โทษฐานที่หนังฟอร์มใหญ่สัญชาติไทยอย่างตาคลีเจเนซิส พูดถึงความลับ ปริศนาที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ แล้วเราจะไม่พูดเรื่องตำนานเมืองอย่างโมจิได้อย่างไรเมื่อพูดถึงเมืองปากน้ำโพธิ์
.
ปริศนาประหนึ่งตำนานของเมืองนครสวรรค์ก็คือของฝากสุดฮิตอย่างโมจิ ที่ก็ไม่เห็นจะเหมือนกับโมจิของญี่ปุ่น แต่ดันได้ชื่อว่าโมจิเหมือนกัน แล้วซ้ำกลายเป็นที่จดจำประจำจังหวัดไปซะอย่างนั้น
.
Wongnai Story Ep. 144 โมจิบ้านเราไม่ใช่โมจิบ้านเขา แล้วมันคืออะไร ?
.
1.) โมจิญี่ปุ่น
ทำจากข้าวเหนียวแช่น้ำ ผ่านการตำจนเป็นเนื้อเดียวกัน วิธีทำครกขนาดใหญ่ ต้องใช้ความชำนาญมากเพราะใช้ 2 คน คนแรกมีหน้าที่ตำกับอีกคนหนึ่งที่พลิกและพรมน้ำให้ก้อนโมจิ
.
หลายบันทึกระบุว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โดยเป็นของกินที่สะท้อนความเชื่อของคนญี่ปุ่น
โมจิ (餅) มาจากคำกริยาที่แปลว่ามีกินมีใช้ จึงเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ความสุข และการมีอายุยืนยาว การรับประทานโมจิในช่วงต้นปี คือการอวยพร
การทำโมจิ (โมจิซึกิ) เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัวหรือชุมชน อีกมุมหนึ่งคือของกินที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้กับชุมชนนั่นเอง
.
2.) โมจินครสวรรค์
ทำจากแป้งสาลี นมข้นหวาน นมสด และเนย โดยตัวแป้งจะถูกอบให้มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและหอม ไส้ออริจินัลคือ ถั่วกวนอบควันเทียนไข่เค็ม ก่อนจะมีอีกหลายไส้ตามมา ตามความชอบของผู้บริโภคในแต่ละช่วงกระแส
.
สรุปความแตกต่าง
ความแตกต่างคือโมจิแบบญี่ปุ่นจะไม่มีไส้(เพราะถ้ามีไส้จะกลายเป็นไดฟูกุ) ส่วนของไทยนั้นมีไส้ เรื่องของวัตถุดิบ ขั้นตอนการทำ และจุดประสงค์ของการทำ ระหว่าง 2 โมจิ ก็มีความแตกต่างกันอย่างมาก แต่จะมีจุดร่วมเล็ก ๆ คือใช้ในแง่ของสัญญะ ของฝาก สื่อถึงความปรารถนาดี
.
3). ย้อนรอยโมจินครสวรรค์
หากใครเคยเดินทางขึ้นเหนือ ย่อมต้องเห็นร้านของฝากที่รวมไว้ทั้งโมจิและไดฟูกุ หลายเจ้าหลายยี่ห้อ
.
คำถามก็คือ โมจิแบบไทย ๆ นั้นมาจากไหน แล้วทำไมแพร่หลายที่นครสวรรค์ที่เดียว?
.
วัตถุดิบอาจจะบอกอะไรเราได้บ้าง?
ตัวแป้งที่ใช้โมจิของไทย ไม่ใช่แป้งข้าวเหนียว แต่เป็นแป้งที่มีส่วนประกอบของเนย นม ซึ่งเป็นขนมอย่างฝรั่ง แปลว่าเป็นขนมดัดแปลง
.
ตัวไส้ไม่ใช่โมจิ
ต่อมาถ้าเรากระเทาะแป้งออก วิเคราะห์ตัวไส้นั้นมีความเป็นจีนสูง ไม่ว่าจะเป็นถั่วกวน หรือไข่เค็มก็ตาม เมื่อพูดถึงสองสิ่งนี้แล้วคงหนีไม่พ้นที่จะนึกถึง“ขนมเปี้ยะ”
.
