วิธีแก้ความจำไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้นของคนยุคใหม่
  1. วิธีแก้ความจำไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้นของคนยุคใหม่

วิธีแก้ความจำไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้นของคนยุคใหม่

ใครเริ่มรู้สึกว่าตัวเองความจำไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม สมาธิสั้น และกำลังมองหาวิธีแก้ไขและวิธีรักษาอยู่ ห้ามพลาดบทความนี้!
writerProfile
13 ธ.ค. 2019 · โดย

ถ้าลองสังเกตดี ๆ จะพบว่าคนยุคใหม่อย่างเรา ๆ เริ่มจะความจำไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม สมาธิสั้นกันเยอะ ซึ่งสาเหตุอาจมาจากสังคม ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป หรืออาจจะมาจากหน้าที่การงานที่ต้องรับผิดชอบงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน โดยปัญหาเรื่องความจำไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้นมักจะส่งผลกระทบต่องาน และการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นอย่าปล่อยปละละเลยปัญหานี้ค่ะ เรามาดูวิธีแก้ไขและวิธีรักษากันเล้ยย!

“สมาธิสั้น” คืออะไร

สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น รอคอยไม่ได้ อยู่ไม่นิ่ง และไม่มีสมาธิ โดยเรามักจะคิดกันว่าโรคนี้จะพบแค่ในเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้วอาการของโรคยังสามารถคงอยู่จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้ ฉะนั้นอย่าแปลกใจที่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่จะเป็นสมาธิสั้นได้เช่นกัน

สมาธิสั้นคืออะไร

10 อาการบ่งชี้ว่าอาจป่วยเป็นสมาธิสั้น

10 อาการอาจเป็นโรคสมาธิสั้น

ที่คนยุคนี้ความจำไม่ดี สมาธิสั้นตั้งแต่อายุยังน้อยเป็นเพราะอะไร ?

ทุกคนรู้ไหมคะว่าตอนนี้คนเราสมาธิสั้นกว่าปลาทองแล้วนะ! ข้อมูลจาก National Center for Biotechnology Information (2013) บอกว่าว่ามนุษย์มีความสนใจระยะสั้น หรือมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งลดลง จาก12 วินาที เหลือเพียง 8 วินาที ในขณะที่ปลาทองมีความสนใจระยะสั้นถึง 9 วินาที คราวนี้จะว่าปลาทองสมาธิสั้นไม่ได้แล้วน้าา งั้นมาดูกันค่ะ ว่าที่คนยุคนี้ความจำไม่ดี ขี้หลงขี้ลืม สมาธิสั้นกันตั้งแต่อายุยังน้อยนั้นเป็นเพราะอะไร

สาเหตุที่ทำให้สมาธิสั้น
  • พันธุกรรม : มีงานวิจัยบอกว่า คนที่สมาธิสั้นมักมีพ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือดป่วยเป็นโรคนี้เช่นกัน ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่โรคสมาธิสั้นจะส่งต่อกันผ่านทางพันธุกรรม
  • เคยเป็นโรคสมาธิสั้นตั้งแต่เด็ก : อย่างที่บอกไปค่ะว่าอาการสมาธิสั้นในเด็ก จะยังคงอยู่มาจนถึงวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ได้ หากไม่ได้รับการบำบัดรักษา
  • การทำงานของสมองส่วนหน้าผิดปกติ :  สมองส่วนหน้าเป็นส่วนที่ควบคุมสมาธิ การคิดวิเคราะห์ และการเคลื่อนไหว ถ้าส่วนนี้ผิดปกติก็จะทำให้เกิดอาการสมาธิสั้น มีปัญหาในการคิดวิเคราะห์และวางแผน รวมถึงมีปัญหาในการเคลื่อนไหว ทำให้อยู่นิ่งนาน ๆ ไม่ค่อยได้
  • การหลั่งของสารเคมีในสมองไม่สมดุล : สารเคมีในสมองที่ว่ามี 2 ตัว คือ นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine) ถ้าการหลั่งของสองตัวนี้ไม่สมดุล ก็จะทำให้สมาธิสั้น จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่นาน
  • ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน : เช่น คุยโทรศัพท์ไปพร้อมกับตอบอีเมลไปด้วย หรือเล่นโทรศัพท์ไปพร้อม ๆ กับดูโทรทัศน์ ซึ่งมีงานวิจัยบอกว่าการทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน จะส่งผลเสียต่อสมอง และเมื่อทำบ่อย ๆ เข้าก็อาจทำให้เกิดความจำไม่ดี และสมาธิสั้นได้
  • ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป : คนสมัยนี้ต้องแข่งขันกัน ทำอะไรก็ต้องรวดเร็วไปหมด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมใจร้อน ไม่รู้จักการรอคอย
  • การใช้ Smart Device : เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต มีส่วนกระตุ้นให้สมาธิสั้นได้ เนื่องจากเมื่อเล่นไปนาน ๆ อาจส่งผลให้ขาดสมาธิและการควบคุมตนเอง อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น

