สั่งอาหารออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน สะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้ายุคใหม่ แต่ผลกระทบที่ตามมาคือ "ขยะพลาสติก" ไม่ว่าจะเป็น ช้อนส้อม กล่องใส่อาหาร ถุงพลาสติกที่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง เรียกว่าได้ว่าสวนทางกับกระแสรณรงค์ลดปริมาณขยะพลาสติกที่ผ่านมา ดังนั้นเพื่อให้เจ้าของธุรกิจร้านอาหารเดลิเวอรีได้ผลกำไร พร้อมกับมีส่วนร่วมช่วยปัญหาลดขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืนแล้ว Wongnai for Business ขอพาทุกคนไปดูว่า พลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์แบบไหนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และควรเลือกใช้แบบไหนดี?
ขยะพลาสติก คนใช้ คนทิ้ง สิ่งแวดล้อมกระทบ
ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าคนไทยใช้ถุงพลาสติกมากถึง 45,000 ล้านใบต่อปี โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยคนละ 8 ใบต่อวัน ทำให้มีขยะพลาสติกมากถึง 80 ล้านใบต่อวัน ซึ่งถุงพลาสติกเหล่านี้มีที่มาจาก 3 แหล่ง คือ
- ตลาดสดเทศบาลและภาคเอกชน 40% หรือจำนวน 18,000 ล้านใบต่อปี
- ร้านขายของชำ 30% หรือจำนวน 13,500 ล้านใบต่อปี
- ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ 30% หรือ จำนวน 13,500 ล้านใบต่อปี
ปัญหาขยะพลาสติกไม่ใช่แค่เพียงย่อยสลายยาก แต่หากจัดการไม่ถูกวิธีก็จะส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม อย่างเช่น กรณีการเสียชีวิตของพะยูนมาเรียม หรือ การพบถุงพลาสติกในกระเพาะอาหารเต่าทะเลที่เสียชีวิต ซึ่งไทยติดอันดับประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยขยะทะเลที่พบมากที่สุดคือ ถุงพลาสติก รองลงมาคือ กล่องโฟมใส่อาหาร ห่อหรือถุงอาหาร ถุงก๊อบแก๊บ และขวดแก้ว
ดังนั้นการสร้างความเข้าใจ และปลูกจิตสำนึกการใช้พลาสติกอย่างถูกวิธี จึงถือว่าเป็นทางออกสำคัญที่ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติก เช่น รณรงค์ใช้ถุงผ้า แก้วน้ำ หรือกล่องใส่อาหารส่วนตัว แทนบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก การนำถุงพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ รวมถึงการทิ้งขยะอย่างถูกที่และถูกวิธี ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งแน่นอนว่าไม่อาจเลี่ยงการใช้พลาสติกได้ 100% แต่ก็สามารถเลือกใช้พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพในการบรรจุอาหารแทนได้ ซึ่งมีความปลอดภัยต่อทั้งลูกค้าและสิ่งแวดล้อม
ร้านอาหารเดลิเวอรี รวดเร็ว ทันใจ ได้ขยะพลาสติกแบบเดลิเวอรี
จุดเด่นเรื่องความสะดวก รวดเร็ว ทำให้ธุรกิจร้านอาหารเดลิเวอรีเติบโตขึ้น แต่ก็ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มตามไปด้วย เพราะทุกการสั่งอาหารเดลิเวอรีมีขยะพลาสติกอย่างน้อย 7 ชิ้น ได้แก่ กล่องอาหาร ถุงใส่น้ำจิ้ม ช้อนพลาสติก ส้อมพลาสติก ถุงใส่ช้อนส้อม ถุงน้ำซุป ถุงพลาสติกหูหิ้ว ที่ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งทำให้ปี 2562 มีขยะพลาสติกจากธุรกิจร้านอาหารเดลิเวอรีมากถึง 140 ล้านชิ้น
สลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) กับ แตกสลายได้ (Degradable) พลาสติกแบบไหน ตอบโจทย์ธุรกิจร้านอาหาร เป็นมิตรต่อโลก?
เมื่อธุรกิจร้านอาหารเดลิเวอรีจำเป็นต้องใช้พลาสติกเพื่อบรรจุอาหารสำหรับจัดส่ง แล้วควรเลือกใช้แบบไหน ระหว่างพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพกับ แตกสลายได้ ลองไปดูความแตกต่างกันดีกว่า
พลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรหรือจากธรรมชาติ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสําปะหลัง ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ด้วยจุลินทรีย์ในดิน กลายเป็นน้ำ, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารอาหารให้ดิน ไม่ก่อให้เกิดไมโครพลาสติก ไม่สร้างผลเสียต่อสภาพแวดล้อม เช่น นำไปฝังกลบก็สามารถนำดินไปใช้ปลูกต้นไม้ได้ตามปกติ
ส่วนพลาสติกแตกสลายได้ ผลิตจากพลาสติกทั่วไป ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ แต่จะใส่สารเติมแต่งเพื่อให้แตกตัวง่ายและกลายเป็นไมโครพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ที่ตกค้างอยู่ในวงจรอาหารและปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์
ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร คือ ใช้บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ ซึ่งในวันนี้ ทาง LMWN ได้ร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (GC) และ บริษัท ไบโอ-อีโค จำกัด (Bio-Eco) จำหน่ายบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ โดยออกแบบมาให้เหมาะกับธุรกิจร้านอาหาร มีทั้งแก้วน้ำ หลอด ถ้วย ช้อนส้อม มีด กล่องและถาดสำหรับใส่อาหาร ถุงหูหิ้ว สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ และไม่แตกตัวเป็นไมโครพลาสติกปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย
นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ดังกล่าวยังมี สัญลักษณ์ฉลากผลิตภัณฑ์ GC Compostable เป็นฉลากยืนยันวัตถุดิบ (Material Label) ที่ทาง GC ใช้รับรองผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เม็ดพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพของ GC Group เท่านั้น ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจอีกด้วย
- เลือกชมสินค้าทั้งหมดได้ที่นี่
- กรอกแบบฟอร์มเพื่อสั่งซื้อสินค้าที่นี่
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน LINE OA @lmwnbiopack
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการอัปเดตข้อมูลข่าวสาร และหาไอเดียใหม่ ๆ เกี่ยวกับธุรกิจร้านอาหารเดลิเวอรี อย่าลืมเข้าไปติดตามได้ที่ Facebook: Wongnai for Business
ติดตามบทความเกี่ยวกับธุรกิจร้านอาหารที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่
- รักษ์โลกกับ LINE MAN ตั้งค่าให้ลูกค้าเลือกไม่รับช้อนส้อมพลาสติกได้แล้ว
- เจาะเทคนิครวย ขายเดลิเวอรีอย่างไร ให้กำไรงาม ?
- 9 วิธีจัดการ Food Waste ร้านอาหาร เปลี่ยนของเสียเป็นกำไร
- 4 วิธีลดต้นทุนวัตถุดิบ ให้ได้กำไรมากขึ้น !
ข้อมูลอ้างอิงจาก :
กรุงเทพธุรกิจ
Thaipbs
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)