มารู้จัก อาการ Long Covid ผลกระทบที่น่ากลัว หลังการติดเชื้อ COVID-19
  1. มารู้จัก อาการ Long Covid ผลกระทบที่น่ากลัว หลังการติดเชื้อ COVID-19

มารู้จัก อาการ Long Covid ผลกระทบที่น่ากลัว หลังการติดเชื้อ COVID-19

นอกจากเชื้อ COVID-19 จะส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง เชื้อลงปอดแล้วทำให้ปอดใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เกิดอาการ Long Covid อีกด้วย
writerProfile
16 ม.ค. 2022 · โดย

หลังจากที่หายจากอาการติดเชื้อ COVID-19 แล้ว อาการที่พบบ่อยหลังการติดเชื้อโควิด-19 อาจจะเป็นอาการที่คล้าย ๆ กับอาการติดโควิด ที่เรียกกันว่า Long Covid เป็นอาการหลังติดโควิดที่พบบ่อยและน่ากลัวกว่าการติดเชื้อ COVID-19 เพราะส่งผลให้กับร่างกายในระยะยาว นอกจากเชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในแล้ว ยังส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้อีกด้วย มารู้จักอาการลองโควิดกันดีกว่าค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง 

อาการของ Long Covid มีอะไรบ้าง 

อาการของ Long Covid มีอะไรบ้าง ลองโควิด อาการหลังติดเชื้อโควิด
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียเรื้อรัง
  • ปวดหัว
  • สมาธิสั้น ความจำผิดปกติ
  • เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดข้อ
  • ท้องเสีย
  • สูญเสียการรับกลิ่นหรือรส
  • ซึมเศร้า วิตกกังวล
  • นอนไม่หลับ

อาการ Long Covid มักจะเกิดขึ้นในระยะ 4-12 สัปดาห์ (1-3 เดือน) หลังการติดเชื้อ COVID-19 อาการแฝงอื่น ๆ ของลองโควิด เช่น ผมร่วง หูตึงเฉียบพลัน หนาวสั่น มีอาการซึมเศร้า หรือ PTSD เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ภาวะ Long Covid อันตรายขนาดไหน?

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) กล่าวว่าผู้คนในสหราชอาณาจักรประมาณ 1.3 ล้านคนมีอาการของ Long Covid และผู้ที่มีอาการ มักจะเป็นกลุ่มคนที่ติดและหายจากเชื้อเร็ว บางคนมีปัญหาระยะยาวหลังจากฟื้นตัวจากการติดเชื้อ ถึงจะไม่ป่วยหนักตั้งแต่แรกก็ตาม อาการ Long Covid สามารถพบได้ถึง 30-50% ในทั่วโลก และในประเทศไทย พบผู้ป่วยที่มีอาการ Long Covid ถึง 10-20% สาเหตุหลักมาจากเครียดสะสม หรือเป็นผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์ การติดเชื้อ COVID-19 นอกจากจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักแล้ว ก็ยังทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกัน ทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายอีกด้วย และถึงเชื้อโอมิครอนจะไม่ลงปอด หรืออาการโอไมครอนจะไม่รุนแรง แต่ก็ทำให้เกิดอาการ Long Covid ได้เช่นกัน

ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่ออาการ Long Covid

  • ผู้ป่วยที่มีอายุ 35-69 ปี
  • ผู้หญิงจะเสี่ยงกว่าผู้ชาย
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้ที่เป็นหอบหืด
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ คนที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก
  • คนที่ทำงานด้านการแพทย์ เช่น หมอ พยาบาล คนที่คอยดูแลผู้ป่วย

วัคซีนสามารถช่วยป้องกัน Long Covid ได้ไหม?

คนที่ฉีดวัคซีน จะสามารถช่วยป้องกันอาการ Long Covid ได้ในระดับหนึ่ง

การรักษาตัวหลังจากติดเชื้อ COVID-19 ให้ห่างไกลจาก Long Covid

พยายามอย่าหักโหมหรือออกกำลังกายหนัก ค่อย ๆ ให้ร่างกายฟื้นตัวทีละนิด ควรทำตามมาตราการการป้องกัน COVID-19 คือ กินร้อน ไม่กินข้าวร่วมกับคนอื่น ใส่แมสก์เวลาออกไปข้างนอก ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ หมั่นสังเกตุอาการของตัวเองบ่อย ๆ

การรักษา Long Covid อื่น ๆ

  • ตรวจเลือด
  • ตรวจความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ
  • เอ็กซ์เรย์ปอด
  • ปรึกษาแพทย์หากมีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือสมาธิ

Reference :

BBC. 2022. "Long Covid: What is it and what are the symptoms?" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.bbc.com/news/health-57833394 สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565

Bangkokpost. 2021. "'10-20% suffer long Covid'" [Online] เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2181787/10-20-suffer-long-covid สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 

Long Covid อาจจะไม่ค่อยพบคนในอายุน้อยเท่าไหร่ คนที่อายุ 20 กลาง ๆ ก็สามารถเป็นได้ ควรระวังตัวเองให้ดี ๆ และฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้ครบโดส และทำตามมาตการที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด Long Covid ได้ ส่วนใครที่ติดแล้วหาย ก็อย่าพยายามหักโหม รอให้ร่างกายฟื้นตัวก่อนที่จะออกกำลังกายหนัก ๆ เท่าแต่ก่อนค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง