1. Don’t Miss 18 Cafes and Restaurants in Historic Building in Bangkok

Don’t Miss 18 Cafes and Restaurants in Historic Building in Bangkok

อัพเดทเมื่อ 6 ส.ค. 2563
Don’t Miss 18 Cafes and Restaurants in Historic Building in Bangkok

ใครเคยดูรายการ Restaurants on the Edge ซีรีส์ปรับโฉมร้านอาหารทาง Netflix หรือ Gordon Ramsay’s 24 Hours to hell and back ของเชฟกอร์ดอน แรมซีย์ ทาง Fox เราจะได้เห็นเบื้องหลังการปรับปรุงรีโรเวทโครงสร้างร้าน รวมถึงเมนูอาหาร แบบหน้ามือเป็นหลังมือ แต่กลับไม่มีรายการไหนเมคโอเวอร์ตึกเก่าทั้งหลักสักเท่าไหร่ แต่บ้านเราทำแล้วก็ทำออกมาได้ดีเสียด้วย 

.

บรรดาตึกเก่าที่ถูกรีโนเวทอายุอยู่ในรุ่นลุงรุ่นปู่กันแล้ว 50 - 80 ปี โดยประมาณ กลายเป็นคุณลุงคุณปู่ที่แต่งตัวฮิป ๆ บางตึกเป็นบ้านเก่าของศิลปินดัง บางตึกเป็นอาบอบนวดที่ปรับโฉมเป็นโรงแรม บางตึกเป็นโกดังเก่าของย่านขนส่งโบราณ หรือแม้แต่โรงปรุงยาที่พลิกโฉมกลายเป็นบาร์สปีคอีซี 

.

ไปดูกันว่าตึกเก่ารีโนเวทใหม่ทั้ง 18 แห่ง ซ่อนเรื่องราวอะไรไว้บ้าง

ร้านทั้งหมด


เลี่อนลงเพื่อดูอีก 11 สถานที่
ร้านอยู่ไหน? ไปที่นี่ยังไง?
เราปักหมุดสถานที่ไว้ให้แล้ว แค่เปิดแผนที่ก็เจอทันที
สแกนเพื่อเปิด บนแอป Wongnai

