อัปเดต! คำนวนยื่นลดหย่อนภาษีปี 2566 ยังไง มีอะไรลดหย่อนได้บ้าง
  1. อัปเดต! คำนวนยื่นลดหย่อนภาษีปี 2566 ยังไง มีอะไรลดหย่อนได้บ้าง

อัปเดต! คำนวนยื่นลดหย่อนภาษีปี 2566 ยังไง มีอะไรลดหย่อนได้บ้าง

อัปเดตข้อมูล คำนวนยื่นลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง พร้อมกับเงื่อนไขช้อปดีมีคืนแบบใหม่ ที่หลายคนอาจจะยังงงๆ มาดูกันเลย ว่าลดหย่อนภาษี 2566 มีอะไรบ้าง
writerProfile
28 ธ.ค. 2022 · โดย

สำหรับหลาย ๆ คนแล้ว เรื่องภาษีคือเรื่องที่ทำให้รู้สึกปวดหัวและรู้สึกยุ่งยากไม่น้อย จนรู้สึกไม่อยากจะยื่นจ่ายภาษี เพราะกลัวคำนวณผิดแล้วโดนค่าปรับย้อนหลัง วันนี้ Wongnai Beauty มีวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบง่าย ๆ มาให้เพื่อน ๆ ได้ลองคำนวณภาษีกันดูค่ะ บอกเลยว่าง่ายนิดเดียว ! แน่นอนว่าขนาดเวลาช็อปปิ้ง ชาวเรายังตามหาโค้ดส่วนลด ภาษีเขาก็มีส่วนลดให้เช่นกันนะ ! มาดูกันค่ะ ว่าเราสามารถใช้ส่วนลดอะไรได้บ้างในการลดหย่อนภาษี ใครที่เตรียมจะยื่นลดหย่อนภาษี 2566 นี้ต้องรู้ไว้เลย !

คำนวณยื่นลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรใช้เป็นส่วนลดได้บ้าง

ส่วนลดในการลดหย่อนภาษี 2566 นี้ ก็ไม่ค่อยจะแตกต่างจากปีก่อน ๆ เท่าไหร่ แต่ก็มีเกณฑ์ที่แตกต่างจากปีก่อน เช่น เงินประกันสังคมที่ทำให้ลดหย่อนได้มากขึ้นในปีนี้ และเงื่อนไขโครงการช้อปดีมีคืนที่เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีมากขึ้น เป็นคนละ 40,000 บาท แต่เงื่อนไขของโครงการช้อปดีมีคืนก็จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย นอกจากเงื่อนไขต่าง ๆ แล้ว ถ้าอยากลดภาษี จะมีวิธีคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

คำนวณยื่นลดหย่อนภาษีปี 2566 มีอะไรใช้เป็นส่วนลดได้บ้าง ลดหย่อนภาษี ลดหย่อนภาษี 2566 คํานวณภาษี 2566

 ลดหย่อนภาษีหมวดค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว

  • ลดหย่อนภาษีส่วนตัว ทุกคนที่จะยื่นแบบสามารถใช้ส่วนลดได้ทุกคน คนละ 60,000 บาท ไม่ว่าจะมีเงินเดือนเท่าไหร่ก็ตาม เช่น ถ้าหากเราได้ค่าจ้างใน 1 ปี เป็นเงิน เกินกว่า 120,000 บาท จะได้ส่วนลด 60,000 บาท เท่ากับว่าเราต้องยื่นรายได้ทั้งปี เป็นยอด 60,000 บาทนั่นเองค่ะ
  • ลดหย่อนภาษีคู่สมรส สำหรับคนมีคู่ และมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และอีกฝ่ายไม่มีรายได้ จะได้ส่วนลด 60,000 บาท หากนำรายได้ของทั้งสองมารวมกันและยื่นแบบพร้อมกัน
  • ลดหย่อนภาษีบุตร บุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย อายุต่ำกว่า 25 ปี จะยื่นลดหย่อนภาษีได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าหากเป็นบุตรบุญธรรม จะยื่นสูงสุดได้แค่ 3 คน คนละ 30,000 บาท ถ้ามีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมกันสูงสุดยื่นได้แค่ 3 คน

