“แพ้กุ้ง” ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนกินได้ หมายความว่าอะไร ?
  1. “แพ้กุ้ง” ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนกินได้ หมายความว่าอะไร ?

“แพ้กุ้ง” ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนกินได้ หมายความว่าอะไร ?

แพ้กุ้งเป็นได้ยังไง ? แล้วจะรู้ได้ไงว่าแพ้จริง ? แพ้แล้วหายได้มั้ย ? ทุกคำถามคาใจ Wongnai มีข้อเท็จจริงมาฝากกัน รับรองรู้แล้วจะเลิกแพ้ไปอีกนาน
writerProfile
23 ต.ค. 2019 · โดย

ไหน ๆ ใครชอบกิน “กุ้ง” กันบ้างจ้ะ ? เคยสงสัยบ้างไหมว่ากุ้งที่กิน ๆ กันอยู่เนี่ยมันมีกี่ชนิดกัน แล้วทำไมใครบางคนกินกุ้งทีไรต้องปากบวม หรือเกิดอาการแพ้กุ้งทุกที วันนี้ Wongnai จะไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้ทราบกัน ถ้าอยากรู้แล้วก็รีบไปอ่านเลยค่ะ!

1รู้จักกับ “กุ้ง” กันก่อน

กุ้งเป็นสัตว์ในตระกูล Subphylum Crustacean ซึ่งจัดอยู่ในประเภท Phylum Arthropod หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือสัตว์ที่มีปล้องหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวนั่นเอง ตัวอย่างสัตว์ในกลุ่มหรือเครือญาติของกุ้ง เช่น กั้ง ปู เหาไม้ และเคย เป็นต้น

“กุ้ง” และความจริงเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
รู้จักกับ “กุ้ง” กันก่อน

2ความสำคัญของกุ้ง

กุ้งถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ โดยประเทศไทยสามารถผลิตกุ้งได้ประมาณ 500,000 ตันต่อปี ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เพื่อการส่งออกเป็นหลัก และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 90,000 ล้านบาท คิดเป็น 12.23% ของมูลค่าส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมดของประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกกุ้งและสินค้าแปรรูปเกี่ยวกับกุ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก (ข้อมูลสถิติปี 2552) โดยตลาดส่งออกกุ้งของไทยที่ใหญ่ที่สุด ตามด้วยสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือญี่ปุ่น

“กุ้ง” และความจริงเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
ความสำคัญของกุ้ง

3กุ้งมีหลายสายพันธุ์

กุ้งบนโลกมีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์ ทั้งกุ้งน้ำจืดและน้ำเค็ม แต่ชนิดของกุ้งที่เรานิยมนำมาบริโภคในเมืองไทยมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ กุ้งขาว กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งแม่น้ำ 

“กุ้ง” และความจริงเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
ชนิดของกุ้งที่นิยมในไทย

4ที่กินอยู่...รู้ไหมว่าส่วนไหนของกุ้ง ?

  • ส่วนของกุ้งที่เรานิยมกินกันคือ กล้ามเนื้อลำตัว
  • ส่วนของหัวกุ้งเป็นส่วนที่นิยมกินในแถบเอเชีย ประกอบด้วยหัวใจ กระเพาะ ตับและตับอ่อน
  • ส่วนที่เราเรียกว่ามันกุ้ง คือ ตับและตับอ่อน
  • เลือดของกุ้งมีสีฟ้า เพราะสาร Hemocyanin
“กุ้ง” และความจริงเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
ที่กินอยู่...รู้ไหมว่าส่วนไหนของกุ้ง ?

5โปรตีนในเนื้อกุ้ง

ชนิดของกุ้งแต่ละสายพันธุ์มีปริมาณโปรตีนแต่ละชนิดแตกต่างกัน และบางชนิดมีโปรตีนเฉพาะสายพันธุ์ด้วย จากกราฟด้านล่างเป็นโปรตีนที่อยู่ในกุ้งกุลาดำซึ่งเป็นกุ้งที่คนไทยนิยมกินกัน

“กุ้ง” และความจริงเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
โปรตีนในเนื้อกุ้ง