PAII

230
4.3
45 รีวิว฿฿฿฿฿
บ้านหลังนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2432 เป็นบ้านของหลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) ผู้รับเหมาขุดคลองในพระนคร ออกแบบสไตล์นีโอคลาสสิกโดยทีมออกแบบชุดเดียวกับที่ออกแบบพระราชวังอนันตสมาคม ก่อนเปลี่ยนมือเป็นสมบัติของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (สังเกตได้จากโทนสีเหลืองของตึก ถ้าเห็นสีโทนนี้เป็นทรัพย์สินฯ เกือบทั้งหมด) ก่อนถูกเปลี่ยนเป็นโรงแรมโฮเตล รอแยล และโรงแรมไทยแลนด์ ก่อนที่จะกลายเป็นร้านอาหารของโรงแรม W เคยเป็นสถานเอกอัคราชทูตรัสเซียมาก่อน ปัจจุบันเป็น PAII ร้านอาหารโมเดิร์นซีฟู้ด The Bar สำหรับแฮงก์เอาต์ และ The Courtyard เป็นร้านอาหารในสวนและอาฟเตอร์นูนที
บาร์คอนเซปต์สปีคอีซีที่รีโนเวทชั้นใต้ดินของบ้านหมอมี หมอยาสมุนไพรชื่อดังในสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้คิดค้นยานัตถุ์และน้ำยาอุทัยหมอมี ซึ่งบ้านไม้กึ่งปูนถูกสร้างมายาวนานกว่า 125 ปี โดยรีโนเวทห้องปรุงยาของหมอมีบริเวณชั้นใต้ดินเสียใหม่ คงเอาพื้นกระเบื้องโบราณและฐานรากของบ้านเอาไว้ทั้งหมด บาร์ของที่นี่ยังนำเอาสมุนไพรมาใช้เป็นส่วนผสมของค็อกเทล รวมถึงนำเอาน้ำยาอุทัยหมอมีมาใช้ผสมค็อกเทลด้วย
4.5
10 รีวิว฿฿฿฿
ถนนจักรพรรดิพงษ์ถูกตัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ.2443 เมื่อมีถนนก็มีการสร้างตึกแถวตามมาด้วยการค้าต่าง ๆ แต่ที่เป็นจุดสูงสุดก็คือช่วงต้นพ.ศ.2500 ที่เกิดโรงพิมพ์ต่าง ๆ ขึ้นมาบนถนนสายนี้ จนกลายเป็นย่านที่มีโรงพิมพ์แทบจะมากที่สุดในกรุงเทพฯ ตึกนี้ไม่ใช่โรงพิมพ์ แต่เจ้าของเป็นคนจีนที่เติบโตมากับย่านนี้ หลังจากไม่ได้ทำอะไรจึงส่งต่อให้ทำร้านอาหารด้วยความตั้งใจที่อยากชุบชีวิตบ้านเก่าอายุกว่า 60 ปี ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ซึ่งเดิมเคยเป็นบ้าน ร้านอาหาร และร้านกาแฟมาแล้ว สังเกตได้จากเคาน์เตอร์ไม้ที่คล้ายกับโรงรับจำนำ แต่ถูกใช้ในร้านอาหารเพื่อเป็นที่เก็บจานชามและเป็นฉากบังพนักงาน ที่นี่ยังคงเอาโครงสร้างซุ้มประตูเดิม สีผนังเก่า ราวบันได จนถึงรถยนต์โบราณที่ปัจจุบันวิ่งไม่ได้แล้วที่คุณลุงเจ้าของบ้านยกให้เป็นของตกแต่งด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังส่งมอบเมนูลับประจำตระกูลให้ชิมด้วย
เดิมบ้านหลังนี้คือธุรกิจของครอบครัวธนาโรจน์ปิยทัช เป็นร้านขายของส่งจำพวกสิ่งของอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ชื่อว่า “ธนาภัณฑ์” ซึ่งเปิดมากว่า 40 ปี ก่อนจะตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเป็นร้านอาหาร “TANA” ที่เรานั่งกันอยู่นี้ โดยการตกแต่งจะเน้นผสมผสานความเก่าก่อน และความทันสมัยเข้าด้วยกัน อย่างการคงผนังเก่าตั้งแต่เปิดร้านขายของส่ง ตกแต่งด้วยสิ่งของที่ใช้จริงอย่างตู้เซฟแบบจีนโบราณ กระจาดที่ตากสมุนไพร ส่วนเก๊ะใส่สมุนไพรจีนออกแบบมาเพื่ออิงกับความชอบของคุณพ่อในเรื่องการศึกษาสมุนไพรจีน รวมถึงยังเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของเมนูในร้าน ที่นี่เสิร์ฟ “อาหารแบบฉบับของครอบครัว” โดยคุณแม่ภัทร์ศรันย์ ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานที่ “ส. โภชนา” ร้านอาหารของครอบครัวที่จังหวัดฉะเชิงเทรามาตั้งแต่เด็ก ๆ
