มีเพื่อนสนิทเป็น ‘ตู้เย็น’ Binge Eating Disorder กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม
  1. มีเพื่อนสนิทเป็น ‘ตู้เย็น’ Binge Eating Disorder กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม

มีเพื่อนสนิทเป็น ‘ตู้เย็น’ Binge Eating Disorder กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม

ไม่สามารถหยุดกินมันได้ทุกครั้งที่เราเริ่มกิน ราวกับโดนเล่นงานด้วยแรงดึงดูดที่ควบคุมไม่อยู่ นั่นอาจเป็นสัญญาณของ Binge Eating Disorder (BED) หรือ โรคกินไม่หยุด
writerProfile
26 ก.ย. 2024 · โดย

ไม่ได้กินเยอะเป็นเด็กอ้วงงง แต่เป็นโรคตะหากล่ะะะ!

ลองนึกสภาพตัวเองหลังจากเลิกงานมาด้วยความเหนื่อยล้า หรือผ่านสมรภูมิทางอารมณ์มาอย่างสะบักสะบอม คำปลอบประโลมจิตใจที่ใกล้ที่ตัวสุดหลังจากเปิดประตูเข้าบ้านไปก็คือ อาหาร ของกิน ของอร่อย! ไม่ว่าจะเป็น ไอศกรีมเย็น ๆ หวาน ๆ ขื่นใจ ชีสเบอร์เกอร์ชิ้นโต ข้าวเหนียวหมูปิ้งหอม ๆ ฯลฯ

อาหารจานโปรดเหล่านี้อาจทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ชั่วขณะ แต่หากเราเริ่มรู้สึกว่าไม่สามารถหยุดกินมันได้ทุกครั้งที่เราเริ่มกิน ราวกับโดนเล่นงานด้วยแรงดึงดูดที่ควบคุมไม่อยู่ นั่นอาจเป็นสัญญาณของ Binge Eating Disorder (BED) หรือ โรคกินไม่หยุด นี่ไม่ใช่แค่การกินเยอะธรรมดา แต่มันเป็นการกินที่เราไม่สามารถควบคุมได้ และมันสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัยอีกด้วย วันนี้ Wongnai Story ep.146 ขอกลับมาห่วงใยสุขภาพนักกิน เพื่อความอร่อยที่ยั่งยืนของทุกคน

ที่กินเยอะเพราะโรคหรือเพราะเป็นเด็กอ้วง?

สาเหตุของโรคกินไม่หยุด นั้นมาจากหลายปัจจัยที่รวมตัวกัน ซึ่งมีทั้งปัจจัยทางจิตใจ ชีวภาพ และสังคม ไม่ได้มาจากเพียงสาเหตุเดียว ในกรณีปัญหาด้านอารมณ์ ก็เช่นความวิตกกังวล เช่นจากเรื่องงาน เรื่องเรียน เรื่องความสัมพัน อาจทำให้คนคนนั้นระบายออกมาด้วยการกิน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสุขด้วยวิธีที่รวดเร็ว

แน่นอนว่ามันสามารถต่อยอดมาเป็น โรคซึมเศร้า และนั้นก็เป็นบ่อเกิดของโรค Binge Eating Disorder (BED) หรือ โรคกินไม่หยุด นี้เช่นกัน

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ การที่เรามีปัญหาด้านภาพลักษณ์ของตนเอง พูดง่าย ๆ ก็คือคนที่ไม่พอใจต่อรูปร่างของตัวเอง มักมีแนวโน้มที่จะพยายามควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดวงจรของการอดอาหารและความเครียด ก่อให้เกิดการกินแบบผิดเพี้ยนในภายหลัง

ในส่วนของการทำงานผิดปกติของสมอง ก็เป็นไปได้ว่ามีอาการเสพติดโดพามีน ซึ่งเป็นสารให้ความสุข เราจึงมีพฤติกรรมการกินเยอะเพื่อให้สมองหลั่งสารแห่งความสุขนี้ออกมาถี่ ๆ

ในส่วนของฮอร์โมนและสารเคมีในร่างกาย เช่น เกรลิน (ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว และ เลปติน (leptin) ซึ่งควบคุมความรู้สึกอิ่ม อาจทำงานผิดปกติ ทำให้เรารู้สึกหิวอยู่ตลอดเวลาและไม่สามารถรับรู้ถึงความอิ่มได้ตามปกติ

เช็คลิสต์อาการโรค BED

1.รับประทานอาหารปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็ว

2.รับประทานอาหารแม้ว่าจะอิ่มแล้ว หรือไม่หิว

3.รับประทานอาหารคนเดียวหรือเก็บเป็นความลับ เพราะรู้สึกผิดและเขินอาย

4.จากการรับประทานอาหารปริมาณมาก จะรู้สึกละอายใจหรือรู้สึกผิดหวัง โกรธตัวเอง

6.พยายามควบคุมอาหารโดยที่น้ำหนักไม่ลด

คนใกล้ตัว หรือแม้แต่ดารา ศิลปินชื่อดังก็เคยเป็นเพื่อนกับตู้เย็นมาแล้ว

คุณ ไอซ์ ศรัณยู วินัยพานิช ได้ออกมาอัพเดทเรื่องราวและรูปของตนเองที่กำลังถือไอศกรีมอยู่ด้วสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมข้อความเล่าว่าตนเองกำลังเป็นโรคกินไม่หยุด และไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้กินได้ โดยคุณไอซ์เล่าผ่านแคปชั่นว่า

