ตารางเทียบน้ำหนักส่วนสูงด้วย BMI มารู้จักดัชนีมวลกายของตัวเรากันเถอะ
  1. ตารางเทียบน้ำหนักส่วนสูงด้วย BMI มารู้จักดัชนีมวลกายของตัวเรากันเถอะ

ตารางเทียบน้ำหนักส่วนสูงด้วย BMI มารู้จักดัชนีมวลกายของตัวเรากันเถอะ

อยากลดน้ำหนัก ลดความอ้วน แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน มาเริ่มที่ค่า BMI กันดีกว่า ถ้าอยากรู้ว่าค่า BMI ใช้วัดอะไรได้บ้างจิ้มเลยย!!
writerProfile
25 มิ.ย. 2022 · โดย

จะลดน้ำหนักทั้งทีเราต้องรู้ก่อนว่าส่วนสูงกับน้ำหนักตัวของเราสมดุลกันไหม เพราะบางคนตัวสูงขายาวเป็นนางแบบ แต่ผอมซะจนเห็นกระดูกมันก็ดูไม่งามนะบอกเลย วันนี้เราจะพาสาว ๆ มาเช็กกันว่าสูงเท่านี้ควรหนักเท่าไรด้วยค่า BMI นั่นเองงง อะ! อยากรู้ว่านางมีประโยชน์ยังไง บอกอะไรได้บ้าง มารู้จักดัชนีมวลกายของเรากันเถอะ ตามไปดูกันเลยยย

BMI (ดัชนีมวลกาย) คืออะไร

BMI (ดัชนีมวลกาย) คืออะไร

BMI คืออะไร จริง ๆ แล้ว BMI ถูกย่อมาจากคำว่า Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณหาน้ำหนักที่ควรจะเป็น รวมไปถึงการวัดระดับไขมันในร่างกายโดยใช้ส่วนสูงและน้ำหนักในการคำนวณนั่นเอง ค่า BMI ไม่ใช่การวัดไขมันโดยตรงแบบเป๊ะ ๆ แต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายได้เหมือนกัน ที่สำคัญค่า BMI เป็นอะไรที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะค่า BMI สามารถใช้บอกความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด หรือบอกถึงมะเร็งบางชนิดได้

ค่าที่ได้จาก BMI กับระดับความอ้วน

น้ำหนักน้อย (<18.5) : น้ำหนักน้อยกว่าปกติ หากใครสูงแต่น้ำหนักน้อยเกินไปอาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารหรือพลังงานไม่เพียงพอ อาจส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย สาวคนไหนที่น้ำหนักน้อยเกินไปควรกินอาหารให้เพียงพอ ควบคู่กับการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ก็สามารถเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

น้ำหนักปกติ (18.5-22.9) : น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทยคือค่า BMI ปกติ ระหว่าง 18.5-22.9 จัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลโรคที่จะเกิดจากความอ้วน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ดี สาว ๆ ที่คำนวณแล้วได้ตัวเลขแถวนี้ ควรพยายามรักษาค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้นาน ๆ

น้ำหนักเกิน (23-24.9) : พยายามลดน้ำหนักอีกนิดเพื่อให้ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะค่า BMI ในช่วงนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มคนอ้วนอยู่บ้างถึงจะไม่ถือว่าอ้วนเลย แต่ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ก็ถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติ

โรคอ้วน (25-29.9) : มาถึงตรงนี้ต้องบอกว่าสาว ๆ จะอยู่ในความอ้วนระดับหนึ่ง แม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่อ้วนมาก แต่ก็ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน ทั้งความดันเอย เบาหวานเอย ฉะนั้นระวังและลดน้ำหนักจะดีกว่า

อ้วนมาก (>30) : อันนี้ค่อนข้างอันตรายเพราะอยู่ในเกณฑ์อ้วนมากกก เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ จะต้องระวังการกินไขมัน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สูตรคำนวณ BMI จากน้ำหนักและส่วนสูง

สูตรคำนวณ BMI จากน้ำหนักและส่วนสูง

โปรแกรมการคำนวณหา BMI นี้ เป็นค่าสำหรับชาวเอเชียและคนไทย อาจแตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติ ซึ่งค่า BMI ผู้หญิงไทยเราเฉลี่ยอยู่ที่ 24.4 (อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป)

สูตรคำนวณ BMI : น้ำหนัก (กิโลกรัม) / [ส่วนสูง (เมตร)] ยกกำลังสอง

ตัวอย่าง : น้ำหนัก = 68 กิโลกรัม, ส่วนสูง = 165 เซนติเมตร (เท่ากับ 1.65 เมตร)

วิธีคิด : 68 / (1.65)2 = 24.98

สรุปตารางเทียบน้ำหนัก-ส่วนสูง

อะ! อย่ารอช้า มาดูกันดีกว่าว่าน้ำหนักกับส่วนสูงของเราอยู่ในเกณฑ์ไหนกันบ้าง บอกเลยไม่ต้องนั่ง งง กดเครื่องคิดเลขให้เสียเวลา เพราะเราคิดมาให้แล้วจ้าาา

สรุปตารางเทียบน้ำหนัก - ส่วนสูงสำหรับลดความอ้วน

Noted : สำหรับ BMI ผู้ชาย สามารถมีน้ำหนักปกติได้เท่ากันกับผู้หญิง และในส่วนน้ำหนักที่มากที่สุดที่พึงจะมีนั้นสามารถบวกเพิ่มได้ประมาณ 4 เช่น น้ำหนักที่มากที่สุดที่ยอมรับได้ของผู้หญิงที่สูง 157 ซม. จะอยู่ที่ประมาณ 57 กิโลกรัม ส่วนของผู้ชายที่ส่วนสูงเท่ากันนี้จะสามารถมีตัวเลขน้ำหนักได้ถึง 61 กิโลกรัม ถ้าเกินกว่านี้จะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ท้วมแล้วค่า!

เอาละค่ะ ! สาว ๆ คงรู้สูตรคำนวณ BMI จากน้ำหนักและส่วนสูงกันแล้ว ได้รู้แล้วว่าตอนนี้น้ำหนักตัวเองอยู่ในเกณฑ์ไหนบ้าง ใครได้มากได้น้อยไม่ต้องเสียใจ ไม่ว่ายังไงเราทุกคนต่างก็ต้องดูแลสุขภาพตัวเองกันนะจ๊ะ ว่าแล้วเรามีบทความออกกำลังกายแบบต่าง ๆ เพื่อสุขภาพมาฝากด้วยค่าาา