Craftsman เคยหยิบยกบ้านเก่าอายุกว่า 80 ปี มาทำคาเฟ่ในซอยเย็นอากาศ แต่คราวนี้นำเอาบ้านที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อาจารย์ศิลปะระดับตำนานของมหาวิทยาลัยศิลปากรมาปัดฝุ่นทำใหม่ อยู่ใกล้กับสะพานซังฮี้ เป็นบ้านสีเหลืองสไตล์ไทยผสมวิคตอเรียนและกอธิค บ้านหลังนี้เป็นบ้านหลังแรกที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มาพักอาศัยสมัยที่ย้ายมาอยู่เมืองไทยในช่วงแรก นอกจากปรับโฉมเป็นร้านกาแฟแล้ว ที่นี่ยังทำชั้น 2 ให้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการ และพิพิธภัณฑ์ของศาสตรจารย์ศิลป์
4.1
34 รีวิว฿฿฿฿
โรงแรมริมถนนไมตรีจิตต์ที่ปรับโฉมอาคารยุคสมัยโคโลเนียลอายุกว่า 100 ปี เสียใหม่ ที่นี่เคยเป็นโรงพยาบาล ธนาคาร และล่าสุดเป็นอาบอบนวด ก่อนถูกปรับโฉมใหม่แต่ยังคงเอาโครงสร้างเดิมของตึกเก่าเอาไว้ภายใต้อาคารสูง 3 ชั้น ที่มีแบบแปลนเป็นทรงสามเหลี่ยม ประตูอยู่ส่วนมุมแหลม โดยเฉพาะเสาและโดมซึ่งผู้ออกแบบได้รื้อออกแล้วโชว์โครงสร้างเดิมให้เห็นทั้งหมด แล้วใส่เฟอร์นิเจอร์และสัตว์สตัฟฟ์เข้าไปแล้วเปิดให้บริการเป็นโรงแรม แต่ล่าสุดเพิ่มมุมของคาเฟ่เข้ามาด้วย
นี่คือสถาปัตยกรรมร่วมสมัยอายุยาวนานกว่า 100 ปี เป็นบ้านไม้ 2 ชั้น รู้จักกันในชื่อ “บ้านเสาชิงช้า” ก่อนเปลี่ยนเป็น “บ้านขนมปังขิง” (Gingerbread House) บ้านหลังนี้สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2456 โดยนางประเสริฐทะเบียน (อำแดงหน่าย) แต่งงานกับ ขุนประเสริฐทะเบียน (นายขัน) และสร้างเรือนไม้สไตล์ฝรั่งขึ้นมา ซึ่งมีอิทธิพลของตะวันตกผสมอยู่ แต่เนื่องจากความทรุดโทรมจึงปรับปรุงครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2560 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านขนมปังขิง ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่งานไม้ลายฉลุที่ทำลวดลายเฉพาะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวของนายขัน ปัจจุบันเปิดเป็นคาเฟ่
ตึกแถวถนนมหาราช หรือที่รู้จักในชื่อ “ตลาดท่าเตียน” ถูกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ. 2452 เพื่อปรับปรุงตลาดให้มีความเรียบร้อย เป็นอาคารแบบยุโรปนีโอคลาสสิกรูปตัว U มีมุขกลางทั้งสามด้านเจาะเป็นช่องให้เป็นทางเข้าสู่ตลาด ปัจจุบันเป็นตึกอนุรักษ์ของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร เชฟและเจ้าของร้านอาหารไทย Le Du ได้พื้นที่ติดทางเข้าตลาดจึงนำมาปรับปรุงเสียใหม่เป็น “Mayrai” เนเชอรัลไวน์บาร์ที่ชั้นล่าง ส่วนชั้นบนใช้ส่วนของมุขที่เชื่อมบ้านสองหลังทำเป็นร้านอาหารไทยแห่งใหม่ “นุสรา”
บาร์และที่พักที่เลือกใช้คำว่า “ปาเฮ่า” ที่แปลว่า เลขที่ 8 ตามเลขที่บ้านจริงมา โดยรีโนเวทตึกหัวมุมเสียใหม่ ด้วยความที่ย่านนี้เดิมเป็นที่พักอาศัยของชาวจีน บ้านบางหลังเป็นโกดังเก็บข้าว บางหลังเป็นร้านขายยาสมุนไพรจีน ซึ่งยังพอมีร้านให้เห็นอยู่บ้างในปัจจุบัน เช่นเดียวกับบ้านหลังนี้ที่ยังมีกลิ่นหอมของสมุนไพรจีนอยู่ บาร์แห่งนี้จึงทำอาหารจีนและเครื่องดื่มจีนที่กรุ่นด้วยกลิ่นหอมของสมุนไพรให้เข้ากับเรื่องราวของตึก
คาเฟ่ในโฮสเทล Kanvela House ที่รีโนเวทตึกเก่าย่านนางเลิ้งที่มีอายุกว่า 80 ปีใหม่ เดิมเป็นบ้านของท่านหลวงสิทธื์ โยธารักษ์ หมอยาผู้คิดค้น “น้ำมันมวย” จึงทำให้ตึกนี้เป็นอดีตโรงงานผลิตน้ำมันมวย ก่อนเปลี่ยนธุรกิจไปเรื่อย ๆ จนมาถึงทายาทรุ่นที่ 4 ที่รีโนเวทอาคารนี้กลายเป็นโฮสเทล และร้านกาแฟ
3.9
32 รีวิว฿฿