    **บุตรที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ที่สามารถยื่นลดหย่อนภาษีบุตรได้ ต้องเป็นบุตรที่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

  • ลดหย่อนค่าฝากครรภ์/คลอดบุตร สำหรับคุณแม่ที่ฝากครรภ์ หรือคลอดบุตร จะได้ลดหย่อนภาษีตามจ่ายจริง ไม่เกิน 60,000 บาท หากคลอดลูกแฝด ก็จะได้ส่วนลดสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท เช่นกัน แต่ถ้าเป็นคุณแม่ที่ไม่มีรายได้ สามารถให้สามีเป็นคนยื่นแทนได้ สามารถใช้ลดหย่อน และนำไปรวมกับสิทธิการเบิกค่าฝากครรภ์/คลอดบุตรจากสวัสดิการรัฐและเอกชน ได้ แต่ต้องห้ามเกิน 60,000 บาท
  • ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 4 คน ทั้งพ่อแม่ของตัวเอง และของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท รวมทั้งหมด ไม่เกิน 120,000 บาท พ่อแม่หรือบิดามารดา ต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป มีรายได้ในปีนั้น ๆ ไม่เกิน 30,000 บาท บิดามารดาของคู่สมรส จะยื่นลดหย่อนได้ หากคู่สมรสไม่มีรายได้ แต่ถ้ามีรายได้จะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ และถ้ามีลูกหลานหลายคน สามารถใช้สิทธิยื่นลดหย่อนภาษีได้แค่คนเดียว
  • ลดหย่อนค่าเลี้ยงดูผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ 60,000 บาท การใช้สิทธิลดหย่อนต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมาย หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี

    การลดหย่อนภาษีหมวดนี้ สามารถใช้สิทธิซ้ำกันได้ เช่น ถ้าบุตร/บิดามารดา เป็นผู้พิการหรือทุพลภาพ จะได้ส่วนลดในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด คือ 30,000+60,000 = 90,000 บาท

ลดหย่อนภาษีหมวดประกันชีวิต

  • ลดหย่อนภาษีประกันชีวิต/ประกันสะสมทรัพย์ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
    ต้องเป็นประกันที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป มีผลตอบแทน ไม่เกิน 20%
  • ประกันสุขภาพ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 25,000

    **ทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ถ้ามีหลายเล่ม และต้องการจะลดหย่อน สองรายการรวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท

  • ประกันสุขภาพพ่อแม่ ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 15,000 บาท
    โดยพ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ถ้าลูก 2 คน สามารถช่วยหารกันจ่ายได้ เช่น สูงสุด 15,000 บาท ยื่นลดหย่อนคนละ 7,500 บาทได้
  • เงินประกันสังคม มาตรา 33, มาตรา 39, มาตรา 40  ลดหย่อนตามยอดจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 6,300 บาท 
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามจ่ายจริงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องเป็นประกันที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป

    **ประกันชีวิต/ลงทุนเพื่อการวางแผนเกษียณ รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 500,000 บาท
    เช่น ประกันชีวิต 10,000 บาท + ประกันสะสมทรัพย์ 20,000 บาท + ประกันสุขภาพ 25,000 บาท = 55,000 บาท แบบนี้ยื่นได้

ลดหย่อนภาษีหมวดการลงทุน

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./กองทุนสงเคราะห์ 15% ของรายได้ สามารถใช้สิทธิ์ยื่นรวมกันทั้งหมดได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุน RMF 30% ของรายได้ ไม่เกิน 500,000 บาท ต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 มกราคม 2564 เท่านั้น และถืออย่างน้อย 10 ปี ลดหย่อนรวมกับ SSF และรายการที่ 1 ด้านบนได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุน SSF 30% ของรายได้ ไม่เกิน 200,000 บาท เงื่อนไขเดียวกับ RMF
  • กองทุนการออม (กอช.) ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 13,200 บาท
  • ค่าธรรมเนียมรับชำระด้วยบัตรเดบิต ตามจ่ายจริง สำหรับคนที่ได้ค่าจ้าง ค่าวิชาชีพอิสระ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ หรือเงินได้การประกอบธุรกิจอื่น ๆ
  • ลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ตามจ่ายจริง ไม่เกินปีละ 100,000 บาท

