เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินหรือลองลิ้มชิมรส “หญ้าหวาน” สมุนไพรขวัญใจของสายเฮลตี ด้วยความที่ตัวมันเองสามารถใช้ประกอบอาหาร ให้ความหวานแทนน้ำตาล พร้อมทั้งยังมีสรรพคุณอีกเพียบ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมปัจจุบันนี้ ตามร้านคาเฟ่สายสุขภาพ รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จึงนิยมนำหญ้าหวานมาเป็นส่วนประกอบ วันนี้เราเลยอยากพาเพื่อน ๆ ไปรู้ให้ซึ้งถึงทุกแง่มุมของหญ้าหวาน ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย!
1หญ้าหวานคืออะไร มาจากไหน ?
มาเริ่มทำความรู้จักหญ้าหวานกันก่อนดีกว่า หญ้าหวานมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแถบอเมริกาใต้ เป็นไม้พุ่มเตี้ย มองเผิน ๆ คล้ายใบโหระพา แต่อย่าเข้าใจผิดนะ เพราะรสชาติต่างกันลิบลับเลย ขอบใบหญ้าหวานจะหยักคล้ายฟันเลื่อย ประเทศไทยนิยมปลูกในภาคเหนือ แถบจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย และลำพูน เป็นต้น
เหตุที่เรียกว่าหญ้าหวานนั้น มาจากใบของมันที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 10 - 15 เท่า แต่เป็นความหวานที่ให้พลังงานน้อยมากไปจนถึงไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และที่สำคัญสารสกัดที่ได้จากหญ้าหวาน หรือ สตีวิโอไซด์ (Stevioside) นั้นให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 200 - 300 เท่า !
ก่อนที่จะมาได้รับความนิยมอย่างมากมาย มีข้อถกเถียงกันเยอะมาก ถึงผลกระทบของหญ้าหวาน เกิดการทดลองพิสูจน์กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2552 ว่า หญ้าหวานนั้นปลอดภัย กินได้หายห่วง และปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็ได้มีการขึ้นทะเบียนให้สามารถใช้สารสตีวิโอไซด์เพื่อการบริโภคแทนน้ำตาลได้ ไม่เป็นอันตรายหรือมีผลข้างเคียงใด ๆ และยังจัดอยู่ในหมวดพืชสมุนไพรอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วก็สบายใจขึ้นมาทันที พร้อมไปดูวิธีการนำหญ้าหวานมาใช้ทำอาหารกันต่อเลย
2หญ้าหวาน 5 รูปแบบการนำมาใช้
วิธีการนำหญ้าหวานมาใช้ทำอาหารนั้นมีอยู่มากมายแตกต่างกันออกไป เพราะหญ้าหวานเองสามารถนำมาสกัดและแปรรูปได้ถึง 5 แบบ ได้แก่ ใบหญ้าหวานแห้งบดใช้แทนน้ำตาล หรือ ที่เราเรียกว่า น้ำตาลหญ้าหวาน, หญ้าหวานอบแห้ง, ใบหญ้าหวานแห้งบดสำเร็จรูปไว้สำหรับชงเป็นชา, หญ้าหวานผง และใบหญ้าหวานสด
3สารพัดเมนูจากหญ้าหวาน
หญ้าหวานสามารถนำมาครีเอตเมนูอาหารได้หลายประเภท จะใช้เป็นวัตถุดิบหลักแทนน้ำตาลในการปรุงอาหาร หรือเพิ่มรสชาติให้กับเมนูอาหารคาว เช่น ก๋วยเตี๋ยว มะระผัดไข่ ข้าวต้มกุ้ง ส้มตำปลาร้าเส้นแก้ว รวมถึงเมนูของหวานที่หลายคนโปรดปรานอย่าง เค้ก คุกกี้ วาฟเฟิล ยิ่งอากาศร้อน ๆ อย่างนี้ลองหยิบผลไม้แช่แข็ง มาปั่นรวมกัน ใช้น้ำตาลหญ้าหวานแทนน้ำตาลทราย เพียงแค่นี้ก็ได้สมูธตีเย็นชื่นใจ มาเติมความหวานแบบไม่รู้สึกผิดแล้ว
4
สรรพคุณของหญ้าหวาน
ไม่ใช่เพียงแค่ให้ความหวานคู่จานโปรดเท่านั้น หญ้าหวานยังมีสรรพคุณชวนตะลึงอีกมากมาย เช่น ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงตับอ่อน ลดความดันเลือด ลดไขมันในร่างกายและเส้นเลือด ทั้งยังลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้! หญ้าหวานยังเป็นตัวช่วยในการยิ้มโชว์ฟันขาวใส เนื่องจากตัวมันเองเป็นสารให้ความหวานที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต จึงไม่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก จึงนิยมใช้เป็นส่วนประกอบในการทำยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก ช่วยป้องกันฝันผุและโรคเหงือกอักเสบ
เป็นยังไงกันบ้างล่ะ ความมหัศจรรย์ของหญ้าหวาน รู้แล้วก็อยากจะรีบบอกลาน้ำตาลทรายที่บ้าน แล้วพุ่งตัวไปหาซื้อหญ้าหวานมาวางแทนกันทันที แต่เชื่อเถอะ เรามีวิธีที่ง่ายกว่ามาเสนอให้เพื่อน ๆ เพียงแค่พุ่งตัวไปยังร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใกล้ตัวที่สุด มองหานมเปรี้ยวฝาเขียว
ใช่ ๆ อันนั้นแหละ หยิบมาเลย!
นมเปรี้ยวปราศจากไขมัน ดัชมิลด์ ดีไลท์ อิมูลัส สูตรน้ำตาลเพียง 0.1 % เพราะใช้หญ้าหวาน ให้ความหวานแทนน้ำตาล แคลอรีต่ำมาก สดชื่น หวานน้อย ดื่มง่าย อีกหนึ่งทางเลือกของคนรักสุขภาพ
Reference :
Cooley, J. (2017). Natural Sugar Substitute Stevia Benefits Bone Health and More. Retrieved from https://universityhealthnews.com/daily/bones-joints/natural-sugar-substitute-stevia-benefits-bone-health-and-more/
Harmon, W. (2017). 17 Stevia-Sweetened Desserts That Actually Taste GOOD. Retrieved from https://traditionalcookingschool.com/food-preparation/stevia-sweetened-desserts/
Medthai, (2017). "14 สรรพคุณและประโยชน์ของหญ้าหวาน." เข้าถึงได้จาก: https://medthai.com/หญ้าหวาน/. สืบค้น 4 สิงหาคม 2560.
Wile, E. (2017). Stevia Vs. Sugar. Retrieved from https://www.livestrong.com/article/468892-stevia-vs-sugar/