คาเฟ่และสตูดิโอถ่ายภาพใกล้แยกแม้นศรี บนถนนบำรุงเมือง ที่เลือกใช้อาคารอนุรักษ์ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ภายใต้ชื่อฝรั่งเศส “Rue De Mansri” ที่แปลว่า “ถนนแม้นศรี” โครงสร้างเดิมเป็นอิฐก่อที่มีช่องหน้าต่างฉลุลาย จุดเด่นของที่นี่คือรูฟท็อปที่มองเห็นถนนบำรุงเมืองได้
4.0
12 รีวิว฿
ที่นี่คืออดีตบ้านของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2442 โดยสถาปนิกคนเดียวกับที่ออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคม และห้องสมุดเนลสันเฮย์ ซึ่งถูกรีโนเวทใหม่เป็นโครงการที่ชื่อว่า “Bangkok 1899” ตัวอาคารเป็นปูนผสมไม้ ชั้นล่างปูพื้นหินอ่อน มีซุ้มประตูและลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ตอนนี้ใช้เป็นพื้นที่กิจกรรมเพื่อสังคม โดยมี Na Cafe ให้บริการอาหารเปรูโดยเชฟ Santiago ในช่วงนี้
แบรนด์กาแฟสัญชาติสิงคโปร์ที่นำเอาตึกเก่าบนถนนเจริญกรุงใกล้ตลาดบางรักมาทำใหม่กลายเป็นร้านกาแฟสุดเก๋ ซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์กึ่งปูนกึ่งไม้เก่าที่ยังคงเก็บเอาโครงสร้างเดิมไว้ให้มากที่สุด เดิมเคยเป็นอู่ซ่อมเรือมาก่อนในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา และสมัยก่อนแถบนี้ก็เป็นคูคลองก่อนถูกตัดเป็นถนนเหมือนในปัจจุบัน นอกจากกาแฟแล้วที่นี่ยังเด่นเรื่องบรันช์ด้วย
จากร้านขายยาเก่าสู่บาร์คราฟต์เบียร์ เดิมอาคารเก่าหลังนี้ในย่านประตูผีเป็นร้านขายยาชื่อ “ไท้ซุ่นตึ๊ง” ซึ่งแปลว่า “ร้านยาที่ดีของไทย” ดำเนินธุรกิจขายยามาตั้งแต่ในอดีต ก่อนถูกออกแบบใหม่โดยบริษัทดีไซน์ที่เชี่ยวชาญเรื่องการออกแบบร้านอาหารอย่าง Taste Space ที่ยังคงเอาเรื่องราวของร้านขายยาเอาไว้ เพียงแต่จิตวิญญาณของร้านขายยาอยู่ภายในบาร์คราฟท์เบียร์ ทำให้เรายังเห็นโครงสร้างเก่าของอาคารที่ยังซึมซับเรื่องราวของอดีตเอาไว้
คัลเจอร์บาร์ คือ คำนิยามของเทพฯบาร์ ที่นำเสนอเรื่องราวของภูมิปัญญาไทยโดยเฉพาะดนตรีไทยในแบบร่วมสมัย แน่นอนว่าอาคารพาณิชย์เก่าภายในซอยนานานี้ก็ยังคงเอาโครงสร้างเดิมของตึกเก่าเอาไว้ แต่ใส่องค์ประกอบอื่น ๆ ที่ทำให้ที่นี่ดูแตกต่างกับตึกหลังอื่น ด้วยเจ้าของร้านเป็นกลุ่มคนที่ทำงานในเอเจนซีทำให้วางคอนเซปต์ของร้านล้อไปกับตึกเก่าได้ออกมาอย่างน่าสนใจ ทำให้บาร์แห่งนี้คว้ารางวัล Wongnai Users’ Choice 2020 มาได้
3.4
42 รีวิว฿฿฿฿
บ้านเก่าอายุกว่า 80 ปี ภายในซอยเซนต์หลุยส์ได้ถูกรีโนเวทเสียใหม่กลายเป็นร้านอาหารยุโรป โดยคงเอาโครงสร้างเดิมของบ้านเอาไว้ทั้งหมด เพียงแต่ทำให้แข็งแรงมั่นคงขึ้น โดยเฉพาะบานประตู หน้าต่าง พื้นไม้ และเพดาน ที่เรียกว่าแบบเดิม ๆ ทั้งหมด มีเปลี่ยนแปลงข้างในให้เป็นปูนเปลือย ทำกรอบประตูหน้าต่างด้วยคิ้วโลหะสีโรสโกลด์ และเติมเฟอร์นิเจอร์ที่ใส่เข้าไปใหม่เท่านั้น
4.1
223 รีวิว฿฿
อีกหนึ่งคาเฟ่ในซอยนานาที่ไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว หลังจากรีโนเวทอาคารพาณิชย์ 3 เก่าให้เหมือนเป็นสวนในตึกแล้ว ล่าสุดยังเพิ่มมุม Pop Up Cafe หน้าร้าน รวมถึงโซน Upstair ที่กลายเป็นบาร์เครื่องดื่มและนั่งฟังเพลงสบาย ๆ หมุนเวียนวงดนตรีมาทุกสุดสัปดาห์ ทำให้ที่นี่คว้ารางวัล Wongnai Users’ Choice 2020 มาได้
คาเฟ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่นำเอาบ้านไม้เรือนไทยทรงปั้นหยาที่สร้างขึ้นช่วงรัชกาลที่ 7 ในย่านคลองสานมารีโนเวท ที่นี่เป็นบ้านของตระกูล “ทังสมบัติ” ครอบครัวชาวจีนที่ตั้งรกรากและผลิตน้ำปลาตรารวงทองมาก่อนนี้ จุดเด่นของบ้านไม้หลังนี้อยู่ที่ระเบียงที่สามารถนั่งชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้