กักตัวอย่างไรในภาวะสุ่มเสี่ยง COVID-19!
  1. กักตัวอย่างไรในภาวะสุ่มเสี่ยง COVID-19!

กักตัวอย่างไรในภาวะสุ่มเสี่ยง COVID-19!

งานวิจัยจากจีนล่าสุดพบว่า เชื้อ COVID-19 มีระยะฟักตัวยาวนานถึง 5 สัปดาห์ มากกว่าระยะกักตัวที่ทางการแจ้งถึง 2 เท่า รู้แบบนี้ ใครสุ่มเสี่ยง กักตัวอยู่บ้านโดยด่วน!
writerProfile
23 มี.ค. 2020 · โดย

#วงในบอกมา

  • WHO ประกาศให้ COVID-19 เป็นโรคระบาดทั่วโลกที่อยู่เหนือการควบคุมเมื่อวันพุธที่ 11 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา
  • ยืนยันจากทางการจีนล่าสุดพบว่า โคโรนาไวรัสมีระยะฟักตัวมากถึง 37 วัน หรือ 5 สัปดาห์ ในระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย
  • กรมควบคุมโรคและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แจกแจงคำแนะนำสำหรับการกักตัวกลุ่มคนในภาวะสุ่มเสี่ยง COVID-19 มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง ~

อัปเดตสถานการณ์ผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทยล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2563 พบผู้ติดเชื้อแล้ว 75 ราย ยืนยันจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อช่วงเช้า ส่วนสถานการณ์ทั่วโลก COVID-19 ได้รับการประกาศว่าเป็นโรคระบาดทั่วโลกที่อยู่เหนือการควบคุมแล้ว

ในหลายประเทศ รัฐประกาศสั่งปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ห้างร้าน ร้านอาหาร รวมถึงเริ่มเกิดการกักตุนอาหารกันเป็นจำนวนมาก สำนักงานบางที่เริ่มให้พนักงาน Work from Home มหาวิทยาลัยบางแห่งเปิดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ แม้ทางการไทยจะยืนกรานว่าบ้านเรายังอยู่ในเฟสที่ 2 แต่ในอนาคตอันใกล้ ไม่แน่ใจว่าสถานการณ์จะพลิกผันไปในรูปแบบใด เพราะฉะนั้นแล้ว เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่กระจาย หากคุณรู้สึกตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง รีบกักตัวโดยไว! ว่าแล้วก็มาดูกันดีกว่าว่า กักตัวอย่างไรให้ลดโอกาสเสี่ยง?

1.อยู่บ้านเท่านั้น ห้ามออกไปไหนเด็ดขาด

ยกเลิกทุกกิจกรรม แคนเซิลทุกนัด ลางานให้หมด! เลี่ยงการติดต่อ พูดคุย หรือสัมผัสกับผู้อื่น เรียกได้ว่า ต้องจำศีลอยู่ในบ้าน มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่น!

COVID-19

2.หากมีอาการ ไอ จาม หายใจลำบาก โทร 1422

กรณีที่มีอาการสุ่มเสี่ยงจำพวกไอ จาม หายใจลำบาก ให้รีบโทรปรึกษา 1422 ก่อน อย่าเพิ่งรีบวู่วาม เพราะหากทุกคนตื่นตระหนกและแห่กันไปโรงพยาบาล บุคลากรทางแพทย์จะไม่เพียงพอต่อการรักษา และในเคสผู้ป่วยฉุกเฉิน จะไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

COVID-19

3.แยกตัวเองออกจากคนอื่นในครอบครัว

หากต้องอยู่ใต้หลังคาเดียวกันกับคนในครอบครัว ให้กักตัวเองอยู่ในห้องนอน ไม่ออกเดินเพ่นพ่าน แม้จะเดินข้ามห้องก็ไม่ควร ป้องกันไว้ก่อนดีกว่า เพื่อคนที่คุณรัก

COVID-19

4.แยกอุปกรณ์และข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ออกจากผู้อื่น

อุปกรณ์บนโต๊ะอาหารและของใช้ต่าง ๆ ไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น ควรมีของส่วนตัวไว้ใช้โดยเฉพาะ ป้องกันเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในสารคัดหลั่งต่าง ๆ

COVID-19

5.แยกซักเสื้อผ้า

เสื้อผ้าที่เป็นชุดชั้นใน และเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ ล้วนแล้วแต่มีโอกาสเสี่ยงปะปนเชื้อโรคจากร่างกายเราทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ซักแยก หรือซักเอง จะเป็นการดีที่สุด

COVID-19

6.แยกขยะและใส่ถุงซ้อน 2 ชั้น

ขยะจากตัวเรา ควรแยกทิ้งถุงพร้อมซ้อนถุงเพิ่มความหนาแน่น เนื่องจากอาจมีทิชชู่ สารคัดหลั่ง หรือของใช้ส่วนตัวที่เราทิ้งไว้ ป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายแก่คนที่มาเก็บขยะ

COVID-19

7.ล้างมือบ่อย ๆ อย่างน้อย 20 วินาที

วิธีพื้นฐานที่ช่วยขจัดเชื้อโรคได้จริง โดยเฉพาะเมื่อล้างอย่างถูกวิธี เนื่องจากเชื้อโรคจะอยู่บนมือเราได้นาน 3 ชั่วโมง การล้างมือจะลดโอกาสเสี่ยงได้ 50-70%

COVID-19

8.ปิดฝาชักโครกและทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้

หากยังต้องใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่น แนะนำให้ใช้เป็นคนสุดท้ายหากเลือกได้ อีกทั้งเมื่อใช้เสร็จแล้ว ควรสเปรย์แอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังใช้ห้องน้ำเสร็จ รวมถึงทำความสะอาดยกใหญ่ในทุกครั้ง

COVID-19

9.ห้ามไม่ให้แขกมาที่บ้าน

หากมีผู้หวังดีอยากแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยียน ควรออกปากห้ามทันที เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเราเองและผู้อื่น เนื่องจากการพูดคุยกันอาจนำเชื้อโรคติดกลับไปได้

COVID-19

10.สั่งอาหารออนไลน์

ปากท้องเป็นเรื่องสำคัญ เพราะฉะนั้นตัวเลือกในการสั่งอาหารผ่านเดลิเวอรีก็เป็นไอเดียที่ดีที่สุด เวลาสั่งอาหารก็ควรให้พนักงานแขวนอาหารไว้หน้าบ้าน และแน่นอนว่าควรจ่ายเงินผ่านการโอนจะดีกว่า แค่นี้ก็อยู่ได้สบาย ๆ แล้วล่ะ เอาล่ะ ณ จุด ๆ นี้ เปิดดูเมนู เลือกร้านอาหารผ่านแอปฯ Wongnai แล้วกดสั่งได้เลย!

COVID-19

ระยะฟักตัวโรคระบาดนี้ยาวนานถึง 5 สัปดาห์แบบนี้ ไม่มีใครรู้เลยว่า จะออกอาการเมื่อไร และกว่าจะออกอาการนั้น ถือว่าสายไปแล้วหรือเปล่า เพราะฉะนั้นหากคุณขึ้นชื่อว่าอยู่ในอาการสุ่มเสี่ยง หรืออาจจะเดินทางมาจากสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย ก็ควรกักตัวไว้เสียแต่เนิ่น ๆ เชื่อเถอะ กันไว้ดีกว่าแก้!

ติดตามข่าวสารและเรื่องราวเกี่ยวกับ COVID-19 เพิ่มเติมได้ที่นี่