6สาเหตุของอาการแพ้กุ้ง

ใคร ๆ ก็รู้ว่ากุ้งนั้นมีรสชาติดี แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่แพ้กุ้งซะอย่างนั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะอาการแพ้กุ้งสามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ในภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอาการแพ้ (IgE) ที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนในเนื้อกุ้ง เกิดได้ทั้งเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ แต่ละคนอาจแพ้กุ้งที่ไม่เหมือนกันได้ เพราะกุ้งหน้าตาไม่เหมือนกันโปรตีนบางส่วนก็ไม่เหมือนกัน โดยคนที่แพ้กุ้งส่วนใหญ่จะแพ้โปรตีน Tropomyosin ซึ่งในกุ้งทุกพันธุ์ และสัตว์จำพวกกุ้ง จะแพ้มาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณโปรตีนในกุ้ง

“กุ้ง” และความจริงเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
สาเหตุของอาการแพ้กุ้ง

7อาการของคนแพ้กุ้ง

กลุ่มคนที่แพ้กุ้งส่วนมากจะเกิดอาการแพ้ภายในไม่กี่นาทีไปจนถึง 2 ชั่วโมง โดยส่งผลกับระบบของร่างกายจนสามารถสังเกตุได้จากภายนอก ได้แก่

  1. ระบบผิวหนัง อาการคือ เป็นลมพิษ หน้าบวม ปากบวม
  2. ระบบทางเดินอาหาร อาการคือ ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นมูกเลือด
  3. ระบบหายใจ อาการคือ มีน้ำมูก คัดจมูก หลอดลมตีบเฉียบพลัน หรือหายใจติดขัด
    คำเตือน: หากเป็นตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป เรียกได้ว่าแพ้รุนแรง หรือ Anaphylaxis สามารถทำให้เสียชีวิตได้ หากผู้มีอาการเกิดความดันต่ำ หมดสติ 
“กุ้ง” และความจริงเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
อาการของคนแพ้กุ้ง

8วิธีแก้อาการแพ้กุ้ง

อ่านมาถึงตรงนี้คงรู้แล้วว่าอาการแพ้กุ้งไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ คนที่ไม่เป็นก็ไม่ใช่ว่าอนาคตต่อไปจะไม่เป็นนะครับ ต้องหมั่นเช็กอาการของตัวเองให้ดี ๆ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการแพ้กุ้ง

  • เมื่อเกิดอาการแพ้แล้วมีอาการคัน ให้ใช้ยาทาแก้คันทาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น คาลาไมด์
  • ให้สังเกตุอาการ หากภายใน 5-10 นาที อาการไม่ดีขึ้น มีอาการคันมากขึ้น เกิดผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังทั่วร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • การรักษาด้วยยานั้นเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้นหากทราบว่าตนเองแพ้อาหารชนิดใดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้นเป็นดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากอาการแพ้ได้
“กุ้ง” และความจริงเกี่ยวกับอาการแพ้กุ้ง
วิธีแก้อาการแพ้กุ้ง

เพียงเท่านี้เราก็แยกชนิดของกุ้งสายพันธ์ุต่าง ๆ ได้แล้วล่ะค่ะ แถมยังได้ทราบถึงที่มาของอาการแพ้กุ้ง และวิธีรับมือกับอาการแพ้กุ้งที่คนใกล้ตัว หรือว่าอาจเป็นตัวเราเองจะมีโอกาสเป็นได้ อาการกำเริบขึ้นมาเมื่อไหร่จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที นอกจากเราจะรู้เรื่องกุ้ง แล้วมารู้เรื่องการแกะก้างปลาทูยังไงให้ก้างไม่ติดคอกันดีกว่า ส่วนใครยังอยากอ่านเกร็ดความรู้ดี ๆ แบบนี้อีก พิมขอแนะนำบทความ 7 สูตรพริกแกงไทยรสเด็ด ทำแกงอะไรก็ฟิน หรือเพื่อน ๆจะเลือกอาหารตามความสนใจเพื่อน ๆ ได้ที่นี่เลยค่ะ พิมหวังว่าบทความเรื่องนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกคนนะคะ

บรรณานุกรม

สิระ นันทพิศาล, (2562). “ความจริงเกี่ยวกับกุ้ง และการแพ้กุ้ง.” เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/kongsira/posts/10157093984551419?__tn__=C-R สืบค้น 10 กันยายน 2562.