เมื่อความจำไม่ดี สมาธิสั้น ขี้หลงขี้ลืม ควรแก้ไขและปรับพฤติกรรมอย่างไร เพื่อไม่ให้กระทบกับงาน

วิธีแก้สมาธิสั้น

1. การจัดการชีวิตประจำวัน

  • พักผ่อนให้เป็นเวลาและเพียงพอ : อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพออาจทำให้หงุดหงิด สมาธิไม่ดี ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ : เพื่อใช้พลังงานในเชิงบวก รวมถึงลดความเสี่ยงที่จะไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การพนัน
  • ทำกิจกรรมที่ฝึกสมาธิ หรือกิจกรรมผ่อนคลายสมองที่ช่วยฝึกสมาธิ เช่น นั่งสมาธิ เล่นดนตรี อ่านหนังสือที่ชอบ

2. การเลือกงาน

  • เลือกงานที่ตัวเองถนัด มีความสนใจ : เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจหรือแรงกระตุ้นในการทำงานให้สำเร็จ
  • เลือกเวลาหรือบรรยากาศการทำงานที่เหมาะกับตัวเอง : เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ทำงานในร้านกาแฟที่มีเพลงคลอเบา ๆ ทำงานในสวนฟังเสียงธรรมชาติ

3. การจัดการเวลา

  • ตั้งเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ  : ซึ่งเดี๋ยวนี้ในโทรศัพท์มือถือก็จะมีแอปแจ้งเตือนเพื่อไม่ให้หลงลืมหรือทำงานจนเพลิน
  • แปะสิ่งที่ต้องทำไว้ที่ปฏิทินหรือแปะไว้ที่ที่มองเห็นได้ชัด : เช่น บริเวณโต๊ะทำงาน ขอบจอคอมพิวเตอร์

4. การจัดระบบงาน

  • มีสมุดจดพกติดตัวตลอด : สำหรับจดสิ่งที่ต้องทำ หรือคำสั่งต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการหลงลืมหรือขาดตกบกพร่อง
  • จัดลำดับความสำคัญของงาน : ว่าอันไหนควรทำก่อนหรือหลัง และ Check List สิ่งที่ทำไปแล้ว เพราะเมื่อเรา Check List เรื่อย ๆ จนเราเห็นว่างานน้อยลง เราก็จะมีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น
  • ใช้ตารางงานเตือนสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน : เช่น Google Calendar, Year Planner หรือ Weekly Planner 

จะรักษาอย่างไรและรักษาที่ไหนได้บ้าง ?

หากเรารู้สึกว่าการแก้ไขและปรับพฤติกรรมด้วยตัวเองไม่สามารถทำให้อาการความจำไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้นดีขึ้นได้ ก็แนะนำปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างจิตแพทย์ดูค่ะ 

วิธีรักษษสมาธิสั้น
  • ปรึกษาและเข้ารับการรักษากับจิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง : เพื่อทำการประเมิน วินิจฉัย และให้การรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
  • รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ : ถ้าหากมีผลกระทบจากอาการมากจนเป็นผลเสียกับการทำงาน ความสัมพันธ์ และการเข้าสังคม อาจต้องรับประทานยา ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย ได้แก่ เมทิลเฟนิเดต (Methlyphenidate) , และอะโทม็อกซีทีน (Atomoxetine)

ปรึกษาและรับการรักษาที่ไหนได้บ้าง ?

คราวนี้ก็รู้จักโรคสมาธิสั้นมากขึ้นแล้ว ทั้งสาเหตุ อาการ วิธีแก้ไข และวิธีรักษา ถึงแม้โรคสมาธิสั้นจะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงอะไร แต่ถ้าปล่อยปละละเลย ไม่ยอมแก้ไขหรือเข้ารับการรักษาจนเกิดเป็นอาการที่รุนแรงขึ้น ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันได้ ฉะนั้นเราต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากพบอาการที่เข้าข่ายจะเป็นโรคสมาธิสั้น ก็ให้รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางจะดีที่สุดค่ะ  

บทความแนะนำ