัดที่ 3 วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ
วัดเมตตาธรรมโพธิญาณ เป็นวัดมหายานจีนนิกาย มีชื่อเรียกภาษาจีนว่า “ฉื่อปุยซ้อผู่ทีเซียมยี่” ไปนมัสการองค์พระโพธิสัตว์กวนดิม ปรางค์พันมือ มีแห่งเดียวในประเทศไทย และประชาชนทั่วไปนิยมเดินทางไปสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาและเสริมชะตาบารมี กับองค์ไท้ส่วยเอี้ย
วัดที่ 4 วัดถ้ำเจริญธรรม
พระพุทธรูปนับเป็นวัตถุมหามงคลที่เป็นสื่อในการน้อมศรัทธาทางจิตใจให้รำลึก ถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า รำลึกถึงคุณแห่งศีลแห่งธรรม และเป็นบันไดแรกในการนำทางเข้าสู่ประตูแห่งการบรรลุธรรมได้ เพราะเมื่อยังเป็นปุถุชนผู้มีจิตใจยังหยาบเพราะเกลือกกลั้วไปด้วยกิเลสตัณหา
เมื่อได้กราบไหว้พระพุทธรูป ย่อมเกิดพุทธานุสติเกิดความปีติแม้เพียงเล็กน้อยขึ้น แต่ก็สามารถพัฒนาส่งผลในการใฝ่ดีใฝ่ธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปดัง ที่วัดถ้ำเจริญธรรม ต.หนองหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีพระครูอุปถัมภ์ธรรมวัฒน์ เป็นเจ้าอาวาสฯ วัดตั้งอยู่ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร ธรรมชาติสวยงาม มีถ้ำขนาดใหญ่ที่ ก้องจักรวาล เข้าไปชม เป็นถ้ำสวยงามมีความเงียบสงบ เหมาะในการปฏิบัติธรรม ถึงแม้การลงไปในถ้ำจะลำบากสักนิด แต่เมื่อได้เข้าไปแล้วสัมผัสความเย็นฉ่ำภายในถ้ำก็แทบหายเหนื่อยเป็นปลิด ทิ้งเลยทีเดียว
วัดที่ 5 วัดพุทธกาญจนมุนี
ตั้งอยู่ที่บ้านวังปลาหมู หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๘ ไร่ มี น.ส.๓ เป็นเอกสารสิทธิ์ที่ดิน
วัดวังปลาหมู ตั้งวัดเมื่อ วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ตั้งชื่อวัดตามชื่อของหมู่บ้าน คือ บ้านวังปลาหมู ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร
ปัจจุบันวัดวังปลาหมูได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อจากวัดวังปลาหมู เป็น “วัดพุทธกาญจนมุนี”
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ราว พ.ศ. ๒๔๘๔ ชาวบ้านวังปลาหมู และชาวบ้านดงยาง พร้อมด้วยชาวบ้านโป่งนก ได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างที่พักสงฆ์ขึ้น ณ บริเวณเชิงเขาหน้าถ้ำบ้านวังปลาหมู ( ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคหิน เพราะมีการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินพร้อมเครื่องมือเครื่องใช้จำพวกขวานหิน เครื่องปั้นดินเผา จำนวนมาก) เพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจและพิธีการทางศาสนา เนื่องจากระหว่างเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การเดินทางไปทำบุญไม่สะดวกขาดความปลอดภัย วัดก็อยู่ไกลหมู่บ้าน เมื่อสร้างที่พักสงฆ์เสร็จเรียบร้อยแล้วก็นิมนต์พระมาจำพรรษา แต่ก็หาพระที่อยู่จำพรรษานานๆไม่ค่อยได้ สาเหตุเพราะว่าหมู่บ้านอยู่ไกลจากตัวเมืองกาญจน์มาก การเดินทางก็ไม่สะดวกต้องเดินด้วยเท้าหรือไม่ก็ต้องโดยสารเรือจากปากแพรก(หน้าเมือง)มาวัด บางปีมีพระเพียงรูปเดียว บางปีไม่มีพระจำพรรษาเลยจึงเป็นวัดร้างในบางครั้ง เป็นอย่างนี้เรื่อยมา จนกระทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ช่วงเดือนเมษายน ได้มีพระภิกษุจำนวน ๔ รูป ดังนี้ พระบุญเลิศ จตฺตมโล พระหรั่ง ฐีตสีโล (พระครูถาวรวรวิหารคุณ เจ้าอาวาสวัดบางบอน กรุงเทพฯ) พระจิตติ อุตฺตมาจาโร และพระสุวรรณ กิตติธโร ถือธุดงค์มาจากวัดสุทธาราม กรุงเทพฯ มาพำนักปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐานภายในถ้ำบริเวณที่พักสงฆ์บ้านวังปลาหมู คณะสงฆ์ได้อบรมธรรมะและสอนหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่ชาวบ้านจนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา จึงพร้อมใจกันอาราธนา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั้ง ๔ รูปให้อยู่จำพรรษาที่วัด พระท่านก็รับนิมนต์และตัดสินใจจะร่วมกับชาวบ้านสร้างเป็นวัดที่ถาวรขึ้น