ลดหย่อนภาษีหมวดกระตุ้นเศรษฐกิจ

  • ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
    ถ้าใครกู้ซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายไปยื่นลดหย่อนภาษีได้ และสามารถใช้สิทธิมากกว่า 1 ที่ เช่น มีทั้งบ้านและคอนโด สามารถยื่นได้ทั้งสอง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • ช้อปดีมีคืน ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 40,000 บาท
    ช้อปดีมีคืน สามารถกรอกรายจ่ายที่ใช้ไปตามจริงได้เลย และใช้แค่ใบกำกับภาษีเป็นหลักฐาน ในปีนี้ จะแยกเป็นยอดเงินที่ใช้ซื้อของในร้านค้าทั่วไปที่มีใบกำกับภาษี 30,000 บาท และใช้ซื้อของผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ 10,000 บาท 
  • สินค้าและบริการที่เข้าร่วมเงื่อนไขช้อปดีมีคืน ได้แก่ 
    สินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม, หนังสือ (e-book ก็ได้), สินค้า OTOP
  • ขอคืนภาษี 2566 จากช้อปดีมีคืนอย่างไร? ช้อปดีมีคืน ไม่ได้หมายความว่าเราซื้อของ 30,000 แล้วจะได้ลดภาษี 30,000 บาท ถ้าเงินได้ต่อปี 150,000 บาท ก็จะได้เงินคืน 5% หรือ 1,500 บาท,  ได้เงิน 150,000 บาท ขึ้นไป ได้เงินคืน 10% หรือได้เงินคืน 3,000 บาท แบบนี้เป็นลำดับขั้นไปเรื่อย ๆ ถ้าอยากได้เงินคืนเยอะ ๆ จากนโยบายนี้ต้องมีเงินเดือน 5,000,000 บาทขึ้นไป จะได้ลดหย่อนสูงสุดถึง 35% หรือลดหย่อนได้ 10,500 บาท หรือมากกว่านั้น

ลดหย่อนภาษีหมวดเงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังลดหย่อน
  • บริจาคเพื่อการศึกษา/กีฬา/พัฒนาสังคม/รพ.รัฐ จะได้รับการลดหย่อนภาษี 2 เท่าของเงินบริจาค <10% หลังลดหย่อน เช่น ถ้าบริจาค 2,000 บาท จะสามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่า คือ 4,000 บาท การบริจาคผ่านระบบ e-Donation สามารถนำมาลดหย่อนได้
  • บริจาคให้พรรคการเมือง ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 10,000 บาท

สูตรคำนวณลดหย่อนภาษีอย่างง่าย

  • รายได้ทั้งปี - รายจ่ายทั้งปี - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
  • เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินที่ต้องจ่ายภาษี

เช่น 500,000 - 100,000 - 60,000 = 430,000 (เสียภาษี 10%)
เงินที่ต้องจ่ายภาษี จะเท่ากับ (430,000 - 150,000) x 10% = 2,800 บาท

หรือถ้าใครไม่อยากคำนวนเอง สามารถใช้โปรแกรมคำนวณภาษีได้ ที่นี่

เป็นอย่างไรบ้างคะ ในการคํานวณภาษี 2566 นี้ถือว่าไม่ยากเลยใช่ไหมคะ สำหรับใครที่ไม่รู้จะลดหย่อนภาษียังไง ก็ลองคำนวณดูตามรายการด้านบนเลย ถ้าใครวางแผนมาดี เผลอ ๆ อาจจะได้ภาษีคืนด้วย ใครที่ยังไม่ได้ยื่นภาษี ต้องรีบวางแผนกันแล้วนะคะ เพราะถ้าโดนภาษีย้อนหลังมา บอกเลยว่าหน้าซีดกันทุกคน ถ้าไม่อยากจ่ายภาษีแบบจุก ๆ ก็ต้องรีบวางแผนกันตั้งแต่วันนี้เลย สามารถยื่นออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-8 เมษายน 2566 กันเลยนะ แต่ถ้าจะไปยื่นเอง ยื่นได้ถึงแค่ 31 มีนาคม 2566 เท่านั้น ตั้งปฏิทินกันไว้เลย อย่าลืมกันนะทุกคน 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