"Binge eating disorder เป็นโรคที่มีการรับประทานอาหารเป็นปริมาณมากๆผิดปกติ ซ้ำๆหลายครั้งโดยควบคุมไม่ได้ หลังจากทานไปแล้ว จะจิตตก รู้สึกกังวล รู้สึกผิด โทษตัวเองว่าไม่ควรกิน แต่ไม่สามารถ ห้ามมือห้ามใจ ให้หยิบอาหารเข้าปากได้ อ่อนไหวง่ายมาก เวลาใครทักเรื่อง รูปร่างและน้ำหนัก"

"ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ เป็น ไม่ปกตินะครับ เป็นอาการป่วยชนิดหนึ่ง ผู้ป่วย จะ มี อาการ Guilty pleasure นำไปสู่ปัญหา สุขภาพจิต

ใช่ครับ ทางเรา เผชิญ กับ โรคนี้ มาหลายปี อันเป็นเหตุ ให้เกิด ภาวะ ไขมันเกาะตับ และ ค่า LDL สูงเกินค่าปกติ หนทางการรักษา คือการ พยายามปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการทาน โดย มีนักจิตวิทยา และ นักโภชนาการ ควบคู่กันให้คำปรึกษา ทั้งการทาน และ สุขภาพจิตครับ

ที่ ไอซ์ บ่น อ้วนๆๆๆ ตลอดเวลา เพราะ ปัญหาเรื่องนี้ ด้วย และ จิตใจ อ่อนไหวง่ายมากเวลา โดนทักเรื่องรูปร่าง และ น้ำหนัก ครับ แต่ ก็รู้ตัวเอง นะ ว่า อ้วนขึ้นมากจริงๆ พยายามอยู่นะครับ ทั้งร่างกาย และ จิตใจ"

วิธีเลิกคบตู้เย็น แล้วกลับมารักตัวเอง ด้วยการรักษาทางจิตเวช

การรักษา Binge Eating Disorder (BED) ทางจิตเวชเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้เราเข้าใจปัญหาและควบคุมพฤติกรรมการกิน พร้อมทั้งยังฟื้นฟูสุขภาพจิตและร่างกายอีกด้วย แนวทางการรักษามักจะรวมถึงการบำบัดทางจิตและการใช้ยา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและความต้องการของแต่ละบุคคล การรักษาทางจิตเวชที่นิยม

โดยจิตแพทย์อาจให้ยาในกลุ่มยาคลายเครียดเพื่อลดอาการ Binge Eating Disorder ร่วมกับการบำบัดทางจิต ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเครียดหนักมาก และบางส่วนอาจจะต้องใช้การบำบัดพฤติกรรมลดน้ำหนัก ซึ่งวิธีนี้เหมาะจะรักษาผู้ป่วยโรค Binge Eating Disorder ที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมลดน้ำหนักผิดวิธี โดยจะจัดให้ผู้ป่วยเข้าคอร์สลดน้ำหนักอย่างถูกต้องด้วยเทรนเนอร์และนักโภชนาการ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การทานอาหาร วิธีการออกกำลังกาย ฯลฯ

ความคาดหวังทางสังคมนั้นสำคัญมาก ยิ่งในเรื่องของการดูแลรูปร่าง อาจเพิ่มความกังวลในเรื่องภาพลักษณ์ตนเองและนำไปสู่ความเครียดสะสม ทำให้หลายคนหันมาใช้การกินเป็นเครื่องมือในการลดความกดดันเหล่านี้ "Stress is the number one enemy of health" คำกล่าวนี้คงจะไม่เกินจริง หากเรารู้แล้วตั้งแต่วันนี้ เรามาเริ่มต้นกันที่ทัศคติและการจัดการความเครียดให้ถูกวิธีก็เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด

Ref

https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1650

โรงพยาบาลรามคำแหง - แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางครบทุกสาขา

Mayoclinic. 2018. "Binge-eating disorder" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/binge-eating-disorder/diagnosis-treatment/drc-20353633

Sharon Liao. 2020. "Do I Have a Binge Eating Disorder?" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.webmd.com/mental-health/eating-disorders/binge-eating-disorder/do-i-have-a-binge-eating-disorder

Elise Mandl, BSc, APD. 2019. "Binge Eating Disorder: Symptoms, Causes, and Asking for Help" เข้าถึงได้จาก : https://www.healthline.com/nutrition/binge-eating-disorder

Heather Jones. 2021. "How Binge Eating Disorder Is Diagnosed" เข้าถึงได้จาก : https://www.verywellhealth.com/binge-eating-disorder-diagnosis-5181755