วัดพุทธกาญจนมุนี (วัดวังปลาหมู)
บ้านวังปลาหมู เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควน้อย มีชาวบ้านตั้งบ้านเรือนอาศัยไม่มากนัก ประกอบอาชีพการเกษตรและหาของป่า สาเหตุที่ได้ชื่อบ้านวังปลาหมูเพราะว่าบริเวณคุ้มน้ำหน้าหมู่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหมูจำนวนมากมาย ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณคุ้มน้ำนั้นว่าวังปลาหมู ซึ่งคำว่า “วัง” หมายถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาจำนวนมากๆข้าพเจ้า ขอแทรกสาระเกี่ยวกับปลาหมู ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดตามแหล่งน้ำของไทย เพื่อประดับความรู้เพราะว่าปัจจุบันปลาหมูได้ลดจำนวนลงมาก แทบไม่พบเห็นตามแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว
วัดที่ 6 วัดบ้านถ้ำ
พิสูจน์แรงศรัทธา ขึ้นบันได 269 ขั้น สักการะบูชาหลวงพ่อชินราช(หลวงพ่อใหญ่)ในถ้ำคูหามังกรสวรรค์ วัดบ้านถ้ำ ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นวัดเก่าแก่สมัยสุโขทัย ด้านหลังจรดเขา ด้านหน้าจรดแม่น้ำแม่กลอง มีชายหาดสวยงามอยู่หน้าวัด ภูเขาที่ตั้งถ้ำสูงราวๆ 200 กว่าเมตร ภูเขาลูกนี้เป็นเทือกเดียวติดต่อกันหลายยอดเป็นพืด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดปลายเขาที่เขาแหลมและเขาตกถ้ำมังกรทอง การเที่ยวชมถ้ำให้ครบทั้งหมด วันเดียวรับรองว่าไม่หมดแน่
วัดที่ 7 วัดนางโน (อ.ท่าม่วง)
เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแล้วหลายร้อยปี แต่หลักฐานการก่อสร้างไม่ปรากฏชัดว่าสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ใดหากมีศิลปกรรมภายในวัดคือ พระปรางค์ เป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น วัดนางโนมีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ด้านฝั่งตะวันตกของวัดติดลำน้ำแม่กลอง เขตตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จ. กาญจนบุรี สันนิษฐานกันว่าเดิมทีวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน แต่ครั้งเกิดสงครามไทยกับพม่า ชาวบ้านจึงอพยพหลบหนีไปที่อื่น วัดจึงตกอยู่ในสภาพเป็นวัดร้างเช่นเดียวกับอีกหลายๆวัดในเขตเมืองกาญจนบุรี ครั้นสงครามสงบลง ชาวบ้าน จึงได้กลับถิ่นฐานเดิมและบูรณะซ่อมแซมวัด แล้วจึงนิมนต์พระภิกษุให้มาจำพรรษาในครั้งนั้น? มีผู้หญิงท่านหนึ่งชื่อ “โน” เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัด เมื่อทุกอย่างสำเร็จลงแล้ว ชาวบ้านจึงได้เรียกวัดนี้ว่า “วัดนางโน” เรื่อยมาจนกระทั่งได้ชื่อเป็นทางการว่า“วัดมโนธรรมาราม”
วัดที่ 8 วัดม่วงชุม
เป็นวัดเล็ก ๆ ที่มิได้เลื่องลือในเรื่องถาวรวัตถุงดงามดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่อยู่ที่พระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง “วิหารหลวงพ่อเที่ยง” (7) จึงเป็นจุดที่ศรัทธาญาติโยมพากันมานมัสการกราบไหว้
วัดที่ 9 วัดถ้ำเสือ (อ.ท่าม่วง)
อยู่ห่างจากเขื่อนแม่กลอง ประมาณ 5 กิโลเมตร ทางเข้าวัดต้องผ่านตัวเขื่อนแม่กลอง แล้วจะมีป้ายบอกเลี้ยวขวาไปประมาณ 2 กิโลเมตร
วัดนี้มีพระพุทธรูปปางประทานพรขนาดใหญ่อยู่บนยอดเขามีพุทธลักษณะที่สวยงามมาก และยังมีอุโบสถอัฏมุขเป็นลักษณะทรงไทยมีลวดลายสวยงามวิจิตรตระการตา ข้างๆ มีเจดีย์เกษแก้วมหาปราสาท ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินหรือใช้ลิฟท์ขึ้นไปชมวิวทะเลสาบและเขื่อนแม่กลอง
ส่งหัวใจและแชร์ทริปนี้เพื่อเป็นกำลังใจแก่เจ้าของบทความ