เมื่อผนวกรวมกับพื้นที่ปากน้ำโพธิ์ที่เป็นจุดค้าขาย รวมตัวของสินค้า ย่อมไม่แปลกที่วัฒนธรรมจีนและวิธีการทำขนมเปี้ยะจะแพร่หลายในนครสวรรค์มาก่อน
.
เค้าโครงของโมจิไทย ๆ นั้นจึงมาจากขนมเปี้ยะที่เปลี่ยนหน้าตา ตัวแป้ง ให้กลายเป็นขนมชนิดใหม่ ข้อสังเกตคือร้านส่วนใหญ่จะขายทั้งขนมเปี้ยะและโมจิ
.
4.) ขนมเปี้ยะนมข้นคือชื่อเดิม
มีเรื่องเล่าว่าหลังจากการไปเรียนทำขนมแบบฝรั่งของลูกหลานร้านขนมเปี้ยะ แล้วจึงได้นำวิธีการมาปรับใช้กับขนมเปี้ยะ เกิดเป็นสูตรใหม่ที่เราได้เห็นกันอย่างโมจิทุกวันนี้
.
ชื่อโมจิมาอย่างไร
ส่วนที่มาของชื่อโมจินั้น ก็เป็นอะไรที่จับต้นชนปลายได้ยาก เพราะเมื่อขนมเปี้ยะนมข้นเป็นที่แพร่หลายแล้ว การหาจุดแตกต่างก็ทำได้ยาก วิธีคิดที่ง่ายและได้ผลคือการเปลี่ยนชื่อสินค้าให้ต่างจากตลาดจึงเป็นทางออก ผลคือยอดขายดีขึ้น ก่อนที่ทุกเจ้าจะปรับมาใช้ชื่อโมจิตาม
.
5.) ชื่อใหม่ดีกว่าอย่างไร
เรื่องของเรื่องก็คือการเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ปัง โดยไม่ต้องถึงมือหมอดู ความน่าสนใจก็คือ ”โมจิ“ สะท้อนภาพอะไรให้ผู้บริโภคสนใจได้มากกว่าชื่อเดิมอย่างไร?
.
จากงานวิจัยเรื่อง What's in a Name? A Comparison of Men's and Women's Judgements about Food Names ศึกษาว่าผู้บริโภคมีการประเมินชื่ออาหารและคุณค่าทางโภชนาการอย่างไร พบว่าผู้คนมักมีความคาดหวังเกี่ยวกับชื่ออาหาร ซึ่งบางครั้งไม่ตรงกับคำอธิบายหรือคุณค่าทางโภชนาการที่แท้จริง กล่าวคือคนตีความจากชื่อไปแล้วแต่แรกนั่นเอง
.
[สรุป]
การใช้ชื่อว่าโมจิ จึงไม่ใช่เคสแรกของการมั่วบ้านงานเรื่องชื่ออาหาร โดยที่หน้าตาคล้ายกันแต่ไม่ใช่เมนูเดียวกัน แต่ช่วยสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคให้ต่างจากเดิมได้
.
การเอาชื่อที่ดังกว่ามาสวมทับก็เพื่อสร้างความเข้าถึงให้ผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และเพิ่มคุณค่าที่ทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น (เหมือนอย่างที่ผมโยงเรื่องตาคลีเจเนซิสแต่ไม่เกี่ยวอะไรเลย เช่นกัน)
.
ลายแทงร้านโมจิ นครสวรรค์
https://www.wongnai.com/mali/listings/mali-with-dessert-mochi-nakhonsawan
.
#Wongnai #WongnaiStory #โมจิ #นครสวรรค์ #TakleeGenesis #ตาคลีเจเนซิส
Reference
Zhang, C., Han, J., Guo, X., & Huang, J. (2023). Influence of Healthy Brand and Diagnosticity of Brand Name on Subjective Ratings of High- and Low-Calorie Food. Behavioral Sciences, 13. https://doi.org/10.3390/bs13010070.
.
ชิษณุพงศ์ แจ่มปัญญา. (2564, 25 สิงหาคม). “โมจิ” ของฝากจังหวัดนครสวรรค์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ “โมจิ” จากญี่ปุ่น. ศิลปวัฒนธรรม. https://www.silpa-mag.com/from-the-fingertip/article_36582