เจาะลึก “พ.ร.บ. คู่ชีวิต” กับ “กฎหมายคู่สมรส” ต่างกันอย่างไร!
  1. เจาะลึก “พ.ร.บ. คู่ชีวิต” กับ “กฎหมายคู่สมรส” ต่างกันอย่างไร!

เจาะลึก “พ.ร.บ. คู่ชีวิต” กับ “กฎหมายคู่สมรส” ต่างกันอย่างไร!

Wongnai Beauty จะพาไปเจาะลึกความแต่งต่างระหว่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต กับกฎหมาย คู่สมรส ต่างกันอย่างไร และร่าง พ.ร.บ คู่ชีวิต มีเนื้อหาสำคัญอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ
writerProfile
11 ก.ค. 2020 · โดย

หลังจากที่มีกระแส ร่าง พ.ร.บ ชีวิตคู่ออกมา ได้เกิดกระแสเยอะแยะมากมายเลยค่ะ บางคนก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อเปิดไปสู่การสมรสของเพศเดียวกัน แต่ก็มีอีกหนุ่งกระแสออกมาต่อต้าน พ.ร.บ คู่ชีวิตนี้ หลาย ๆ คนก็ยังงงอยู่ว่า พ.ร.บ คู่ชีวิตมีความแตกต่างอย่างไร กับ กฎหมายคู่สมรส วันนี้ Wongnai Beuaty ได้สรุปประเด็นสำคัญ รวมไปถึงข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คู่ชีวิต กับกฎหมาย คู่สมรส ว่าต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

สาระสำคัญของ พ.ร.บ คู่ชีวิต

  • คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดและได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.นี้
  • การกำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้
  • กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
  • กำหนดให้กรณีที่ผู้เยาว์จดทะเบียนคู่ชีวิตจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือ ศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต
  • กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย เช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา และมีอำนาจ ดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกันกับสามีหรือภรรยา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
  • กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตโดยแบ่งเป็นสินส่วนตัวและสินทรัพย์ร่วมกัน
  • คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ และคู่ชีวิตสามารถฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่ง มาเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองก็ได้
  • เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
  • กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา 1606, 1652, 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม
https://img.wongnai.com/p/1920x0/2020/07/11/f4e2ea2015f44d7bac8853532df89a59.jpg

 "ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต" กับ "กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส" นั้น มีหลักการ 6 ประการที่ “เหมือนกัน”

  • 1.ไม่ว่าจะเป็นชายและหญิง หรือ หญิงและหญิง หรือ ชายและชาย ต่างมีสิทธิหมั้นและสมรสกันได้
  • 2.การหมั้นหมายหากมีอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง
  • 3.มีข้อห้ามในการจดทะเบียน คือ ห้ามสมรสซ้อน ห้ามสมรสกับบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และห้ามสมรสกับญาติตามสายโลหิต
  • 4.การจัดการสินสมรสนั้นบางกรณีต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
  • 5.รับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
  • 6.รับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายได้ กรณีที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้
"ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต" กับ "กฎหมายแพ่งว่าด้วยการสมรส" นั้น มีหลักการ 6 ประการที่ “เหมือนกัน”

ข้อ “แตกต่าง” ระหว่างร่าง พ.ร.บ คู่ชีวิต กับกฎหมาย คู่สมรส

1.ชาย-หญิงจดทะเบียนสมรสกันได้กรณีอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยามจากพ่อแม่ ส่วนร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้บุคคลทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะหญิง-หญิง หรือ ชาย-ชาย มีอายุ 18 ปีแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปีต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ก่อน

2.การมอบของหมั้น สำหรับคู่สมรสชายหญิง กำหนดให้ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ ฝ่าย “ผู้หมั้น” มอบให้แก่ “ผู้รับหมั้น” หรือ สามารถแลกเปลี่ยนของหมั้นกันได้

3.การมอบสินสอดให้ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดาของหญิง ใน ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต กำหนดให้ ฝ่ายผู้หมั้นมอบให้แก่บิดามารดาของผู้รับหมั้น หรือ สามารถมอบให้แก่บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายได้

4.การเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐได้ตามกฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส และ สามี-ภริยา ส่วนร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตนั้น กำหนดให้ได้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ คู่สมรส เช่น สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ การรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม

ข้อ “แตกต่าง” ระหว่างร่าง พ.ร.บ คู่ชีวิต กับกฎหมาย คู่สมรส

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับข้อมูลที่เราเอามาฝากกันในวันนี้ หวังว่าหลาย ๆ คน น่าจะเข้าใจประเด็นต่าง ๆ กันแล้วนะคะ ส่วน พ.ร.บ คู่ชีวิต จะออกมาในแบบไหน ต้องคอยติดตามนะคะ 

อ่านบทความอื่น ๆ เพิ่มเติม 

รวมฤกษ์แต่งงานปี 2564 แพลนไว้เนิ่น ๆ คนโสดเตรียมลงจากคาน
รวม 13 สถานที่จัดงานแต่งงาน สวย ปัง อลังฯ เหมือนในฝัน